-การค้าส่ง ค้าปลีก ธุรกิจบริการ
-การก่อสร้าง
-การผลิต
-การขนส่งทางบก (ไม่รวมการขนส่งผู้โดยสารทางบกอื่น ๆ ที่ไม่มีตารางเวลา ได้แก่ รถมอเตอร์ไซต์รับจ้าง รถจักรยานยนต์สามล้อ รถจักรยานสามล้อ) และตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยว
-โรงพยาบาล
ผลจากการสำรวจสถานประกอบการที่มีคนทำงานตั้งแต่ 6 คนขึ้นไปทั่วประเทศ มีประมาณ189,182 แห่ง ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครร้อยละ 29.2 หรือประมาณ 55,186 แห่ง ตั้งอยู่ในภาคกลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมณฑลและภาคเหนือประมาณร้อยละ 17.0 15.6 13.6 และร้อยละ 13.3 ตามลำดับ สำหรับภาคใต้ มีประมาณร้อยละ 11.3 (แผนภูมิ ก)
เมื่อพิจารณาตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (แผนภูมิ ข) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.1 เป็นสถานประกอบการดำเนินกิจการเกี่ยวกับธุรกิจทางการค้าส่งค้าปลีกและธุรกิจการบริการ รองลงมาเป็นสถานประกอบการผลิต ร้อยละ 30.2 สำหรับสถานประกอบการก่อสร้างมีประมาณร้อยละ 5.9 ส่วนที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการขนส่งทางบกและตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงพยาบาลมีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยร้อยละ 1.6 และ 0.2 ตามลำดับ 2. ระดับสมรรถนะ/ทักษะ/ฝีมือแรงงาน
เมื่อสอบถามระดับสมรรถนะ/ทักษะ/ฝีมือแรงงานของผู้ที่ต้องการรับเข้ามาทำงานใหม่แต่ละกลุ่มอาชีพจากสถานประกอบการ พบว่า อาชีพผู้จัดการ/ผู้บริหาร เป็นตำแหน่งงานที่ต้องการหรือคาดหวังว่าต้องเป็นผู้ที่มีระดับสมรรถนะสูงกว่าอาชีพอื่นๆ (ร้อยละ 45.9) ส่วนอาชีพพนักงานคนงานทั่วไปไม่ต้องการสูงนัก (ร้อยละ 5.7) ซึ่งถ้าพิจารณาระดับสมรรถนะในแต่ละอาชีพในภาพรวมแล้วสถานประกอบการต้องการระดับสมรรถนะของแรงงานในระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่(ร้อยละ 60.3) (แผนภูมิ ค) 3. คุณลักษณะแรงงานในสถานประกอบการ
เมื่อสอบถามถึงคุณลักษณะของแรงงาน โดยพิจารณาตามความรู้ความสามารถของแรงงาน ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ความรู้พื้นฐานในตำแหน่งงานที่ทำ การมีทักษะฝีมือแรงงาน ความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความขยันและอดทน ความสามารถในการแก้ปัญหา ความมีระเบียบวินัยในการทำงาน ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีทักษะการแสวงหาความรู้ มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รู้จักบริหารเวลา และการมีจิตสาธารณะ
สถานประกอบการรายงานว่า ในภาพรวม โดยเฉลี่ยแล้วแรงงานส่วนใหญ่มีคุณลักษณะดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลาง (แผนภูมิ ง)
เมื่อพิจารณาถึงคุณลักษณะของแรงงานที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ในแต่ละความรู้ความสามารถ พบว่า คุณลักษณะที่มีอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความขยันและอดทน และตรงต่อเวลา ส่วนคุณลักษณะด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีทักษะการแสวงหาความรู้ มีจิตสาธารณะ มีทักษะฝีมือแรงงาน ความรู้พื้นฐานในตำแหน่งงานที่ทำ รู้จักบริหารเวลา ความสามารถในการแก้ปัญหา มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความมีระเบียบวินัยในการทำงานความมีระเบียบวินัยในการทำงานและความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ แรงงานส่วนใหญ่มีคุณลักษณะดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับ ความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ แรงงานส่วนใหญ่ยังมีทักษะความรู้ความสามารถในระดับน้อย 4. ความต้องการแรงงานของสถานประกอบการ
เมื่อสอบถามเกี่ยวกับความต้องการแรงงานของสถานประกอบการ พบว่า สถานประกอบการยังมีความต้องการแรงงาน 306,148 คน ในจำนวนนี้สถานประกอบการรายงานว่าเป็นแรงงานที่ขาดแคลน (ตำแหน่งงานที่หาคนทำงานยาก หรือหาคนทำงานไม่ได้ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป) จำนวน 181,827 คน หรือประมาณร้อยละ 59.4 ของจำนวนแรงงานที่ต้องการทั้งสิ้น
4.1 ประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสถานประกอบการที่ต้องการแรงงาน
เมื่อพิจารณาตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พบว่า สถานประกอบการที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการค้าส่งค้าปลีกและธุรกิจบริการ มีความต้องการแรงงานประมาณ 154,820 คน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานที่ขาดแคลน 91,619 คน สำหรับสถานประกอบการการผลิตต้องการแรงงานประมาณ 133,114 คน (เป็นแรงงานขาดแคลน 77,284 คน) ขณะที่ความต้องการแรงงานในกิจกรรมการก่อสร้างมีประมาณ 13,255 คน กิจกรรมการขนส่งทางบกฯ และโรงพยาบาลมีความต้องการแรงงานประมาณ 3,486 คน และ 1,473 คน ตามลำดับ (แผนภูมิ ฉ)
4.2 ลักษณะอาชีพของแรงงานที่สถานประกอบการต้องการ
สำหรับอาชีพของผู้ปฏิบัติงานที่สถานประกอบการต้องการ และระบุว่าขาดแคลนด้วย (แผนภูมิ ช) ส่วนใหญ่เป็นผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ฝีมือในธุรกิจต่าง ๆ มากที่สุด คือ มีความต้องการแรงงาน ประมาณ 72,049 คน ในจำนวนนี้เป็นตำแหน่งงานที่ขาดแคลน 45,601 คน รองลงมาเป็นผู้ปฏิบัติงานในโรงงานฯ มีความต้องการประมาณ 61,984 คน ในจำนวนนี้เป็นตำแหน่งงานที่ขาดแคลน 36,215 คน
สำหรับแรงงานที่สถานประกอบการต้องการเพิ่มและเป็นตำแหน่งที่ขาดแคลนน้อยที่สุดคือผู้ปฏิบัติงานฝีมือด้านการเกษตรและประมง มีประมาณ 807 คน และ 644 คน ตามลำดับ 5. ความต้องการแรงงานของสถานประกอบการ กับผู้ว่างงาน
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบความต้องการแรงงานกับจำนวนผู้ว่างงาน (โดยไม่คำนึงถึงรายละเอียด คุณสมบัติ ความต้องการแรงงานและการว่างงาน) พบว่า สถานประกอบการมีความต้องการแรงงานประมาณ 306,148 คน และในจำนวนนี้ เป็นแรงงานที่ขาดแคลนประมาณ 181,827 คน ส่วนจำนวนผู้ว่างงาน ในปี 2556 มีจำนวนผู้ว่างงานเพียง 283,521 คนเท่านั้น
สำหรับความต้องการแรงงานกับการว่างงานในระดับพื้นที่ พบว่า สถานประกอบการในกรุงเทพมหานครและภาคกลาง (รวมปริมณฑล) มีจำนวนผู้ว่างงานน้อยกว่าความต้องการแรงงานของสถานประกอบการ คือกรุงเทพมหานครมีผู้ว่างงาน 28,381 คน แต่สถานประกอบการมีความต้องการแรงงานประมาณ 120,455 คน และเป็นตำแหน่งงานที่ขาดแคลนประมาณ 73,968 คน ส่วนในภาคกลาง (รวมปริมณฑล) มีผู้ว่างงานประมาณ 71,929 คน ในขณะที่สถานประกอบการ มีความต้องการแรงงานประมาณ 96,307คน และเป็นตำแหน่งงานที่ขาดแคลนประมาณ 54,740 คน ซึ่งจะแตกต่างจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ มีผู้ว่างงานมากกว่าจำนวนความต้องการแรงงาน โดยในภาคตะวันออก- เฉียงเหนือ สถานประกอบการมีความต้องการแรงงานจำนวน 31,633 คน แต่มีผู้ว่างงานสูงถึงเกือบ 3 เท่า คือ ประมาณ 87,378 คน (แผนภูมิ ซ) ระดับการศึกษา
เมื่อเปรียบเทียบความต้องการแรงงานของสถานประกอบการกับผู้ว่างงานตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ (แผนภูมิ ฌ) พบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่ต้องการแรงงานผู้จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า มากที่สุด 99,700 คน ในขณะที่จำนวนผู้ว่างาน ในระดับการศึกษาดังกล่าวมีจำนวนมากถึง 119,787 คน รองลงมาเป็นแรงงานที่จบการศึกษา ในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า สถานประกอบการมีความต้องการแรงงานน้อยกว่า จำนวนผู้ว่างงาน คิดเป็นอัตราส่วนสูงเกือบ 2.0 เท่าของจำนวนแรงงานที่สถานประกอบการต้องการ
ตาราง ก จำนวนแรงงานที่ต้องการ แรงงานที่ขาดแคลน
และผู้ว่างงาน ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี
จำแนกตามสาขาวิชาที่จบ
หน่วย : คน
สาขาวิชา แรงงานที่ แรงงานที่ ผู้ว่างงาน ต้องการ ขาดแคลน 1/ รวม 43,179 25,553 75,589 ธุรกิจและการบริหาร พาณิชยศาสตร์ 18,924 10,497 22,154 คอมพิวเตอร์ 10,736 6,134 7,944 วิศวกรรมศาสตร์ 6,222 4,759 5,715 สถาปัตยกรรมและการสร้าง อาคาร 1,600 1,042 518 การบริการส่วนบุคคล 1,056 391 3,664 ศิลปกรรมศาสตร์ 867 578 2,387 สุขภาพ 738 586 1,785 การผลิตและกระบวนการผลิต 690 390 379 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ 514 430 2,169 มนุษยศาสตร์ 395 174 1,507 กฎหมาย นิติศาสตร์ 305 103 3,693 สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ 297 89 7,191 วารสารศาสตร์และสารสนเทศ 219 96 2,965 การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม 194 71 85 วิทยาศาสตร์กายภาพ 191 82 2,096 การบริการขนส่ง 83 38 1,132 เกษตรศาสตร์ วนศาสตร์ และ การประมง 62 40 1,284 การฝึกหัดครูและศึกษาศาสตร์ 27 23 6,070 อื่น ๆ (เช่น การบริการทางสังคม สัตวแพทย์ คณิตศาสตร์และสถิติ การบริการด้านการรักษาความ ปลอดภัย ฯลฯ) 59 30 2,851 ที่มา : 1/ การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร พ.ศ. 2556 สาขาวิชา (ระดับปริญญาตรี) เมื่อเปรียบเทียบแรงงานที่ต้องการ แรงงานที่ขาดแคลนและผู้ว่างงานในระดับ ปริญญาตรีตามสาขาวิชาต่าง ๆ ที่จบ พบว่า มีผู้ว่างงานที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีประมาณ75,589 คน ในขณะที่สถานประกอบการมีความต้องการแรงงานประมาณ 43,179 คน และในจำนวนนี้เป็นแรงงานที่ขาดแคลนประมาณ 25,553 คน เมื่อพิจารณาเป็นรายสาขาวิชา พบว่า สาขาวิชาสาขาคอมพิวเตอร์ มีผู้ว่างงานน้อยกว่าความต้องการแรงงานของสถานประกอบการมากที่สุดโดยมีผู้ว่างงานประมาณ 7,944 คน ขณะที่สถานประกอบการมีความต้องการแรงงาน ประมาณ 10,736 คน สถาปัตยกรรมและการสร้างอาคาร และวิศวกรรมศาสตร์มีผู้ว่างงานน้อยกว่าความต้องการแรงงานของสถานประกอบการ ประมาณ 518 และ 5,715 คนตามลำดับ สาขาการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมีผู้ว่างงานน้อยกว่าความต้องการแรงงานของสถานประกอบการเช่นเดียวกัน ขณะที่มีแรงงานที่ขาดแคลนประมาณ 71 คน สำหรับสาขาวิชาที่มีผู้ว่างงานมากกว่าต้องการแรงงานของสถานประกอบการที่สำคัญ คือ สาขาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ สาขาการฝึกหัดครูและศึกษาศาสตร์ สาขาวารสารศาสตร์และสารสนเทศ สาขากฎหมายนิติศาสตร์ สาขาการบริการส่วนบุคคล สาขาธุรกิจและการบริหาร พาณิชยศาสตร์ สาขาศิลปกรรมศาสตร์ สาขาสุขภาพ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และสาขามนุษยศาสตร์ เป็นต้น โดยเฉพาะสาขาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ มีผู้ว่างงานสูงสุดประมาณ 7,191 คน ในขณะที่สถานประกอบการต้องการแรงงานเพียง 297 คน สาขาการฝึกหัดครูและศึกษาศาสตร์ มีผู้ว่างงานประมาณ 6,070 คน ใน ขณะที่แรงงานที่ต้องการมีเพียง 27 คน 6. ความต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ จากการสำรวจครั้งนี้ สถานประกอบการ จำนวน 60,967 แห่ง หรือประมาณร้อยละ 32.2 ได้ให้ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่สำคัญ 5 อันดับแรกคือ ต้องการให้รัฐช่วยเหลือโดยการ การลดภาษีเงินได้ของธุรกิจร้อยละ 19.4 รองลงมาคือจัดหาฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานร้อยละ 18.7 การจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ร้อยละ 16.0) การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ เครื่องมือ เครื่องจักรฯ ร้อยละ 11.5 และร้อยละ 10.2 ตามลำดับ (แผนภูมิ ญ) 7. การปรับตัวต่อสถานภาพการขาดแคลนแรงงาน ลักษณะการปรับตัวของสถานประกอบการ ต่อสถานภาพการขาดแคลนแรงงาน สถานประกอบการจำนวน 174,509 แห่งหรือร้อยละ92.2 ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่สำคัญ5 อันดับแรก โดยอันดับแรกและอันดับที่สองมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือการเพิ่มจำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา และการเพิ่มค่าจ้างเพื่อจูงใจแรงงานใหม่ คิดเป็นร้อยละ 26.0 และร้อยละ 24.5 ตามลำดับ อันดับที่สามคือโดยจ้างแรงงาน Outsource ร้อยละ 11.7 การจ้างแรงงานต่างด้าวมาทดแทนร้อยละ 10.7 และลำดับสุดท้ายโดยการนำเครื่องจักรมาทดแทนแรงงาน คิดเป็นร้อยละ 8.7 (แผนภูมิ ฎ) สรุปผลการสำรวจความต้องการแรงงานของสถานประกอบการชี้ให้เห็นว่าสถานประกอบการที่มีคนทำงานตั้งแต่ 6 คนขึ้นไปที่ประกอบธุรกิจตามคุ้มรวมของการสำรวจครั้งนี้ ในภาพรวมปี 2556 มีความต้องการแรงงานทั้งสิ้นประมาณ 306,148 คน และในจำนวนนี้เป็นแรงงานที่ขาดแคลนประมาณ 181,827 คนโดยสถานประกอบการในกรุงเทพมหานคร มีความต้องการแรงงานมากที่สุดถึง 120,155 คน สำหรับอาชีพที่ต้องการมากที่สุด คือ ผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ฝีมือในธุรกิจต่างๆ ด้านเทคนิคและเป็นอาชีพที่พบว่ามีการขาดแคลนมากที่สุดของสถานประกอบการด้วย เมื่อพิจารณาความต้องการแรงงานของสถานประกอบการร่วมกับข้อมูลผู้ว่างงานจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร พ.ศ. 2556 ซึ่งมีผู้ว่างงานประมาณ 283,521 คน จากการสำรวจจะพบว่าผู้ว่างงานส่วนใหญ่เป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือต่ำกว่าประมาณร้อยละ 42.2 และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า คิดเป็นร้อยละ 28.1 สำหรับผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานประกอบการมีความต้องการแรงงานประมาณ 43,179 คนในจำนวนนี้เป็นแรงงานที่ขาดแคลนประมาณ 25,553 คนเมื่อพิจารณา ร่วมกับข้อมูลผู้ว่างงานจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร พ.ศ. 2556 จะพบว่า มีแรงงานส่วนที่เกินความต้องการของผู้ประกอบการอีกจำนวนหนึ่ง เช่นผู้ที่จบการศึกษาสาขาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ สาขาการฝึกหัดครูและศึกษาศาสตร์ สาขาวารสารศาสตร์และสารสนเทศ สาขากฎหมายนิติศาสตร์ สาขาการบริการส่วนบุคคล สาขาธุรกิจและการบริหาร พาณิชยศาสตร์ สาขาศิลปกรรมศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้อาจสะท้อนให้เห็นว่าการผลิตแรงงานยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการหรือนายจ้าง อย่างไรก็ดีแรงงานเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญประการหนึ่งในการประกอบธุรกิจ การสำรวจครั้งนี้จึงมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐ ในการวางแผนและพัฒนากำลังคนของประเทศ และการวางแผนการลงทุนของภาคเอกชน รวมทั้งการให้บริการของภาครัฐในการจัดหางาน การแนะแนวอาชีพให้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศต่อไป ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ