บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
จากการสอบ5มคนไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และตอบคำถามด้วยตนเองเท่านั้น ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 โดยใช้ข้อถามสุขภาพจิต 15 ข้อ แต่ละข้อ มีคะแนนอยู่ระหว่าง 0-3 คะแนน ซึ่งคะแนนเต็มของข้อถามชุดนี้ คือ 45 คะแนน สถานการณ์สุขภาพจิตของคนไทย
ผลการสำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตเท่ากับ 33.10 คะแนน (สุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป) ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2557 จากสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่มีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนไทยมีคะแนนสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบผลการสำรวจครั้งที่ผ่านมาเดือนพฤศจิกายน 2557 กับกุมภาพันธ์ 2558 พบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น โดยเพศหญิงเพิ่มขึ้น 1.74 คะแนน (จาก 31.14 คะแนน เป็น 32.88 คะแนน) เพศชายเพิ่มขึ้น 1.65 คะแนน (จาก 31.74 คะแนน เป็น 33.39 คะแนน) หากพิจารณาเป็นรายภาค เห็นได้ว่า คนกรุงเทพมหานครมีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด 2.07 คะแนน (จาก 30.94 คะแนน เป็น 33.01 คะแนน) รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.93 คะแนน (จาก 31.63 คะแนน เป็น 33.56 คะแนน) ภาคใต้ 1.92 คะแนน (จาก 31.67 คะแนน เป็น 33.59 คะแนน) ภาคเหนือ 1.58 คะแนน (จาก 31.69 คะแนน เป็น 33.27 คะแนน) และภาคกลาง 1.33 คะแนน (จาก 31.00 คะแนน เป็น 32.33 คะแนน)
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 พบว่าอาชีพที่มีคะแนนสุขภาพจิตสูงที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ อาชีพผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการอาวุโส 34.81 คะแนนรองลงมาเป็นผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ด้านสุขภาพ ด้านการสอน ด้านธุรกิจและการบริหาร ด้าน ICT ด้านกฎหมาย สังคมและวัฒนธรรม มีคะแนนเฉลี่ย 34.39 คะแนน และผู้ประกอบวิชาชีพช่างเทคนิคสาขาต่างๆ 33.89 คะแนน
อาชีพที่มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อาชีพ ขั้นพื้นฐานต่างๆ ในด้านการขาย 32.28 คะแนน รองลงมาเป็นอาชีพ ผู้ปฏิบัติการโรงงานและเครื่องจักร 32.46 คะแนน และอาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือ 33.07 คะแนน
รายได้นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิต จะเห็นได้จากการพิจารณาคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตผู้มีงานทำที่เป็นลูกจ้าง พบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตผู้มีงานทำที่มีรายได้เฉลี่ย 30,001 บาทขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ย 35.85 คะแนน รองลงมาเป็นผู้ที่มีรายได้เฉลี่ย 20,001 - 30,000 บาท มีคะแนนเฉลี่ย 34.41 คะแนน ผู้ที่มีรายได้เฉลี่ย 10,001 - 20,000 บาท มีคะแนนเฉลี่ย 33.10 คะแนน และผู้ที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 10,001 บาท มีคะแนนเฉลี่ย 32.34 คะแนน
และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตเดือนพฤศจิกายน 2557 กับกุมภาพันธ์ 2558 พบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น โดยผู้ที่มีรายได้เฉลี่ย 30,001 บาทขึ้นไป เพิ่มขึ้น 2.22 คะแนน รองลงมาเป็นผู้ที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 10,001 บาทเพิ่มขึ้น 1.69 คะแนน ผู้ที่มีรายได้เฉลี่ย 20,001 - 30,000 บาทเพิ่มขึ้น 1.61 คะแนน และผู้ที่มีรายได้เฉลี่ย 10,001 - 20,000 บาทเพิ่มขึ้น 1.59 คะแนน