สรุปข้อมูลเบื้องต้น การสำรวจยอดขายรายไตรมาส พ.ศ. 2556 : ไตรมาส 3-4

ข่าวผลสำรวจ Tuesday July 22, 2014 14:54 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำการสำรวจยอดขายรายไตรมาสเป็นประจำทุกปี โดยใช้สถานประกอบการตัวอย่างทั้งสิ้น 12,684 แห่ง จากสถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการขายปลีกสินค้าและบริการทั่วประเทศประมาณ 1.3 ล้านแห่ง ข้อมูลสำคัญที่เก็บรวบรวม ได้แก่ มูลค่ารายรับและมูลค่าสินค้าคงเหลือของสถานประกอบการ เพื่อให้หน่วยงานวางแผนด้านเศรษฐกิจใช้ประกอบการจัดทำบัญชีประชาชาติของประเทศ และใช้ในการพิจารณากำหนดนโยบายด้านราคาสินค้า

สรุปข้อมูลเบื้องต้นฉบับนี้ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลการดำเนินกิจการของสถานประกอบการธุรกิจค้าปลีกและบริการทั่วประเทศ ซึ่งดำเนินธุรกิจตามการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย ปี 2552 (TSIC-2009) ระหว่างไตรมาส 3-4 ของปี 2556 สรุปดังนี้

1. การเปลี่ยนแปลงมูลค่าขาย/รายรับจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน

เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน พบว่า ในไตรมาส 3 ปี 2556 ธุรกิจทั่วประเทศ มีมูลค่ารายรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 และชะลอตัวลงใน ไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 11.3 เมื่อพิจารณาตามประเภทธุรกิจ พบว่า ในไตรมาส 3-4 ธุรกิจการบริการอาหารและเครื่องดื่ม มีมูลค่ารายรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 22.0 และร้อยละ 38.8 ตามลำดับ รองลงมาคือ ธุรกิจการซ่อมของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือนฯ มีมูลค่ารายรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3-4 ร้อยละ 20.9 และร้อยละ 25.1 ตามลำดับ สำหรับธุรกิจที่มีมูลค่ารายรับชะลอตัวลงในไตรมาส 4 ปี 2556 ได้แก่ ธุรกิจที่พักแรม (ร้อยละ 14.3) ธุรกิจการขายปลีก (ร้อยละ 6.7)และธุรกิจเกี่ยวกับกิจกรรมศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ (ร้อยละ 5.9)

เมื่อพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า กิจการที่มีคนทำงาน 1-15 คน 26-30 คน และที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน มีมูลค่ารายรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3-4 อย่างต่อเนื่อง กิจการที่มีคนทำงาน 31-50 คน มีมูลค่ารายรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 ร้อยละ 3.4 และกลับลดลงในไตรมาส 4 ที่ร้อยละ 2.4 สำหรับกิจการที่มีคนทำงาน 16-25 คน และ 51-200 คน พบว่า มีมูลค่ารายรับลดลงในไตรมาส 3-4 อย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีที่ผ่านมา

ตาราง 1 การเปลี่ยนแปลงมูลค่าขาย/รายรับจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน จำแนกตามประเภทธุรกิจและขนาดของสถานประกอบการ

(ร้อยละ)

ประเภทธุรกิจ/                                2556
                                ___________________________
ขนาดของสถานประกอบการ            Q1r     Q2      Q3       Q4
                                                                                                                                รวม                            10.5    10.2    13.1    11.3
ประเภทธุรกิจ
การขายปลีก                      10.8     8.8    11.7     6.7
ที่พักแรม                          5.7    19.7    15.7    14.3
การบริการอาหารและเครื่องดื่ม        13.7    15.7    22.0    38.8
การผลิตภาพยนตร์ วีดิทัศน์ ฯลฯ         4.9     4.9     3.1     4.8
การให้เช่าของใช้ส่วนบุคคล ฯลฯ        0.2     8.1     4.9     7.3
กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิง ฯ          3.2     5.6     9.6     5.9
การซ่อมของใช้ส่วนบุคคล ฯลฯ         10.9    17.4    20.9    25.1
ขนาดของสถานประกอบการ
1-15 คน                        16.7    16.7    23.8    24.9
 16-25 คน                       3.4     4.0    -7.3   -21.2
26-30 คน                        6.0    15.7    26.9    24.3
31-50 คน                       15.8     3.3     3.4    -2.4
 51-200 คน                     -0.7     0.1    -0.8    -7.9
มากกว่า 200 คน                   7.2    10.3    10.3    14.4
หมายเหตุ:  r  ตัวเลขปรับปรุงใหม่

          2. การเปลี่ยนแปลงมูลค่าขาย/รายรับจากไตรมาสก่อน
          เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า  ในไตรมาส 3 ปี 2556 ธุรกิจทั่วประเทศ มีมูลค่ารายรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อพิจารณาตามประเภทธุรกิจ พบว่า ธุรกิจการซ่อมของใช้ส่วนบุคคล และ ของใช้ในครัวเรือนและกิจกรรมการบริการส่วนบุคคลอื่นๆ มีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนสูงสุดร้อยละ 10.7 รองลงมาคือ ธุรกิจการบริการอาหารและเครื่องดื่มและธุรกิจการขายปลีก มีรายรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 และร้อยละ 2.5 ตามลำดับ สำหรับธุรกิจประเภทอื่นๆ กลับมีมูลค่ารายรับลดลงจากไตรมาสก่อนไม่เกินร้อยละ 5.0
          สำหรับไตรมาส 4 พบว่า ธุรกิจทั่วประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยมีมูลค่ารายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนอยู่ที่ร้อยละ 3.4 เมื่อพิจารณาตามประเภทธุรกิจ พบว่า ธุรกิจการบริการอาหารและเครื่องดื่ม มีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 สูงสุดที่ร้อยละ 19.8 รองลงมาคือ ธุรกิจการให้เช่าของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือนฯ มีรายรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ธุรกิจการซ่อมของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือนและกิจกรรมการบริการส่วนบุคคลอื่นๆ และธุรกิจ ที่พักแรม มีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนใกล้เคียงกันร้อยละ 6.9 และร้อยละ 6.6 ตามลำดับ ส่วนธุรกิจประเภทอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นมีรายรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยไม่เกินร้อยละ 4.0
          เมื่อพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า ในไตรมาส 3 กิจการที่มีคนทำงาน 1-15 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 รองลงมาคือ กิจการที่มีคนทำงาน 26-30 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ในขณะที่กิจการที่มีคนทำงาน 16-25 คน 31-50 คน และ 51-200 คน มีรายรับลดลงโดยในแต่ละขนาดลดลงไม่เกินร้อยละ 9.0
          สำหรับไตรมาส 4 พบว่า กิจการที่มีคนทำงาน 1-15 คน 26-30 คน และมากกว่า 200 คน แต่ละขนาดมีรายรับเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 9.0 ส่วนกิจการขนาดอื่นมีรายรับลดลงไม่เกินร้อยละ 5.0

ตาราง 2 การเปลี่ยนแปลงมูลค่าขาย/รายรับจากไตรมาสก่อน จำแนกตามประเภทธุรกิจและขนาดของสถานประกอบการ
ประเภทธุรกิจ/                                       2556
                               _______________________________________________
ขนาดของสถานประกอบการ           Q1r            Q2            Q3             Q4
รวม                            3.2           1.0           3.1            3.4
ประเภทธุรกิจ
การขายปลีก                      3.1           0.6           2.5            0.4

ที่พักแรม                         7.4           0.9          -1.1            6.6
การบริการอาหารและเครื่องดื่ม        2.3           3.4           9.6           19.8
การผลิตภาพยนตร์ วีดิทัศน์ ฯลฯ        0.4           3.0          -2.4            3.9
การให้เช่าของใช้ส่วนบุคคล ฯลฯ      -2.3           7.3          -5.0            7.7
กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิง ฯ         2.5           1.0          -0.9            3.2
การซ่อมของใช้ส่วนบุคคล ฯลฯ         4.4           1.3          10.7            6.9
ขนาดของสถานประกอบการ
1-15 คน                        5.0           3.4           8.5            6.1
16-25 คน                     -10.4           0.8          -8.8           -4.3
26-30 คน                       7.5           3.2           6.0            5.7
31-50 คน                      11.3          -5.1          -4.7           -3.2
51-200 คน                     -0.1          -2.5          -2.1           -3.4
มากกว่า 200 คน                  3.6           1.9             -            8.5
 หมายเหตุ : 1) - มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
           2) r ตัวเลขปรับปรุงใหม่

          2.1 ธุรกิจค้าปลีก
          สำหรับธุรกิจค้าปลีก พบว่า ในไตรมาส 3 มียอดขายเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ปี 2556 ร้อยละ 2.5 จากนั้นในไตรมาส 4 ชะลอตัวลงร้อยละ 0.4 เมื่อพิจารณาตามขนาดของกิจการ พบว่า กิจการที่มีคนทำงาน 1-15 คน 26-30 คน และมากกว่า 200 คน มียอดขายเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 ร้อยละ 7.5 ร้อยละ 3.9 และร้อยละ 0.6 ตามลำดับ สำหรับประเภทของธุรกิจค้าปลีกที่มียอดขายเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 ได้แก่ ขายปลีกเครื่องดื่ม (ร้อยละ 17.0) ขายปลีกเกมและของเล่น (ร้อยละ 11.8) ขายปลีกพรม สิ่งปูพื้น วัสดุปิดผนังและปูพื้น (ร้อยละ 11.7) และขายปลีกโดย การรับสั่งสินค้าทางไปรษณีย์ โทรทัศน์ วิทยุ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 11.3) สาเหตุที่มียอดขายเพิ่มขึ้นนั้น สถานประกอบการร้อยละ 69.1 รายงานว่าเนื่องจากลูกค้ามีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น

          ธุรกิจค้าปลีกในไตรมาส 4 พบว่า กิจการที่มีคนทำงาน 26-30 คน มียอดขายเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 11.3 กิจการที่มีคนทำงาน มากกว่า 200 คน และ 1-15 คน มีรายรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.7 และร้อยละ 1.5 ตามลำดับ สำหรับประเภทของธุรกิจค้าปลีกที่มียอดขายเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 ได้แก่ ขายปลีกสินค้าทางเภสัชกรรมและเวชภัณฑ์ เครื่องหอม และเครื่องประทินโฉม (ร้อยละ 13.8)ขายปลีกอาหาร (ร้อยละ 13.2)และขายปลีกเกมและของเล่น (ร้อยละ 10.6) สาเหตุที่มียอดขายเพิ่มขึ้นนั้น สถานประกอบการร้อยละ 46.5 รายงานว่าเนื่องจากเป็นช่วงเข้าสู่เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ จึงมีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นในช่วงนี้

ตาราง 3 การเปลี่ยนแปลงมูลค่าขาย/รายรับจากไตรมาสก่อนของธุรกิจค้าปลีก จำแนกตามขนาดของสถานประกอบการ

(ร้อยละ)
ขนาดของสถานประกอบการ             2556
                     ______________________________
(จำนวนคนทำงาน)        Q1r      Q2      Q3        Q4
รวม                   3.1     0.6     2.5       0.4
1 - 15  คน            4.4     3.7     7.5       1.5
16 - 25  คน         -10.7    -0.2    -9.5      -4.6
26 - 30  คน           1.7     1.8     3.9      11.3
31 - 50  คน          14.0    -6.4    -6.8      -5.4
51 - 200  คน         -1.1    -3.3    -1.0      -4.2
มากกว่า  200  คน       3.9     1.0     0.6       7.7
หมายเหตุ: r  ตัวเลขปรับปรุงใหม่

          2.2 ธุรกิจที่พักแรม
           ธุรกิจที่พักแรม ได้แก่ โรงแรม รีสอร์ท เกสต์เฮาส์ โฮมสเตย์ และหอพัก พบว่า ในไตรมาส 3 มีมูลค่ารายรับลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2556 เมื่อพิจารณาตามขนาดของกิจการ พบว่า กิจการเกือบทุกขนาดมีรายรับลดลง แต่ไม่เกินร้อยละ 9.0 สำหรับกิจการที่มีคนทำงาน 1-15 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 32.4 และกิจการที่มีคนทำงาน 26-30 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7
          สาเหตุที่มีรายรับลดลงในช่วงนี้ สถานประกอบการร้อยละ 48.6 รายงานว่าเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนจึงทำให้มีลูกค้าลดลง
          ในไตรมาส 4 พบว่า ธุรกิจที่พักแรมมีรายรับปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน อยู่ที่ร้อยละ 6.6 โดยกิจการที่มีคนทำงาน 1-15 คน มากกว่า 200 คน และ 31-50 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 ร้อยละ 14.0 และร้อยละ 1.7 ตามลำดับ ส่วนกิจการขนาดอื่นๆ มีรายรับลดลงไม่เกินร้อยละ 9.0
          สาเหตุที่มีรายรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 นี้ สถานประกอบการร้อยละ 71.8 รายงานว่าเนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่และเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว จึงทำให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้น

ตาราง 4 การเปลี่ยนแปลงมูลค่าขาย/รายรับจากไตรมาสก่อนของธุรกิจที่พักแรม จำแนกตามขนาดของสถานประกอบการ

(ร้อยละ)
ขนาดของสถานประกอบการ              2556
                         _________________________
(จำนวนคนทำงาน)            Q1r     Q2     Q3    Q4
รวม                       7.4    0.9   -1.1   6.6
1 - 15  คน               29.8    1.7   32.4  14.5
16 - 25  คน               4.6    8.4   -8.6  -3.3
26 - 30  คน              28.3    5.8    9.7  -8.3
31 - 50  คน               5.1    3.2   -3.1   1.7
51 - 200  คน              4.9   -3.7   -7.9  -3.0
มากกว่า  200  คน           2.5    3.6   -6.8  14.0
หมายเหตุ:  r  ตัวเลขปรับปรุงใหม่

          2.3 ธุรกิจการบริการอาหารและเครื่องดื่ม
          พบว่า ในไตรมาส 3 มีมูลค่ารายรับเพิ่มขึ้นจาก   ไตรมาส 2 ปี 2556 ที่ร้อยละ 9.6 โดยกิจการที่มีคนทำงาน 26-30 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 สูงถึงร้อยละ 17.1 รองลงมาคือ กิจการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน และกิจการที่มีคนทำงาน 1-15 คน โดยมีรายรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 และร้อยละ 11.4 ตามลำดับ
          สำหรับไตรมาส 4 พบว่า ธุรกิจการบริการอาหารและเครื่องดื่ม มีมูลค่ารายรับเพิ่มขึ้นจาก  ไตรมาสก่อนร้อยละ 19.8 โดยกิจการที่มีคนทำงาน 1-15 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นสูงสุดร้อยละ 24.1 สำหรับกิจการที่มีคนทำงาน 31 คนขึ้นไป มีรายรับเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 10.0 สาเหตุที่มีรายรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3-4 นั้น สถานประกอบการส่วนใหญ่ (ไตรมาส 3 ร้อยละ 48.4 และไตรมาส 4 ร้อยละ 48.9) รายงานว่าเนื่องจากลูกค้ามีกำลังซื้อมากขึ้น


ตาราง 5 การเปลี่ยนแปลงมูลค่าขาย/รายรับจากไตรมาสก่อนของธุรกิจการบริการอาหารและเครื่องดื่ม จำแนกตามขนาดของสถานประกอบการ

(ร้อยละ)
ขนาดของสถานประกอบการ          2556
                      __________________________
(จำนวนคนทำงาน)        Q1r     Q2      Q3     Q4
รวม                   2.3    3.4     9.6    19.8
 1 - 15  คน           5.2    2.2    11.4    24.1
16 - 25  คน         -20.2    3.5    -3.3    -1.7
26 - 30  คน          14.7    6.7    17.1    -0.2
31 - 50  คน          -3.9   11.8     4.2     7.0
51 - 200  คน         32.3    9.5    -4.1     9.8
มากกว่า  200  คน       4.5    5.1    12.6     7.5
หมายเหตุ: r  ตัวเลขปรับปรุงใหม่

          2.4 ธุรกิจการผลิตภาพยนตร์ วีดิทัศน์ และรายการโทรทัศน์ การบันทึกเสียงลงบนสื่อ การจัดผังรายการและการแพร่ภาพกระจายเสียง และกิจกรรมสำนักข่าว พบว่า ในไตรมาส 3 มีมูลค่ารายรับลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนร้อยละ 2.4 โดยเฉพาะกิจการที่มีคนทำงาน 1-15 คน มีรายรับลดลงจากไตรมาส 2 สูงสุดร้อยละ 21.8 รองลงมาคือ กิจการที่มีคนทำงาน 16-25 คน และกิจการที่มีคนทำงาน 51-200 คน มีมูลค่ารายรับลดลงร้อยละ 14.7 และร้อยละ 10.8 ตามลำดับ ส่วนกิจการที่มีคนทำงาน 31-50 คน กลับมีรายรับเพิ่มขึ้นจาก  ไตรมาสก่อนร้อยละ 12.6
          สาเหตุที่มีรายรับลดลงในไตรมาส 3 นั้น สถานประกอบการร้อยละ 39.3 รายงานว่าเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน ทำให้มีลูกค้าลดลง
          สำหรับไตรมาส 4 นั้น พบว่า ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตภาพยนตร์ฯ มีมูลค่ารายรับเพิ่มขึ้นจาก    ไตรมาส 3 ร้อยละ 3.9 ธุรกิจที่มีรายรับเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ได้แก่ ธุรกิจเกี่ยวกับการบันทึกเสียงลงบนสื่อและการจัดพิมพ์จำหน่ายหรือเผยแพร่ดนตรี (ร้อยละ 7.0) การผลิตภาพยนตร์ วีดิทัศน์ และรายการโทรทัศน์ (ร้อยละ 6.2) และการจัดผังรายการและการแพร่ภาพกระจายเสียงทางโทรทัศน์ (ร้อยละ4.2) เมื่อพิจารณาตามขนาดของกิจการ พบว่า กิจการที่มีคนทำงานตั้งแต่ 26 คนขึ้นไป มีรายรับเพิ่มขึ้นใน ไตรมาสนี้ โดยเฉพาะกิจการที่มีคนทำงาน 31-50 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นสูงสุดร้อยละ 9.2 ส่วนกิจการที่มีคนทำงาน 1-25 คน มีรายรับลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนไม่เกินร้อยละ 10.0
          สาเหตุที่มีรายรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 สถานประกอบการร้อยละ 38.9 รายงานว่าเนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ จึงมีการส่งเสริมการขายด้านสื่อต่างๆ เพิ่มขึ้น ทั้งด้านดนตรี ภาพยนตร์ และรายการโทรทัศน์ จึงทำให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้น

ตาราง 6 การเปลี่ยนแปลงมูลค่าขาย/รายรับจากไตรมาสก่อนของธุรกิจการผลิตภาพยนตร์ วีดิทัศน์ และรายการโทรทัศน์ ฯลฯ จำแนกตามขนาดของสถานประกอบการ

(ร้อยละ)
ขนาดของสถานประกอบการ              2556
                       _______________________________
(จำนวนคนทำงาน)          Q1r     Q2      Q3     Q4
รวม                    0.4    3.0   -2.4    3.9
1 - 15  คน            17.0   -0.8  -21.8   -6.3
16 - 25  คน           -0.9    5.0  -14.7   -9.1
26 - 30  คน           29.3    3.3   -8.0    2.4
31 - 50  คน           -1.8   -6.4   12.6    9.2
51 - 200  คน         -30.1   23.4  -10.8    6.1
มากกว่า  200  คน       10.6    5.5   -0.2    4.2
หมายเหตุ : r  ตัวเลขปรับปรุงใหม่

          2.5 ธุรกิจการให้เช่าของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน และกิจกรรมการคัดเลือก นักแสดงภาพยนตร์ โทรทัศน์และการแสดงอื่นๆ พบว่า ในไตรมาส 3 มีมูลค่ารายรับลดลงจาก   ไตรมาส 2 ปี 2556 ร้อยละ 5.0 และปรับตัวดีขึ้น ในไตรมาส 4 ที่ร้อยละ 7.7
          เมื่อพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า ในไตรมาส 3 กิจการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน และ 1-15 คน มีรายรับลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 5.8 และร้อยละ 5.3 ตามลำดับ สำหรับไตรมาส 4 พบว่า กิจการที่มีคนทำงาน 1-15 คน มีรายรับขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 8.0 กิจการที่มีคนทำงาน    51-200 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนในสัดส่วนคงที่คือ ที่ร้อยละ 5.0 ส่วนกิจการขนาดอื่นๆ มีรายรับลดลงจากไตรมาสก่อนไม่เกินร้อยละ 18.0
          สาเหตุที่มีรายรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 นั้น สถานประกอบการร้อยละ 69.3 รายงานว่าเนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ทำให้มีลูกค้ามากขึ้น

ตาราง 7 การเปลี่ยนแปลงมูลค่าขาย/รายรับจากไตรมาสก่อนของธุรกิจการให้เช่าของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ใน ครัวเรือน ฯลฯ จำแนกตามขนาดของสถานประกอบการ

(ร้อยละ)
 ขนาดของสถานประกอบการ             2556
                           _________________________
(จำนวนคนทำงาน)              Q1r    Q2     Q3     Q4
รวม                        -2.3   7.3   -5.0    7.7
1 - 15  คน                 -2.5   7.4   -5.3    8.0
16 - 25  คน                19.5   6.0    6.0   -3.3
26 - 30  คน                 N/A   N/A    N/A    N/A
31 - 50  คน                 9.3   4.7    2.4  -17.4
51 - 200  คน               -8.6   5.0    5.0    5.0
มากกว่า  200  คน             N/A   1.5   -5.8  -16.8
หมายเหตุ : 1) N/A  ไม่มีข้อมูลแสดงการเปลี่ยนแปลง
          2) r ตัวเลขปรับปรุงใหม่

          2.6 ธุรกิจเกี่ยวกับกิจกรรมศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ พบว่า ในไตรมาส 3 มีมูลค่ารายรับลดลงเล็กน้อยจากไตรมาส 2 ปี 2556 ร้อยละ 0.9 และกลับขยายตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 ที่ร้อยละ 3.2
          เมื่อพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า ในไตรมาส 3 กิจการที่มีคนทำงาน 26-30 คน มีรายรับลดลงมากที่สุดคือ ร้อยละ 14.1  ส่วนกิจการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน และกิจการที่มีคนทำงาน 31-50 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 และร้อยละ 3.6 ตามลำดับ

สาเหตุที่มีรายรับลดลงในไตรมาส 3 สถานประกอบการร้อยละ 46.5 รายงานว่าเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน ทำให้มีลูกค้าลดลง
          สำหรับไตรมาส 4 พบว่า กิจการที่มีคนทำงาน 1-15 คน 16-25 คน และมากกว่า 200 คน แต่ละขนาดมีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนไม่เกินร้อยละ 7.0 สาเหตุที่มีรายรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 นั้น สถานประกอบการร้อยละ 54.5 รายงานว่าเนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลวันหยุดตามประเพณี และมีกิจกรรมบันเทิงและนันทนาการต่างๆ จึงทำให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้น

ตาราง 8 การเปลี่ยนแปลงมูลค่าขาย/รายรับจากไตรมาสก่อน  ของธุรกิจเกี่ยวกับกิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ จำแนกตามขนาดของสถานประกอบการ

(ร้อยละ)
ขนาดของสถานประกอบการ              2556
                        ___________________________
(จำนวนคนทำงาน)           Q1r     Q2     Q3    Q4
รวม                      2.5    1.0   -0.9   3.2
1 - 15  คน              17.0    5.7   -2.2   6.8
16 - 25  คน             17.3   -0.8   -4.6   1.7
26 - 30  คน             23.7    6.7  -14.1  -7.3
31 - 50  คน             -7.4   -4.6    3.6 -14.5
51 - 200  คน             3.8    3.0   -2.3  -2.0
มากกว่า  200  คน        -15.3   -4.8    3.9   5.6
หมายเหตุ: r  ตัวเลขปรับปรุงใหม่

          2.7 ธุรกิจการซ่อมของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือนและกิจกรรมการบริการส่วนบุคคลอื่นๆ พบว่า ในไตรมาส 3 มีมูลค่ารายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 10.7 จากนั้นใน  ไตรมาส 4 ชะลอตัวลงอยู่ที่ร้อยละ 6.8 ธุรกิจที่มีรายรับเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ ได้แก่ ธุรกิจเกี่ยวกับการซ่อมเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน (ร้อยละ 15.2) และธุรกิจเกี่ยวกับกิจกรรมบริการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย (ยกเว้นกิจกรรมด้านการกีฬา)(ร้อยละ 11.3)
          เมื่อพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า ในไตรมาส 3 กิจการที่มีคนทำงาน 1-15 คน มีมูลค่ารายรับเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ร้อยละ 12.4 รองลงมาคือ กิจการที่มีคนทำงาน 31-50 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 5.2 สำหรับกิจการที่มีคนทำงาน 16-25 คน และ 26-30 คน มีรายรับลดลงร้อยละ 6.7 และร้อยละ 0.6 ตามลำดับ
          สำหรับไตรมาส 4 พบว่า กิจการที่มีคนทำงาน 1-15 คน มีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 ที่ร้อยละ 8.2 ส่วนกิจการที่มีคนทำงาน 31 คนขึ้นไป แต่ละขนาดมีรายรับเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 3.0

          สาเหตุที่มีรายรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3-4 สถานประกอบการส่วนใหญ่ (ไตรมาส 3 ร้อยละ 61.1 และไตรมาส 4 ร้อยละ 47.9) รายงานว่าเนื่องจากลูกค้า มีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น

ตาราง 9 การเปลี่ยนแปลงมูลค่าขาย/รายรับจากไตรมาสก่อนของธุรกิจการซ่อมของใช้ ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือนฯ จำแนกตามขนาดของสถานประกอบการ

(ร้อยละ)
 ขนาดของสถานประกอบการ              2556
                        _____________________________
(จำนวนคนทำงาน)           Q1r    Q2     Q3      Q4
รวม                    4.4  1.3 10.7 6.9
1 - 15  คน              4.6  1.4   12.4  8.2
16 - 25  คน            14.2 5.0    -6.7 -11.4
26 - 30  คน           -19.5 3.1   -0.6 -3.2
31 - 50  คน             7.6  0.1   5.2   2.5
51 - 200  คน           -2.9 -5.7  1.4   1.5
มากกว่า  200  คน       -16.2 5.3 3.4  2.9
หมายเหตุ:  r  ตัวเลขปรับปรุงใหม่

          3. การเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินค้าคงเหลือของธุรกิจการขายปลีกจากไตรมาสก่อน
          ภาพรวมของมูลค่าสินค้าคงเหลือของธุรกิจ  ค้าปลีก พบว่า ในไตรมาส 3 มีมูลค่าสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ร้อยละ 2.0 สำหรับไตรมาส 4 มีมูลค่าสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาส 3 โดยชะลอตัวลงอยู่ที่ร้อยละ 0.6 ในส่วนของการขายปลีกสินค้าแต่ละประเภท ที่มีมูลค่าสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นใน     ไตรมาส 4 เช่น ธุรกิจขายปลีกอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ (ร้อยละ 5.9) ธุรกิจการรับสั่งสินค้าทางไปรษณีย์โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต และการขายปลีกโดยไม่มีร้านด้วยวิธีอื่นๆ (ร้อยละ 5.6) ธุรกิจการขายปลีกอาหาร เครื่องดื่ม หรือยาสูบ เป็นสินค้าหลักและสินค้าทั่วไปอื่นๆ (ร้อยละ 2.8) เป็นต้น สำหรับธุรกิจค้าปลีกที่มีมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลงในไตรมาส 4 ได้แก่ การขายปลีกเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องหนัง สินค้าทางเภสัชกรรมและเวชภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องประทินโฉม และสินค้าใหม่อื่นๆ (ร้อยละ 3.1) และการขายปลีกหนังสือ หนังสือพิมพ์ และเครื่องเขียน สื่อบันทึกเสียงและภาพ เครื่องกีฬา เกมและของเล่น สินค้าอื่นๆ ด้านวัฒนธรรมและนันทนาการ (ร้อยละ 2.5)
           เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินค้าคงเหลือตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า ในไตรมาส 4 กิจการเกือบทุกขนาดมีมูลค่าสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยกิจการที่มีคนทำงาน 26-30 คน และกิจการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน มีมูลค่าสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นสูงสุดร้อยละ 10.2 และร้อยละ 8.0 ตามลำดับ สำหรับกิจการที่มีคนทำงาน 16-25 คน และ 1-15 คน มีมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลงจาก   ไตรมาสก่อนร้อยละ 16.2 และร้อยละ 0.7 ตามลำดับ

ตาราง 10 การเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินค้าคงเหลือของการขายปลีกจากไตรมาสก่อน จำแนกตามประเภทการขายปลีก และขนาดของสถานประกอบการ

(ร้อยละ)
ประเภทธุรกิจขายปลีก/                                     2556

ขนาดของสถานประกอบการ                        Q1r     Q2     Q3     Q4
รวม                                        -0.4    1.2    2.0    0.6
ประเภทธุรกิจขายปลีก
อาหาร เครื่องดื่ม  หรือยาสูบ เป็นสินค้าหลัก          -1.0   3.0    7.7     2.8
และสินค้าทั่วไปอื่นๆ
อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ                     -12.7   4.6    4.1     5.9
คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์          1.8 -10.0    8.6     1.8
สื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์ภาพและเสียง
สิ่งทอ เครื่องโลหะ สี และกระจก พรม สิ่งปูพื้น        -4.5   1.9    1.2     0.4
วัสดุปิดผนังและปูพื้น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์
อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับให้แสงสว่าง และของใช้อื่นๆ
ในครัวเรือน
หนังสือ หนังสือพิมพ์ และเครื่องเขียน สื่อบันทึก         6.7   -3.6    7.6    -2.5
เสียงและภาพ เครื่องกีฬา เกมและของเล่น
สินค้าอื่นๆ ด้านวัฒนธรรมและนันทนาการ
เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องหนัง สินค้าทางเภสัชกรรม      5.0    1.1   -7.5    -3.1
และเวชภัณฑ์ เครื่องหอมและเครื่องประทินโฉม
และสินค้าใหม่อื่นๆ
การรับสั่งสินค้าทางไปรษณีย์ โทรทัศน์ วิทยุ            5.0   -0.1   -3.9     5.6
โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต และการขายปลีกโดย
ไม่มีร้านด้วยวิธีอื่นๆ
ขนาดของสถานประกอบการ
1 - 15  คน                                2.3    1.7    -0.4    -0.7
16 - 25  คน                               6.0    0.7     1.3   -16.2
26 - 30  คน                               5.4    1.4     1.5    10.2
31 - 50  คน                              -1.2    4.6    -3.3     2.1
51 - 200  คน                             -5.2   -1.6     8.6     2.6
มากกว่า 200 คน                            -7.0    1.0     7.4     8.0
หมายเหตุ: r  ตัวเลขปรับปรุงใหม่

          4. สรุปผลและข้อเสนอแนะ
          ภาพรวมของธุรกิจทั่วประเทศในไตรมาส 3  ปี 2556 มีมูลค่ารายรับขยายตัวอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน อยู่ที่ร้อยละ 13.1 และชะลอตัวลงในไตรมาส 4 ที่ร้อยละ 11.3 เมื่อพิจารณาตามประเภทธุรกิจ พบว่า ในช่วงไตรมาส 3-4 ธุรกิจการบริการอาหารและเครื่องดื่ม มีมูลค่ารายรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 22.0 และร้อยละ 38.8 ตามลำดับ รองลงมาคือ ธุรกิจการซ่อมของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือนฯ มีมูลค่ารายรับเพิ่มขึ้นใน  ไตรมาส 3-4 ร้อยละ 20.9 และร้อยละ 25.1 ตามลำดับ สำหรับธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจการขายปลีก และธุรกิจเกี่ยวกับกิจกรรมศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ พบว่า ไตรมาส 4 ปี 2556 มีมูลค่ารายรับชะลอตัวลงร้อยละ 14.3 ร้อยละ 6.7 และร้อยละ 5.9 ตามลำดับ
          เมื่อพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า กิจการที่มีคนทำงาน 1-50 คน 26-30 คน และที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน มีมูลค่ารายรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3-4 อย่างต่อเนื่อง กิจการที่มี คนทำงาน 31-50 คน มีมูลค่ารายรับเพิ่มขึ้นใน  ไตรมาส 3 ร้อยละ 3.4 และกลับลดลงในไตรมาส 4 ที่ร้อยละ 2.4 สำหรับกิจการที่มีคนทำงาน 16-25 คน และ 51-200 คน พบว่า มีมูลค่ารายรับลดลงใน ไตรมาส 3-4 อย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีที่ผ่านมา
          ด้านปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจนั้น มีผู้ประกอบการธุรกิจและบริการทั่วประเทศ ร้อยละ 50.7 แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ โดยส่วนใหญ่รายงานว่ามีการแข่งขันทางการค้าเพิ่มมากขึ้น เศรษฐกิจชะลอตัว ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น
          สำหรับความช่วยเหลือที่ต้องการจากหน่วยงานของรัฐนั้น มีผู้ประกอบการธุรกิจและบริการทั่วประเทศ ร้อยละ 40.1 แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ โดยส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐมีการกำหนดมาตรการควบคุมราคาสินค้าให้เข้มงวดมากขึ้น กำหนดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และต้องการให้รัฐสนับสนุนแหล่งเงินทุน เป็นต้น

          ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ