สำหรับจำนวนผู้มีงาน 37.57 ล้านคน ประกอบด้วยผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรม 11.43 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรม 26.14 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 พบว่า จำนวนผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรมลดลง 8.7 แสนคน แต่นอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 6.8 แสนคน โดยเพิ่มขึ้นในสาขาการก่อสร้าง 1.9 แสนคน สาขากิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ เช่น กิจกรรมบริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย การดูแลสัตว์เลี้ยง การบริการซักรีดและซักแห้ง เป็นต้น 1.8 แสนคน สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์ และรถจักรยานยนต์และสาขาการศึกษาเท่ากันคือ 1.0 แสนคน สาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 7.0 หมื่นคน สาขากิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย 6.0 หมื่นคน สาขาการขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า 4.0 หมื่นคน สาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศและการประกันสังคมภาคบังคับ 1.0 หมื่นคน ส่วนสาขาที่ลดลงมากที่สุดคือสาขากิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 1.0 แสนคน รองลงมาเป็นสาขาการผลิต 5.0 หมื่นคน สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 1.0 หมื่นคน และที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่นๆ
หากพิจารณา5งจำนวนผู้ที่ทำงานแต่ยังทำงานได้ ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นผู้ทำงานแต่ยังมีเวลาและพร้อมที่จะทำงานได้อีก หรือเรียกคนทำงานในกลุ่มนี้ว่า ผู้ทำงานต่ำกว่าระดับ (Underemployment workers) จากผลการสำรวจพบว่า มีผู้ที่ทำงานต่ำกว่าระดับ 2.19 แสนคน หรือร้อยละ 0.6 ของจำนวนผู้ทำงานทั้งหมด ซึ่งกลุ่มนี้แม้ว่าจะมีงานทำแล้วก็ตาม แต่ยังมีเวลาว่างที่มากพอและพร้อมที่จะทำงานเพิ่มขึ้น เพื่อต้องการเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง
เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ทำงานต่ำกว่าระดับ จำแนกตามเพศ พบว่า โดยปกติแล้วเพศชายมากกว่าเพศหญิง สำหรับเดือนพฤษภาคม 2558 เพศหญิงมากกว่าเพศชายโดยเพศหญิงมีจำนวนผู้ทำงานต่ำกว่าระดับ 1.12 แสนคน (ร้อยละ 0.7) และเพศชาย 1.07 แสนคน (ร้อยละ 0.5) ตามลำดับ
สำหรับจำนวนผู้ว่างงานในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 มีทั้งสิ้น 3.55 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.9 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 จำนวนผู้ว่างงานลดลง 7.0 พันคน แต่อัตราการว่างงานเท่าเดิม (จาก 3.62 แสนคน เป็น 3.55 แสนคน) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 จำนวน ผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 3.1 หมื่นคน (จาก 3.24 แสนคน เป็น 3.55 แสนคน) อัตราการว่างงานไม่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงาน ตามเพศใน เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 พบว่า เพศหญิงมีอัตราการว่างงานสูงกว่าเพศชายคือร้อยละ 1.1 และ ร้อยละ 0.8 ตามลำดับ เมื่อพิจารณา5งจำนวนผู้ว่างงาน มีผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 2.11 แสนคน และผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 1.44 แสนคน ซึ่งลดลง 1.6 หมื่นคน จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว (จาก 1.60 แสนคนเป็น 1.44 แสนคน) โดยเป็น ผู้ว่างงานจากภาคการบริการและการค้า 6.3 หมื่นคน ภาคการผลิต 5.1 หมื่นคน และภาคเกษตรกรรม 3.0 หมื่นคน ตามลำดับ
สำหรับการว่างงานตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มวัยเยาวชน หรือผู้มีอายุระหว่าง 15-24 ปี มีอัตราการว่างงานร้อยละ 4.3 ซึ่งปกติในกลุ่มนี้อัตราการว่างงานจะสูง ส่วนกลุ่มวัยผู้ใหญ่ (อายุ 25 ปีขึ้นไป) มีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.5 แต่เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 กลุ่มวัยเยาวชนอัตรา การว่างงานลดลงจากร้อยละ 5.8 เป็นร้อยละ 4.3 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 กลุ่มวัยเยาวชน มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.2 เป็นร้อยละ 4.3 ส่วนในกลุ่มผู้ใหญ่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.4 เป็นร้อยละ 0.5 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
สำหรับระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานใน เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 พบว่า ผู้ว่างงานที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา 1.66 แสนคน (อัตราการว่างงาน ร้อยละ 2.0) รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 8.9 หมื่นคน (ร้อยละ 1.4) ระดับประถมศึกษา 4.5 หมื่นคน (ร้อยละ 0.5) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3.6 หมื่นคน (ร้อยละ 0.6) และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 1.9 หมื่นคน (ร้อยละ 0.2) และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 พบว่า จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นในระดับอุดมศึกษา 2.2 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 2.0 หมื่นคน ส่วนที่ลดลงคือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 4.5 หมื่นคน ผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 3.0 พันคน และ ระดับประถมศึกษา 1.0 พันคน
เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ว่างงาน เป็นรายภาค พบว่า ภาคกลาง มีจำนวนผู้ว่างงานสูงสุด 1.18 แสนคน อัตราการว่างงาน(ร้อยละ 1.0) รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9.2 หมื่นคน (ร้อยละ 0.9) กรุงเทพมหานคร 5.1 หมื่นคน (ร้อยละ1.0) ภาคใต้ 4.8 หมื่นคน (ร้อยละ 0.9) และภาคเหนือ 4.6 หมื่นคน (ร้อยละ 0.7) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ว่างงาน ทั่วประเทศลดลง 7.0 พันคน (จาก 3.62 แสนคน เป็น 3.55 แสนคน) เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคใต้มีจำนวนผู้ว่างงานลดลงมากที่สุด 2.0 หมื่นคน รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.0 หมื่นคน และ ภาคกลาง 8.0 พันคน ในขณะที่กรุงเทพมหานคร และภาคเหนือเพิ่มขึ้น 3.0 หมื่นคน และ 1.0 พันคน ตามลำดับ