สำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกักับการท่องเทีที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ทำการสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2552 และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 7 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทยในรอบปีที่ผ่านมาทั้งในเรื่องการเดินทางท่องเที่ยวลักษณะการเดินทางวัตถุประสงค์ในการเดินทางกิจกรรมที่ทำระหว่างการเดินทางการจัดการเดินทางค่าใช้จ่ายในการเดินทางการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศรวมทั้งความคิดเห็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมกราคม - มีนาคม 2558 จากประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ตกเป็นตัวอย่างทั่วประเทศจำนวน 63,060 ราย
ผลจากการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. การเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัด
1.1 การเดินทาง และลักษณะการเดินทาง ผลการสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเทีที่ยวของประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศเกี่ยวกับการเดินทางจากที่อยู่อาศัยประจำในจังหวัดหนึ่งไไปยังสถานที่อยู่ในอีกจังหวัดหนึ่งเป็นการชั่วคราวโดยมีจุดประสงค์เพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนเยี่ยมครอบครัว/ญญาติมิตรประชุชุมหรือสัมมนาเล่นหรือดูกีฬาประกอบพิธีทางศาสนารวมทั้งการเดินทางเพืพื่อไปรับการรักษาตัวหรือประกอบภารกิจอื่นๆที่ไม่ใช่เพื่อทำงานประจำหรือเพื่อการศึกษาและต้องไม่ใช่การเดินทางที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อซื้อสินค้ามาจำหน่ายซึ่งถือว่าเป็นการเดินทางท่องเที่ยวพบว่าในรอบปีที่ผ่านมา (ในรอบปี 2557) มีร้อยละของประชากรที่เดินทางท่องเที่ยวร้อยละ 64.9 โดยในรอบปี 2553 - 2556 มีผู้เดินทางท่องเที่ยวร้อยละ 50.1 54.8 57.8 และ 64.7
สำหรับกลุ่มผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวในรอบปี 2557 พบว่ามีลักษณะการเดินทางแบบไม่พักค้างคืนซึ่งถือว่าเป็นนักทัศนาจรประมาณร้อยละ 34.7 ส่วนผู้ที่เดินทางมีลักษณะการพักค้างคืนอย่างน้อย 1 คืนร้อยละ 48.6 และผู้ที่เดินทางทั้ง 2 ลักษณะคือทั้งั้งพักและไม่พักค้างคืนร้อยละ 16.7
สำหรับผู้ผู้ที่ไม่ได้เดินทางท่องเที่ยวในรอบปี 2557 ด้ให้หตุผลที่ไม่เดินทาง 5 ลำดับแรกได้แก่ไม่มีเวลาว่างไม่มีทุนทรัพย์พียงพอสำหรับการเดินทางไไม่ชอบเดินทางสภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยดีและมีปัญหาเรื่องสุขภาพ
เมื่อพิจารณาภาคที่ประชากรเดินทางไปท่องเทีที่ยวในรอบปีพบว่าประชากรเดิดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุสดร้อยละ 32.3 รองลงมาเป็นภาคกลางร้อยละ 29.3 และภาคเหนือร้อยละ 23.6
1.2 วัตถุประสงค์หลักในการเดินทางท่องเที่ยว
วัตถุประสงค์หลักในการเดินทางท่องเที่ยว 5 อันดับแรกได้แก่เยี่ยมครอบครัว/ญาติ/เพื่อนร้อยละ 37.4 ท่องเที่ยว/ต้องการพักผ่อนร้อยละ 23.4 ไหว้พระ/ปฏิบัติธรรมร้อยละ 10.6 ซื้อของ/ช้อปปิ้งร้อยละ 8.4 และประชุม/สัมมนาร้อยละ 5.1
1.3 กิจกรรมที่ทำระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว
สำหรับกิจกรรมที่ทำระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว 5 อันดับแรกได้แก่ท่องเที่ยวทั่วไปร้อยละ 61.9 พักผ่อนในที่พักหรือบ้านญาติ/ไม่ทำกิจกรรมร้อยละ 32.4 กิจกรรมเชิงศาสนาร้อยละ 31.1 กิจกรรมเชิงวัฒนธรรมร้อยละ 12.3 กิจกรรมเชิงนันทนาการร้อยละ 5.8
2. การจัดการเดินทาง
2.1 ผู้ตัดสินใจเลือกการเดินทาง ลักษณะการจัดการเดินทาง
ผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวมากกว่าครึ่งหนึ่งจะเดินทางท่องเที่ยวกับครอบครัว/ญาติร้อยละ 63.3 รองลงมาเดินทางกับเพื่อน/เพื่อนร่วมงานร้อยละ 19.2 สำหรับการตัดสินใจเลือกการเดินทางส่วนใหญ่เป็นครอบครัว/ญาติร้อยละ 44.1 รองลงมาตัดสินใจด้วยตนเองร้อยละ 37.5 สำหรับลักษณะการจัดการเดินทางส่วนใหญ่จัดการเดินทางเองทั้งหมดร้อยละ 90.1 รองลงมามีหน่วยงาน/คณะจัดการให้ร้อยละ 8.7 ส่วนวัน/เวลาที่เดินทางท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเดินทางวันเสาร์-อาทิตย์ร้อยละ 37.4 รองลงมาวันธรรมดาร้อยละ 30.6 และวันหยุดเทศกาลร้อยละ 30.5
2.2 พาหนะที่ใช้ในการเดินทาง
ผู้เดินทางท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมเดินทางด้วยพาหนะส่วนตัว/รถยนต์ร้อยละ 65.0 รองลงมาเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง/รถตู้ร้อยละ 18.0 รถเช่าเช่นรถตู้รถยนต์รถบัสร้อยละ 13.6 รถไฟ/เครื่องบินและอื่นๆร้อยละ 3.4
3. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
สำหรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวครั้ง/ทริปต่อคนของผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวพบว่าอยู่ที่ประมาณ 2,600 บาทต่อคนหากเป็นการเดินทางแบบไม่พักค้างคืนอยู่ที่ 1,239 บาทต่อคนแบบพักค้างคืน 3,612 บาทต่อคนหากพิจารณาตามภาคที่อยู่อาศัยพบว่าคนกรุงเทพมหานครใช้เงินในการเดินทางท่องเที่ยวเฉลี่ยต่อคนสูงสุดคือ 3,476 บาทต่อคนรองลงมาภาคตะวันออก 3,053 บาทต่อคนภาคใต้ 2,914 บาทต่อคนภาคกลาง 2,476 บาทต่อคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,217 บาทต่อคนและต่ำสุดคือภาคเหนือ 1,984 บาทต่อคน
4. การเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ
สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปในรอบปี 2557 มีเพียงร้อยละ 3.6 ส่วนจำนวนครั้งที่เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศต่อปีเฉลี่ยเดินทาง 1.8 ครั้งต่อปี
5. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยว
5.1 การวางแผนล่วงหน้า และการจัดสรรเงินสำหรับการเดินทางท่องเที่ยว
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่มีการวางแผนล่วงหน้าก่อนการเดินทางร้อยละ 65.2 ที่มีการวางแผนมีร้อยละ 34.8 ส่วนการจัดสรรวงเงินสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวพบว่าส่วนใหญ่ไม่มีการจัดสรรเงินไว้ร้อยละ 81.6 ที่มีการจัดสรรเงินไว้สำหรับการเดินทางมีเพียงร้อยละ 18.4
5.2 การรับรู้/ทราบแคมเปญ "หลงรักประเทศไทย" ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การรับรู้/ทราบแคมเปญ "หลงรักประเทศไทย" ส่วนใหญ่ไม่เคยรับรู้/ไม่ทราบแคมเปญดังกล่าวร้อยละ 56.2 ส่วนที่เคยรับรู้/ทราบแคมเปญมีร้อยละ 43.8 โดยส่วนใหญ่รับรู้/ทราบจากโทรทัศน์ร้อยละ 96.2 รองลงมาจากเว็บไซต์และป้ายโฆษณาเท่ากันคือร้อยละ 13.3
5.3 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศ
จากการสำรวจพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศมากที่สุดคือความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยวโดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.1 รองลงมาคือความปลอดภัยของแหล่งท่องเที่ยวมีค่าเฉลี่ยที่ 4.0 และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศน้อยที่สุดคือการส่งเสริมการขายโดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.4
5.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากการเดินทางท่องเที่ยว
สำหรับประโยชน์ที่ได้รับจากการท่องเที่ยวจากการสำรวจพบว่าทำให้เกิดความสนิทสนมภายในครอบครัวมากขึ้นโดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.3 รองลงมาคือทำให้เกิดความสนิทสนมภายในหมู่ญาติมากขึ้นและทำให้ชีวิตท่านมีความสุขมากขึ้นโดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.1