สำหรับรายงานฉบับนี้ เป็นการเสนอผลการสำรวจความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประชากร พ.ศ. 2558 ผลการสำรวจทำให้ทราบความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปหลักสูตรที่ต้องการได้รับการพัฒนาฯจำนวนหลักสูตรที่เคยได้รับการอบรมและการพัฒนาฯผลการสำรวจสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ความต้องการพัฒนาขีดความสามารถ
ผลการสำรวจความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประชากร พ.ศ. 2558 พบว่า จำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีประมาณ 55.09 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้ต้องการพัฒนาขีดความสามารถ 4.49 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 8.2 ของประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เพศชาย 2.12 ล้านคน (ร้อยละ 7.9) และเพศหญิง 2.37 ล้านคน (ร้อยละ 8.4)
หากพิจารณาตามเขตการปกครอง พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลต้องการพัฒนาขีดความสามารถ 1.55 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 6.2 ขณะที่นอกเขตเทศบาลต้องการพัฒนาขีดความสามารถ 2.94 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 9.8
เมื่อพิจารณา ผู้ที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถเป็นรายภาค พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถมากที่สุด ร้อยละ 14.8 รองลงมาเป็นภาคเหนือร้อยละ 9.5 ภาคใต้ร้อยละ 8.5 ภาคกลางร้อยละ 3.9 และกรุงเทพมหานครน้อยที่สุดร้อยละ 1.9
สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มอายุ 15-24 ปี หรือกลุ่มเยาวชนมีมากที่สุด ร้อยละ 12.6 กลุ่มอายุ 25-34 ปี ร้อยละ 10.1 กลุ่มอายุ 35-44 ปี ร้อยละ 9.7 กลุ่มอายุ 45-54 ปี ร้อยละ 7.7 กลุ่มอายุ 55-59 ปี ร้อยละ 5.7 และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดร้อยละ 2.1 จะเห็นได้ว่ายิ่งอายุมากขึ้น ร้อยละของผู้ที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถจะลดลง
2. หลักสูตรที่มีผู้สนใจต้องการพัฒนาขีดความสามารถ
จากผลการสำรวจ พบว่า หลักสูตรที่มี ผู้ต้องการพัฒนาขีดความสามารถมากที่สุด 3 ลำดับแรก ประกอบด้วย
ผู้มีงานทำต้องการพัฒนาขีดความสามารถในหมวดช่างอุตสาหกรรมมากที่สุดร้อยละ 29.0 รองลงมาเป็นหมวดคหกรรม ได้แก่ ด้านอาหารและโภชนาการ เสริมสวย ตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น ร้อยละ 27.4 และหมวดเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ร้อยละ 21.8
ผู้ว่างงานต้องการพัฒนาขีดความสามารถในหมวดช่างอุตสาหกรรมมากที่สุดร้อยละ 40.0 รองลงมาเป็นหมวดคหกรรมร้อยละ 25.2 และหมวดคอมพิวเตอร์ร้อยละ 10.7
3. เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงความต้องการพัฒนาขีด
ความสามารถของประชากรในช่วง ปี 2554 - 2558 เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ปี 2554 - 2558 พบว่า ผู้ที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถมีแนวโน้มลดลงเรื่อย (และเพิ่มขึ้นในปี 2558 ๆ จนถึงปี 2557 จาก 4.00 ล้านคน ในปี 2557 เป็น 4.49 ในปี 2558)