บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การใช้พลังงานของครัวเรือน พ.ศ.2556

ข่าวผลสำรวจ Friday June 20, 2014 13:35 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ประมวลผลข้อมูลการใช้พลังงานของครัวเรือน พ.ศ. 2 556 จากโครงการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 255 6 ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งในเขตและนอกเขตทศบาลตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม 2556 ประมาณ 52,000 ครัวเรือน

ข้อมูลทีที่นำมาประมวลผล ได้แก่ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ได้ด้แก่ น้ำมัน และก๊าซชนิดต่าง ๆ และการใช้พลังงานในรูปอื่อื่น (ไฟฟ้า ถ่านไม้ และฟืน) สามารถสรุปผลทีที่สำคัญได้ดังนี้

ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของครัวเรือน

ผลจากการสำรวจในปี 2556 พบว่า ครัวเรือนทั่วประเทศมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 19,061 บาท ปนค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน 2,084 บาท หรืรือคิดเป็นร้อยละ 10.9 ของค่าใช้จ่จ่ายทั้งสิ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายด้านพลังงานส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70.9) เป็นค่าใช้จ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ได้แก่ แก๊ก๊สโซฮอล์ (ร้อยละ 29.3) น้ำมันดีเซล (ร้อยละ 23.6) น้ำมันบนซิน (ร้อยละ 12.2) ก๊าซใช้ในครัวเรือน (ร้อยละ 3 .5) ก๊าซสำหรับยานยนต์ (NGV, LPG) (ร้อยละ 2.1) และน้อ้อยที่สุด คือ น้ำมันไบโอดีเซลและพลังงานทดแทนประเภทอื่น ๆ (ร้อยละ 0.2) นอกจากนี้เป็ป็นค่าใช้จ่ายพลังงานอื่น ๆ อีอีกร้อยละ 29.1 ของค่าใช้จ่ายด้านพลังงานทั้งสิ้น คือ ไฟฟ้า (ร้อยละ 27.1) และถ่านไม้และฟืน (ร้อยละ 2.0)

สำหรับค่าใช้จ่ายด้านพลังงานโดยรวมของครัวเรือนในภาคต่าง ๆ ในปี 2556 พบว่ว่า ครัวเรือนในกรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัด (นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ) ใช้จ่ายด้านพลังงานมากที่สุดเฉลี่ยเดืดือนละ 3,271 บาท ซึ่งคิดเป็น 2.1 เท่าของครัวเรือนในภาคเหนือ ซึ่งเป็นภาคที่มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานน้น้อยที่สุด คือ เฉลี่ยเดือนละ 1,558 บาทรองลงมา ได้แก่ ครัวเรือนในภาคใต้ (2,39 2 บาท) ครัวเรือนในภาคกลาง (2 ,238 บาท) และครัวเรือนในภาคตะวันออกฉียงเหนือ (1,6 44 บาท) ตามลำดับ

ตาราง 1 ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเฉลีลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนจำแนกตามประเภทของพลังงาน รายภาค ปี 2556
                                                                                                                                                                                            ภาค
รายการ                      ทั่วราช      กรุงเทพมหานคร   กลาง  เหนือ     ตะวันออก      ใต้
                           อาณาจักร     และ 3 จังหวัด*                  เฉียงเหนือ
ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานทั้งสิ้น       2,084         3,271      2,238   1,558     1,644      2,392
น้ำมันเบนซิน                    255           306        224     170       215        461
น้ำมันดีเซล                     492           481        564     385       442        675
ไฟฟ้า                         565         1,133        643     408       367        537
แก๊สโซฮอล์                     610         1,120        677     458       438        591
ก๊าซสำหรับยานยนต์ (NGV, LPG)     44           156         48      16        17         26
ก๊าซใช้ในครัวเรือน (หุงต้มและอื่นๆ    72            64         68      66        75         92
ถ่านไม้และฟืน                    42             1         12      53        87          5
น้ำมันไบโอดีเซลและพลังงาน          4            10          2       2         3          5
ทดแทนประเภทอื่นๆ

หากพิจารณาตามประเภทของพลังงาน พบว่า ครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัด (นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ) มีค่าใช้จ่ายไฟฟ้าและแก๊ก๊สซฮอล์สูงกว่าครัวเรือนในภาคอือื่น ๆ คือ ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเดือนละ 1,133 บาทต่อครัวเรือน และค่าแก๊สโซฮอล์เฉลี่ยเดือนละ 1,120 บาท ซึ่งคิดเป็น 3.1 และ 2.6 เท่า ตามลำดับ ของครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นภาคที่มีค่าไฟฟ้าและแก๊สโซฮอล์น้อยที่สุด (เฉลีลี่ยเดือนละ 36 7 และ 438 บาทตามลำดับ) สำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล ครัวเรือนในภาคใต้มีค่าใช้จ่ายมากที่สุด คือ เฉลี่ยเดือนละ 461 บาทและ 675 บาทต่อครัวเรือน ตามลำดับ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากครัวเรือนในภาคใต้มีการประกอบอาชีพการประมงและทำการเกษตรซึ่งส่วนใหญ่ยังคงต้องใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง สำหรับครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าใช้จ่ายถ่านไม้และฟืนมากกว่าภาคอื่น คือ เฉลี่ยเดือนละ 87 บาทต่อครัวเรือน ในขณะที่น้ำมันไบโอดีเซลและพลังงานทดแทนประเภทอื่น ๆ มีการใช้น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานที่ได้กล่าวมาข้างต้น

เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของครัวเรือน

เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของครัวเรือนทั่วประเทศ ปี 2555 และ 2556 พบว่า ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเฉลี่ยต่อเดือนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย กล่าวคือ จาก 2,057 บาท เป็น 2,084 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อพิจารณาตามประเภทของพลังงาน พบว่า แก๊สโซฮอล์มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึงร้อยละ 132.8 (จาก 262 เป็น 610 บาท) เนื่องจากการรณรงค์ให้ใช้แก๊สโซฮอล์ รองลงมาคือ ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 (จาก 527 เป็น 565 บาท) และก๊าซใช้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 (จาก 68 เป็น 72 บาท) สำหรับน้ำมันเบนซิน พบว่า มีค่าใช้จ่ายลดลงร้อยละ 56.2 (จาก 582 เป็น 255 บาท) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซินออกเทน 91 [1]

หากพิจารณาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของครัวเรือนทั่วประเทศเป็นรายภาค ปี 2555 และ 2556 พบว่า ครัวเรือนทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง และภาคเหนือมีค่าใช้จ่ายดังกล่าวเฉลี่ยต่อเดือนเพิ่มขึ้น และภาคที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 (จาก 1,538 เป็น 1,644 บาท) ขณะที่ครัวเรือนในภาคเหนือมีค่าใช้จ่ายลดลงมากที่สุด คือ ร้อยละ 4.8 (จาก 1,637 เป็น 1,558 บาท)

[1] คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกเลิกน้ำมันเบนซินออกเทน 91 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 สำหรับน้ำมันเบนซินออกเทน 91 ที่ผลิตก่อนและคงเหลือค้างอยู่ที่คลังน้ำมันและสถานีบริการ ผ่อนผันให้สามารถจำหน่ายได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2556

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ