การสำรวจการเคลื่อนย้ายสินค้า พ.ศ. 2555 ครั้งนี้ ได้เลือกเก็บรวบรวมข้อมูลการขนส่งสินค้าขาออกจากสถานประกอบการเพียงด้านเดียว เพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ โดยคุ้มรวมสถานประกอบการที่มีคนทำงานตั้งแต่ 16 คนขึ้นไป ทั่วประเทศ ที่ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย ปี 2552 (Thailand Standard Industrial Classification : TSIC - 2009) ได้แก่ การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน การผลิต การขายส่ง และคลังสินค้า
สำหรับการปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างไตรมาสที่ 1 - 4 ปี 2555 โดยใช้สถานประกอบการตัวอย่ย่างชุดเดียวกันทุกไตรมาส ไตรมาสละ 18,000 แห่ง จากจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 26,486 แห่ง ซึ่งสรุปผลการสำรวจได้ดังนี้
จากสถานประกอบการทั่วประเทศทั้งสิ้น 26,486 แห่ง พบว่า เป็นสถานประกอบการที่มี การขนส่งสินค้าออกจากสถานประกอบการประมาณ 21,133 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้เป็นสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการผลิต ร้อยละ 70.9 การขายส่ง ร้อยละ 27.3 ส่วนสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน และคลังสินค้ามีสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.1 และ 0.7 ตามลำดับ
ในภาพรวมปี 2555 สถานประกอบการมีจำนวนเที่ยวการขนส่งสินค้าออกจากสถานประกอบการรวมทั้งสิ้นประมาณ 971 ล้านเที่ยว โดยจำนวนเที่ยวส่วนใหญ่เป็นของสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ทำจากแร่อโลหะประมาณ ร้อยละ 29.5 ของเที่ยวการขนส่ส่งทั้งสิ้น ส่วนสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) การผลิตโลหะขั้นมูลฐาน และการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ (ยกเว้นเครื่องจักรและอุปกรณ์) และการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน มีสัดส่วนของเที่ยวการขนส่งที่ใกล้เคียงกัน ประมาณร้อยละ 15.3 15.1 และ 14.0 ตามลำดับ
ผลจากการสำรวจสถานประกอบการ ทั่วประเทศ พบว่า มูลค่าสินค้าที่มีการขนส่งออกจากสถานประกอบการรวมทั้งสิ้นประมาณ 13,712.5 พันล้านบาท โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงที่สุด ประมาณ 3,391.6 พันล้านบาท ส่วนลำดับรองลงมาป็นอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ อิเล็คทรอนิคส์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ ประมาณ 3,227.0 พันล้านบาท
สำหรับน้ำหนักสินค้าที่มีการขนส่งออกจากสถานประกอบการในปี 2555 รวมทั้งสิ้นประมาณ 463.9 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ประมาณ 140.1 ล้านตัน รองลงมาเป็นการผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ทำจากแร่อโลหะ ประมาณ 83.8 ล้านตัน และการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน ประมาณ 76.0 ล้านตัน
5. รูปแบบ/พาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้า
เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบ/พาหนะที่สถานประกอบการใช้ในการขนส่งสินค้าภายในประเทศ พบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่ใช้รถบรรทุกเป็นพาหนะในการขนส่งสินค้า ร้อยละ 60.3 ของเที่ยวการขนส่ง) รองลงมาเป็นรถปิคอัพ ร้อยละ 36.6 ส่วนรถไฟ และเรือ มีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยไม่เกินร้อยละ 0.3
สำหรับรูปแบบ/พาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศ นั้น สถานประกอบการใช้เรือเป็นพาหนะในการขนส่งสินค้าในสัดส่วนสูงที่สุด (ร้อยละ 74.6 ของเที่ยวการขนส่ง) รองลงมาเป็นทางอากาศ ร้อยละ 17.0 รถบรรทุก ร้อยละ 7.7 ส่วนรถไฟมีสัดส่วนเพียง ร้อยละ 0.1 เท่านั้น
ในด้านจุดหมายปลายทางในการขนส่งสินค้าออกจากสถานประกอบการ พบว่า ร้อยละ 46.0 ของเที่ยวการขนส่งสินค้า สถานประกอบการขนส่งสินค้าไปยังอุตสาหกรรมการผลิตในสัดส่วนสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ การค้าปลีก (ร้อยละ 21.5) การค้าส่ง (ร้อยละ 19.7) และท่าเรือ (ร้อยละ 3.7)
ผลจากการสำรวจการเคลื่อนย้ายสินค้า พ.ศ. 2555 พบว่า มูลค่าและน้ำหนักสินค้าที่มีการขนส่งออกจากสถานประกอบการ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นประมาณ 13,712.5 พันล้านบาท และ 463.9 ล้านตัน โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าและน้ำหนักสินค้าสูงที่สุด ส่วนรูปแบบในการขนส่งสินค้าภายในประเทศนั้น ส่วนใหญ่เป็นการขนส่งสินค้าทางถนนซึ่งจะเห็นได้จากผลการสำรวจที่สถานประกอบการมีการใช้รถบรรทุก (ร้อยละ 60.3 ของเที่ยวการขนส่งสินค้า) และรถปิคอัพ (ร้อยละ 36.6) เป็นพาหนะขนส่งสินค้าในสัสัดส่วนที่สูงกว่าพาหนะอื่น ๆโดยสรุปภาพรวมแล้วจะเห็ห็นได้ว่าโครงสร้างการขนส่งสินค้าของประเทศยังคงพึ่งพาการขนส่งทางถนนเป็นหลัลัก ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีต้นทุนการใช้พลังงานที่สูงกว่ารูปแบบอื่นๆ และยังป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น รัฐบาลจึงควรที่จะมีมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งสินค้าของประเทศให้มีประสิทธิภาพและมีความเชื่อมโยงกันในแต่ละรูปแบบการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นทางถนน ทางราง ทางน้ำ หรือทางอากาศ เป็นต้น เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กักับผู้ประกอบการสามารถเลือกรูปแบบการขนส่งสินค้าให้เหมาะสมกับประเภทสินค้าที่จะทำการขนส่ง ซี่งจะเป็นการช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ให้กับผู้ประกอบการได้