บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย พ.ศ. 2557

ข่าวผลสำรวจ Tuesday May 12, 2015 17:53 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

ความเป็นมา

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ได้ดำเนินการสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรมและสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย พ.ศ. 2557 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557 จากจำนวนครัวเรือนตัวอย่างประมาณ 27,000 ครัวเรือน เพื่อให้ทราบถึงสภาพของสังคมไทย เกี่ยวกับพฤติกรรม ค่านิยม วัฒนธรรมและความสัมพันธ์กับสมาชิกในครัวเรือนของคนไทยในปัจจุบัน สำหรับนำข้อมูลไปใช้กำหนดนโยบายและวางแผน ในการส่งเสริม อนุรักษ์วัฒนธรรมพร้อมทั้งติดตาม ประเมินสถานการณ์ และทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในอนาคต และการแก้ปัญหาสังคม

การนับถือศาสนา

ประชากรของประเทศไทย เกินกว่าร้อยละ 90.0 แป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 94.6) รองลงมานับถือศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 4.2) และศาสนาคริสต์ (ร้อยละ 1.1) ที่เหลือที่เหลือเป็นผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ๆ รวมทั้งผู้ที่ไม่มีศาสนา (ร้อยละ 0.1)

เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่าประชากรในทุกภาค ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธมากกว่าร้อยละ 75.0 ส่วนภาคใต้ มีผู้นับถือศาสนาอิสลามสูงกว่าภาคอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด (ร้อยละ 24.5)

เมื่อเปรียบเทียบการประกอบกิจทางศาสนา ระหว่างปี 2554 และ ปี 2557 พบว่า ในปี 2557 พุทธศาสนิกชน ตตักบาตรและรักษาศีล 5 มีสัดส่วนใกล้เคียงกับปี 2554 สำหรับการสวดมนต์และทำสมาธิ เพิ่มขึ้นจากปี 2554 โดยเฉพาะสวดมนต์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 80.6 ในปี 2554 แป็นร้อยละ 87.8 ในปี 2557 สำหรับมุสลิมการทำละหมาดลดลงเล็กน้อย ส่วนการไปทำพิธีฮัจย์ที่นครเมกกะ มีสัดส่วนลดลงจาก ร้อยละ 8.3 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 5.9 9 ในปี 2557 ในขณะที่คริสต์ศาสนิกชน ไปโบสถ์ ลดลงจาก ร้อยละ 93.8 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 90.9 ในปี 2557 ส่วนการสวดมนต์ มีเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย

การประกอบกิจทางศาสนา

1. ศาสนาพุทธ

ในการประกอบกิจทางศาสนาของประชากร พบว่า ในรอบปีที่แล้ว พุทธศาสนิกชนสส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.9 87.8 80.5 50.8 และ 45.3 มีการตตักบาตร สวดมนต์ ฟังเทศน์/ฟังธรรม/ดูรายการธรรมะ/อ่านหนังสือธรรมะ รักษาศีล 5 (ครบทุกข้อ) และทำสมาธิ และเมื่อพิจารณาความถี่ของการปฏิบัติดังกล่าว พบว่า การตักบาตร ส่วนใหญ่พุทธศาสนิกชนจะนิยมทำในวันพระ/ ช่วงเข้าพรรษา/วันสำคัญทางพุทธศศาสนา (ร้อยละ 36.4) และมีร้อยละ 20.4 ที่มีการตักบาตรสม่ำเสมอทุกวันหรือทุกสัปดาห์ สำหรับการสวดมนต์ พบว่ามีผู้สวดมนต์สม่ำเสมอทุกวันหรือทุกสัปดาห์ร้อยละ 26.5 และสวดมนต์ในวันพระ/ช่วงเข้าพรรษา/วันสำคัญทางพุทธศาสนาร้อยละ 25.6 ส่วนการฟังเทศน์/ฟังธรรม/อ่านหนังสือธรรมะจะนิยมทำในวันพระ/ช่วงเข้าพรรษา/วันสำคัญทางพุทธศาสนา ร้อยละ 33.7

2. ศาสนาอิสลาม

มุสลิมมากกว่าร้อยละ 96 ทำละหมาดและถือศีลอด โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ทำละหมาดทุกวันครบ 5 ครั้ง ร้อยละ 51.6 และทำทุกวันแต่ไม่ครบ 5 ครั้ง ร้อยละ 26.4 สำหรับการถือศีลอดพบว่า ถือศีลอดครบทั้งเดือน ร้อยละ 57.4 ส่วนผู้ที่บริจาคซะกาตมีร้อยละ 35.1 และพบว่า มุสลิมที่เคยไปทำพิธีฮัจย์ที่นครเมกกะ มีเพียงร้อยละ 5.9

3. ศาสนาคริสต์

คริสต์ศาสนิกชนมากกว่าร้อยละ 91 ที่ไปโบสถ์และสวดมนต์ ซึ่งในจำนวนนี้ พบว่า ไปโบสถ์ทุกสัปดาห์และสวดมนต์เป็นประจำ (ร้อยละ 55.1 และ 57.5 ตามลำดับ)

การยอมรับพฤติกรรมทางสังคม

1. พฤติกรรมทั่วไป

คนไทยที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป รู้สึกรับไม่ได้กับพฤติกรรมการพูดภาษาไทยคำฝรั่งคำ โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากร้อยละ 35.4 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 35.9 ในปี 2557 ในทำนองเดียวกันพฤติกรรมการใส่เสื้อสายเดี่ยว เกาะอก นุ่งกางเกงเอวต่ำ/ขาสั้นมาก และแสดงพฤติกรรมไม่สุภาพในที่สาธารณะ เช่น ส่งเสียงดัง ใช้วาจาไม่สุภาพ มีผู้ที่รับไม่ได้เพิ่มขึ้นสูงอย่างเห็นได้ชัดเจน จากร้อยละ 56.0 และ 76.1 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 61.3 และ 80.5 ในปี 2557 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยอายุ 13 ปีขึ้นไป ยังรับไม่ได้กับพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้

2. พฤติกรรมการแสดงออกทางเพศ

พฤติกรรมการแสดงออกทางเพศอย่างเปิดเผย มีผู้รับไม่ได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 81.8 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 83.0 ในปี 2557

ส่วนพฤติกรรมการทำตัวผิดเพศ ไม่ว่าจะเป็นหญิงทำตัวเป็นชาย หรือชายทำตัวเป็นหญิง มีผู้ที่รับไม่ได้เลยลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ จากร้อยละ 23.1 เท่ากันในปี 2554 เป็นร้อยละ 17.5 เท่ากันในปี 2557

3. พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์

สังคมไทยในปัจจุบัน ยังไม่ยอมรับกับการที่หญิง/ชาย มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือก่อนแต่งงาน หรืออยู่ด้วยกันโดยไม่แต่งงาน รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศ จากการสำรวจพบว่า คนไทยอายุ 13 ปีขึ้นไป ที่รับไม่ได้กับการที่หญิง/ชาย มีเพศสัมพันธ์ก่อนอายุ 15 ปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 79.2 ใในปี 2554 เป็นร้อยละ 82.6 ในปี 2557 โดยในจำนวนนี้มีผู้รับไม่ได้เลยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนที่รับไม่ได้กับการที่หญิง/ชายรักร่วมเพศ มีผู้ที่รับไม่ได้เลยลดลงจากร้อยละ 38.4 และ 39.2 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 30.6 6 และ 31.6 ในปี 2557 ตามลำดับ สำหรับหญิง/ชายมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานมีผู้ที่รับไม่ได้เลยลดลงจากร้อยละ 23.3 และ 20.1 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 19.9 และ 17.5 ในปี 2557 ในขณะที่หญิง/ชายอยู่ด้วยกันโดยไม่แต่งงาน มีผู้ที่รับไม่ได้เลยลดลงจากร้อยละ 18.2 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 15.4 ในปี 2557 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยอายุ 13 ปีขึ้นไป ยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าวข้างต้นเพิ่มมากขึ้น

การมีคุณธรรม - จริยธรรม

เมื่อเปรียบเทียบกิจกรรมที่คนส่วนใหญ่จะทำหรือทำทุกครั้งที่มีโอกาส พบว่าในปี 2557 คนไทยมีคุณธรรม - จริยธรรมในเรื่องของการตอบแทนผู้มีพระคุณหรือช่วยเหลือเรา ยกโทษและให้อภัยอย่างจริงใจให้ความช่วยเหลือคนที่ต้องการความช่วยเหลือแม้ไม่ใช่ญาติ ยอมรับผิดและขอโทษในความผิดที่ทำหรือมีส่วนรับผิดชอบ ให้โอกาสผู้อื่นก่อนตัวคุณเอง เก็บออมเงิน เพิ่มจากปี 2554 สำหรับพฤติกรรมที่แสดงถึงการขาดความเคารพสิทธิ์ของผู้อื่นและการขาดวินัย เช่น การแซงคิว และการทิ้งขยะในที่สาธารณะของคนไทย (ทำทุกครั้งที่มีโอกาสและส่วนใหญ่ทำทุกครั้งที่มีโอกาสและส่วนใหญ่ทำ) เพิ่มขึ้นจากปี 2554 เล็กน้อยและพบว่าคนไทย (ไม่ทำและไม่มีโอกาสทำ) ในเรื่องของการแซงคิวและการทิ้งขยะในที่สาธารณะเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 69.2 และ 56.1 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 78.2 และ 59.5 ในปี 2557 ตามลำดับ

สำหรับเรื่องการออม พบว่าคนไทยมีการออมเป็นประจำ (ออมทุกครั้งที่มีโอกาสและออมส่วนใหญ่) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 38.3 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 47.1 ในปี 2557 และมีการใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย เช่น การซื้อของใช้และเสื้อผ้าที่มียี่ห้อดัง และรับประทานอาหารแพง) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.4 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 4.8 ในปี 25 2557 สำหรับการกตัญญูกตเวทีทดแทนคุณพ่อแม่ พบว่า คนไทยส่วนใหญ่ (ทำทุกครั้งที่มีโอกาสและส่วนใหญ่ทำ) ร้อยละ 85.9 ส่วนการยืนตรงเคารพธงชาติทุกครั้งเมื่อได้ยินเสียงเพลงชาติในที่สาธารณะ พบว่ามีร้อยละ 82.5 และ (ทำทุกครั้งที่มีโอกาสและส่วนใหญ่ทำ) ร้อยละ 56.5 สำหรับการนำแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน มีร้อยละ 57.0 (ทำทุกครั้งที่มีโอกาสและส่วนใหญ่ทำ) ในทำนองเดียวกันกับการข้ามถนนโดยใช้สะพานลอยหรือข้ามทางม้าลาย มีร้อยละ 43.2

การตระหนักและเห็นคุณค่าผู้สูงอายุ

ผลการสำรวจพบว่า มากกว่าร้อยละ 95 ของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป เห็นว่าผู้สูงอายุเป็นผู้มีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลังและเป็นผู้ถ่ายทอดวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี สูงเท่ากัน (ร้อยละ95.7) รองลงมาคือ ผู้สูงอายุเป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนรุ่นลูกหลาน สามารถทำประโยชน์ให้แก่ครอบครัวและสังคมได้ และรู้จักโลกดีเพราะผ่านชีวิตมามาก (ร้อยละ 94.3 93.7 และ 93.6 ตามลำดับ) และพบว่า มากกว่าร้อยละ 70 ไม่เห็นด้วย ที่ผู้สูงอายุควรไปอยู่ที่อื่น เช่น บ้านพักคนชรา (ร้อยละ 94.1) ผู้สูงอายุ (60 - 79 ปี และ 80 ปีขึ้นไป) มักเป็นภาระแก่บุตรหลานหรือครอบครัว และมักเป็นคนน่าเบื่อ (ร้อยละ 88.0 81.4 และ 74.5 ตามลำดับ) โดยผู้อยู่นอกเขตเทศบาล เห็นว่าผู้สูงอายุมีคุณค่าทางสังคมดังที่กล่าวมา สูงกว่าผู้อยู่ในเขตเทศบาล เมื่อพิจารณาตามภาค พบว่า มากกว่าร้อยละ 90 ของคนไทยทุกภาค เห็นด้วยว่าผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีคุณค่าทางสังคมเหมือนภาพรวม

ในขณะที่ประชากรของกรุงเทพมหานคร มากกว่าร้อยละ 80.0 ไม่เห็นด้วยที่ ผู้สูงอายุ (60 - 79 ปี และ 80 ปีขึ้นไป) เป็นภาระแก่บุตรหลานหรือครอบครัว (ร้อยละ 89.2 และ 85.7 ตามลำดับ) และมากกว่าร้อยละ 50 ไม่เห็นด้วยที่ผู้สูงอายุมักเป็นคนตามโลกไม่ทัน สูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 54.7) ประชากรภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่เห็นด้วยที่ผู้สูงอายุเป็นคนเอาใจยาก สูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 55 และ 54.6 ตามลำดับ) ประมาณร้อยละ 70 ของทุกภาคไม่เห็นด้วยที่ผู้สูงอายุเป็นคนน่าเบื่อ เป็นที่น่าสังเกตว่ามากกว่าร้อยละ 90 ของทุกภาคไม่เห็นด้วยที่ให้ผู้สูงอายุควรไปอยู่ที่อื่น เช่น บ้านพักคนชรา ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คนในสังคมมองผู้สูงอายุเป็นผู้มีคุณค่าทางสังคมและเป็นที่ยึดเหนี่ยวของบุตรหลานและครอบครัว

ค่านิยมของวัยรุ่นไทย

ปัจจุบันมีวัยรุ่นไทย (13 - 24 ปี) ที่ช่วยทำงานบ้านเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 94.5 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 95.3 ในปี 2557 โดยทำเป็นประจำเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.8 สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย และเล่นดนตรี/ร้องเพลง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 76.1 และ 50.8 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 82.6 และ 55.7 ในปี 2557 ตามลำดับ) สำหรับการอ่านหนังสือลดลงจากปี 2554 เล็กน้อย ส่วนการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม/เสริมสร้างความรู้ลดลงจากร้อยละ 69.2 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 61.2 ในปี 2557 อาจเป็นเพราะวัยรุ่นหันมาสนใจสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต เช่น ทวิสเตอร์ ไลน์ เพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 49.9 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 81.3 ในปี 2557 โดยเล่นเป็นประจำเพื่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า จากร้อยละ 15.2 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 42.3 ในปี 2557 และเล่นเกมส์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 53.3 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 75.0 ในปี 2557 เกือบร้อยละ 50 ที่วัยรุ่นเข้าไปใช้บริการในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยเข้าไปใช้เป็นประจำมีเพียงร้อยละ 3.5 เท่านั้น

สำหรับพฤติกรรมที่น่าเป็นห่วงของวัยรุ่น ปี 2557 นั้น พบว่า วัยรุ่นที่นอนดึกตื่นสาย เที่ยวเตร่เป็นประจำ เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ประมาณร้อยละ 2.3 ส่วนการเล่นการพนัน ตู้สลอต หวย บอล เท่ากับปี 2554 ส่วนเที่ยวกลางคืน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.0 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 2.0 ในปี 2557

สุขภาพจิตคนไทย

จากการสำรวจโดยให้ผู้ตอบอายุ 15 ปีขึ้นไป สำรวจตัวเองและประเมินเหตุการณ์ อาการ ความคิดเห็นและความรู้สึกของตนเองในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีคะแนนสุขภาพจิตของคนทั่วไป (27.01 - 34 คะแนน) และเมื่อจำแนกตามระดับสุขภาพจิต พบว่าเกินกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 53.2) เป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป ร้อยละ 35.9 มีสุขภาพจิตสูงกว่าคนทั่วไป ที่เหลือร้อยละ 10.9 มีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป

เพศ

ชายและหญิงมีสุขภาพจิตใกล้เคียงกัน โดยชายสูงกว่าหญิงเล็กน้อย (33.55 และ 32.94 คะแนน ตามลำดับ) และหญิงมีสัดส่วนของผู้ที่มีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไปมากกว่าชาย (ร้อยละ 11.9 และ 9.8 ตามลำดับ)

กลุ่มอายุ

กลุ่มอายุ 40 - 59 ปี เป็นกลุ่มที่มีสุขภาพจิตดีที่สุด (33.48 คะแนน) ในขณะที่กลุ่มอายุ 25 - 39 ปี มีสุขภาพจิตโดยเฉลี่ยต่ำสุด (32.98 คะแนน) แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของสุขภาพจิตคนทั่วไป

ระดับการศึกษา

สุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันกับระดับการศึกษา นั่นคือ ผู้ที่มีการศึกษาสูงจะมีสุขภาพจิตดีกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่า คือผู้ที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษามีสุขภาพจิตดีที่สุด (34.25 คะแนน) ส่วนผู้ที่ไม่เคยเรียนมีสุขภาพจิตต่ำสุด (31.86 คะแนน)

อาชีพ

อาชีพผู้จัดการ ข้าราชการระดับอาวุโส มีสุขภาพจิตดีกว่าอาชีพอื่น (35.19 คะแนน) รองลงมาคือ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่าง ๆ ทหารและผู้ประกอบวิชาชีพช่างเทคนิคสาขาต่าง ๆ (34.78 34.69 และ 34.00 คะแนนตามลำดับ) ส่วนอาชีพผู้ประกอบอาชีพขั้นพื้นฐานต่าง ๆ มีสุขภาพจิตต่ำสุด (31.84 คะแนน) เป็นที่น่าสังเกตว่า อาชีพทหารมีสุขภาพจิตสูงกว่าคนทั่วไปสูงที่สุด คือ ร้อยละ 58.6

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ