จากการสอบ5มคนไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นผู้ตอบคำ5มด้วยตนเองเท่านั้น ในเดือนสิงหาคม 2557 ซึ่งใช้ข้อ5มสุขภาพจิต 15 ข้อ แต่ละข้อ มีคะแนนอยู่ระหว่าง 0-3 คะแนน ซึ่งคะแนนเต็มของข้อ5มชุดนี้ คือ 45 คะแนน
ผลการสำรวจในเดือนสิงหาคม 2557 พบว่า จำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตเท่ากับ 31.52 คะแนน หากเปรียบเทียบเดือนกรกฎาคมกับสิงหาคม 2557 พบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น 0.05 คะแนน (จาก 31.47 คะแนน เป็น 31.52 คะแนน)
และเมื่อพิจารณากับผลการสำรวจในครั้งที่ผ่านมา โดยปี 2551 - 2553 คะแนนสุขภาพจิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนปี 2554 มีคะแนนสุขภาพจิต เริ่มลดลง เนื่องจากหลายพื้นที่ในประเทศไทยประสบภาวะน้ำท่วม สำหรับ ปี 2555 คะแนนสุขภาพจิตเริ่มขยับเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มลดลงอีกครั้งในปี 2556 - 2557 จากภาวะปัญหาทางการเมืองภายในประเทศและเศรษฐกิจ ที่ลดลงตามไปด้วย และในปี 2557 ได้ดำเนินการสำรวจเพื่อติดตาม5งสุขภาพจิตของคนทยเป็นรายเดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือน ก.พ. เป็นต้นมา พบว่า สุขภาพจิตคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
และเมื่อพิจารณาตามเพศ เขตการปกครอง และภาคในเดือนสิงหาคม 2557 พบว่า เพศชายมีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตสูงกว่าเพศหญิง (ชาย 31.93 หญิง 31.20) และผู้ที่อยู่นอกเขตเทศบาลมีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตสูงกว่าผู้อยู่ในเขตเทศบาล (ในเขตเทศบาล 31.45 นอกเขตเทศบาล 31.57) หากพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคเหนือมีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตสูงที่สุด 31.83 รองลงมาเป็นภาคใต้ 31.79 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 31.72 กรุงเทพมหานคร 31.44 และคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตต่ำสุดเป็นภาคกลาง 30.97 ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบเดือนกรกฎาคมกับสิงหาคม 2557 พบวา คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น โดยเพศชายเพิ่มขึ้น 0.08 คะแนน เพศหญิงเพิ่มขึ้นเล็กนอย 0.01 คะแนน ส่วนผูที่อาศัยอยูนอกเขตเทศบาลเพิ่มขึ้น 0.13 คะแนน ขณะที่ผู้อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลลดลง 0.06 คะแนน
สุขภาพจิตของผูทำงานในเดือนสิงหาคม 2557 พบวาอาชีพที่มีคะแนนสุขภาพจิตสูงที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ กลุ่มอาชีพผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ (ผู้ประกอบวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ด้านสุขภาพ ด้านการสอน ด้านธุรกิจและการบริหาร ด้าน ICT ด้านกฎหมาย สังคม และวัฒนธรรม) มีคะแนนเฉลี่ย 33.34 รองลงมาเป็นกลุ่มอาชีพผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการอาวุโส 33.32 และกลุ่มอาชีพผูประกอบวิชาชีพช่างเทคนิค สาขาตางๆ 32.39 ส่วนกลุ่มอาชีพขั้นพื้นฐานใน้ด้านต่างๆ ในด้านการขาย มีคะแนนสุขภาพจิตต่ำสุด 30.27 และเมื่อพิจารณาผู้ทำงานที่เป็นลูกจ้างตามระดับของเงินเดือนที่ได้รับในแต่ละเดือนพบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตของลูกจ้างที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 - 40,000 บาทขึ้นไป ได้คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตสูงสุด 33.81 รองลงมาเป็นผู้ที่มีรายได้มากกว่า 40,000 บาท มีคะแนนเฉลี่ย 33.79 ผู้ที่มีรายได้ 20,001 ? 30,000 บาท มีคะแนนเฉลี่ย 33.54 ผู้ที่มีรายได้ 10,001 ? 20,000 บาท มีคะแนนเฉลี่ย 31.81 และผู้ที่มีรายได้ต่ำกวา 10,001 บาท มีคะแนนเฉลี่ย 30.86 จะเห็นได้ว่า ลูกจ้างที่มีรายได้ดีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ