สำนักงานสถิติแหงชาติ ดำเนินการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. 2556 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม พ.ศ. 2556 จากจำนวนครัวเรือนตัวอย่าง 55,920 ครัวเรือนการสำรวจที่ผ่านมาในปี 2546 - 2548 สำรวจเฉพาะการอ่านหนังสือของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป และตั้งแต่ปี 2551 ได้สำรวจเพิ่มเรื่องการอ่านหนังสือของเด็กเล็ก (ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี) ผลการสำรวจที่สำคัญในปี 2556 สรุปได้ดังนี้
การอ่านหนังสือของเด็กเล็ก ในที่นี้หมายถึงการอ่านหนังสือของเด็กเล็กที่อ่านในช่วงนอกเวลาเรียนด้วยตัวเอง รวมทั้งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง
จากผลการสำรวจปี 2556 พบว่า เด็กเล็กที่อ่านหนังสือมีประมาณ 2.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 58.9 เด็กผู้หญิงมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าเด็กผู้ชายเล็กน้อย (ร้อยละ 60.5 และร้อยละ 57.3 ตามลำดับ) นอกจากนี้ อัตราการอ่านหนังสือของเด็กเล็กมีความแตกต่างกันระหว่างเขตการปกครองและภาค โดยในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่านอกเขตเทศบาล เด็กเล็กในกรุงเทพมหานครมีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุด (ร้อยละ 70.1) ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เด็กเล็กมีอัตราการอ่านหนังสือต่ำสุด (ร้อยละ 53.5)
เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจที่ผ่านมา พบว่าอัตราการอ่านของเด็กเล็กในปี 2554 มีร้อยละ 53.5 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 58.9 ในปี 2556 เด็กหญิงมีอัตราการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นมากกว่าเด็กผู้ชาย เด็กเล็กที่อาศัยนอกเขตเทศบาลและภาคเหนือมีอัตราการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นมากกว่าพื้นที่อื่น
เด็กเล็กที่อ่านหนังสือมีความถี่ในการอ่านหนังสือสัปดาห์ละ 2 - 3 วัน มากที่สุด (ร้อยละ 37.6) รองลงมาคือ อ่านทุกวันและอ่านสัปดาห์ละ 4 - 6 วัน ใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 26.1 และ 22.9 ตามลำดับ) และพบว่า มีเด็กเล็กที่อ่านหนังสือแต่อ่านนาน ๆ ครั้งอยู่ร้อยละ 4.8
เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มเด็กเล็กที่อ่านหนังสืออย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ กับกลุ่มที่อ่านนาน ๆ ครั้ง พบว่า เด็กเล็กมีความถี่ในการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น คือเด็กเล็กที่อ่านหนังสืออย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์มีเพิ่มมากขึ้น (ปี 2556 มีร้อยละ 95.2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 93.8 ในปี 2554) ในขณะที่ร้อยละของเด็กเล็กที่อ่านนาน ๆ ครั้งมีแนวโน้มลดลง
2. การอ่านหนังสือของประชากร (อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป)
จากผลการสำรวจปี 2556 พบว่า คนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป มีอัตราการอ่านหนังสือร้อยละ 81.8 ผู้ชายมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย(ร้อยละ 82.8 และ 80.8 ตามลำดับ) และเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจที่ผ่านมา พบว่า อัตราการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10.0 จากปี 2554 ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
เมื่อพิจารณาอัตราการอ่านหนังสือตามเขตการปกครองและภาค พบว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่านอกเขตเทศบาล (ร้อยละ 86.2 และ 78.2 ตามลำดับ) กรุงเทพมหานคร มีอัตราการอ่านหนังสือสูงที่สุด(ร้อยละ 94.6) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการอ่านหนังสือต่ำสุด (ร้อยละ 77.2)
การอ่านหนังสือของประชากรมีความแตกต่างกันตามวัย กลุ่มวัยเด็กมีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุดถึงร้อยละ 95.1 รองลงมาคือ กลุ่มเยาวชน กลุ่มวัยทำงานและต่ำสุดคือ กลุ่มวัยสูงอายุ (ร้อยละ 90.1 83.1 และ 57.8 ตามลำดับ) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการสำรวจที่ผ่านมา พบว่า ปี 2556 การอ่านหนังสือของประชากรทุกกลุ่มวัย มีอัตราการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นจากปี 2554
จากผลการสำรวจ พบว่า การศึกษาและอัตราการอ่านหนังสือ มีความสัมพันธ์กันเชิงบวก กล่าวคือ ผู้มีระดับการศึกษาที่สูงกว่า มีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าผู้มีการศึกษาระดับต่ำกว่า
หนังสือพิมพ์เป็นประเภทของหนังสือที่มีผู้อ่านสูงสุด คือ ร้อยละ 73.7 รองลงมาคือ วารสาร/เอกสารประเภทที่ออกเป็นประจำ (ร้อยละ 55.1) ตำรา/หนังสือ/เอกสารที่ให้ความรู้ (ร้อยละ 49.2) นิตยสาร (ร้อยละ45.6) และหนังสือ/เอกสารเกี่ยวกับคำสอนทางศาสนา (ร้อยละ 41.2) สำหรับนวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น และแบบเรียน/ตำราเรียนตามหลักสูตรมีผู้อ่านน้อยกว่าร้อยละ 40.0 (ร้อยละ 38.5 และ 29.5 ตามลำดับ) และหนังสือประเภทอื่น ๆ มีผู้อ่านเพียงร้อยละ 5.4
คนที่มีวัยแตกต่างกัน มีความสนใจเลือกประเภทหนังสือที่อ่านแตกต่างกัน โดยวัยเด็กอ่านแบบเรียน/ตำราเรียนตามหลักสูตรสูงสุดถึงร้อยละ 96.0 รองลงมาคือ นวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น สำหรับวัยเยาวชนและวัยทำงานส่วนใหญอ่านหนังสือพิมพ์แต่ลำดับรองลงมา มีความแตกต่างกันคือวัยเยาวชนชอบอ่านตำรา/หนังสือ/เอกสารที่ให้ความรู้ สวนวัยทำงานชอบอ่านวารสาร/เอกสารประเภทที่ออกเป็นประจำ สำหรับวัยสูงอายุส่วนใหญ่อ่านหนังสือ/เอกสารเกี่ยวกับคำสอนทางศาสนา รองลงมาคือ หนังสือพิมพ์
เนื้อหาสาระที่ผู้อ่านหนังสือชอบอ่านมากที่สุด คือ ข่าว (ร้อยละ 54.3) รองลงมาคือ สารคดี/ความรู้ทั่วไป บันเทิง ความรู้วิชาการ และคำสอนทางศาสนา (ร้อยละ 36.4 32.3 23.2 และ 13.4 ตามลำดับ) ส่วนโฆษณา เนื้อหาสาระประเภทความคิดเห็น/วิเคราะห์ และอื่น ๆ มีผู้อ่านเพียงเล็กน้อย
สำหรับผู้อ่านหนังสือที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปทั้งหมด ใช้เวลาอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงานเฉลี่ย 37 นาทีต่อวัน โดยกลุ่มเด็กและเยาวชนใช้เวลาอานหนังสือฯ เฉลี่ย 46 -50 นาทีต่อวัน มากกว่า กลุ่มวัยทำงานและสูงอายุที่ใช้เวลาอ่านหนังสือฯ เฉลี่ยประมาณ 31 - 33 นาทีต่อวัน
เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 พบว่า เกือบทุกวัยใช้เวลาอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น ยกเว้นกลุ่มวัยสูงอายุที่ใช้เวลาอ่านหนังสือลดลง
จากการสำรวจความคิดเห็นของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เกี่ยวกับวิธีการรณรงค์ให้คนรักการอ่านหนังสือ พบว่าวิธีการรณรงค์ที่ได้รับการเสนอแนะมากที่สุด 5 ลำดับแรก คือ หนังสือควรมีราคาถูกลง(ร้อยละ 39.0) ปลูกฝังให้รักการอ่านผ่านพ่อ แม่/ครอบครัว (ร้อยละ 26.3 ) ให้สถานศึกษามีการรณรงค์ส่งเสริมการอ่าน และส่งเสริมให้มีห้องสมุด/ห้องสมุดเคลื่อนที่/มุมอ่านหนังสือในชุมชน/พื้นที่สาธารณะ (มีร้อยละ 25.2 เท่ากัน) และรูปเล่ม/เนื้อหาน่าสนใจ หรือใช้ภาษาง่าย ๆ (ร้อยละ 23.2)