บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ผลการสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย เดือนสิงหาคม 2558 เป็นการสอบ5มคนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไปทุกคนที่เป็นผู้ตอบคำ5มด้วยตนเองเท่านั้น โดยใช้ครัวเรือนตัวอย่างเดียวกันกับโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร และเก็บรวบรวมข้อมูลพร้อมกัน ข้อ5มเหมือนกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2557 โดยใช้ข้อ5มสุขภาพจิต 15 ข้อ แต่ละข้อมีคะแนนอยู่ระหว่าง 0-3 คะแนน ซึ่งคะแนนเต็มของข้อ5มชุดนี้คือ 45 คะแนน
ผลการสำรวจเดือนสิงหาคม 2558 พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีคะแนนสุขภาพจิตเฉลี่ย 31.51 (ชาย 31.84 และหญิง 31.26) เมื่อพิจารณาตามเพศ เพศชายมีคะแนนสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป (27.01 - 34.00 คะแนน) ร้อยละ 65.7 สูงกว่าคนทั่วไป (34.01 - 45.00 คะแนน) ร้อยละ 20.3 และต่ำกว่าคนทั่วไป (00.00 - 27.00 คะแนน) ร้อยละ 14.0 ส่วนเพศหญิงมีคะแนนสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไปร้อยละ 65.4 สูงกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 17.7 และต่ำกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 16.9 และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบสุขภาพจิตระหว่างชายกับหญิงจะเห็นได้ว่า คะแนนสุขภาพจิตของเพศชายสูงกว่าคนทั่วไปซึ่งมีมากกว่าเพศหญิงผลการสำรวจเดือนสิงหาคม 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงอื่นๆ พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตเท่ากับ 31.51 คะแนน เพิ่มขึ้น 0.13 คะแนน เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งหลายพื้นที่ของประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง และในเดือนสิงหาคม 2558 เริ่มมีฝนตกลงมา ทำให้เกษตรกรพอมีน้ำใช้เพื่อเพาะปลูกพืชประกอบกับรัฐบาลได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ในภาวะฝนทิ้งช่วง เช่น การขุดบ่อบาดาล สนับสนุนให้ปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยและพักชำระหนี้เกษตรกร เป็นต้น ทำให้สุขภาพจิตของคนไทยในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 0.30 คะแนน (จาก 31.48 คะแนน เป็น 31.78 คะแนน)เมื่อพิจารณาคะแนนสุขภาพจิตของคนไทยในแต่ละภาค พบว่า ภาคใต้มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตมากที่สุด 31.82 คะแนน รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 31.81 คะแนน ภาคเหนือ 31.62 คะแนน กรุงเทพมหานคร 31.33 คะแนน และภาคกลาง 31.01 คะแนน ตามลำดับ พิจารณาสุขภาพจิตตามโครงสร้างกำลังแรงงานเดือนสิงหาคม 2558 พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิต 31.51 คะแนน ผู้อยู่ในกำลังแรงงานมีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิต 31.68 คะแนน ได้แก่ ผู้มีงานทำ 31.70 คะแนน ผู้ว่างงาน 29.24 คะแนน และผู้รอฤดูกาล 31.45 คะแนน ส่วนผู้อยู่นอกกำลังแรงงานมีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิต 31.09 คะแนน ได้แก่ ทำงานบ้าน 31.08 คะแนน เรียนหนังสือ 32.08 คะแนน และอื่นๆ เช่น ชรา ป่วย หรือพิการ จนไม่สามาร5ทำงานได้ เป็นต้น 30.77 คะแนนสุขภาพจิตของผู้มีงานทา อาชีพที่มีคะแนนสุขภาพจิตสูงที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ด้านสุขภาพ ด้านการสอน ด้านธุรกิจและการบริหาร ด้าน ICT ด้านกฎหมาย สังคมและวัฒนธรรมมีคะแนนเฉลี่ย 33.33 คะแนน รองลงมาเป็นอาชีพผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการอาวุโสมีคะแนนเฉลี่ย 33.01 คะแนน และผู้ประกอบวิชาชีพช่างเทคนิคสาขาต่างๆมีคะแนนเฉลี่ย 32.06 คะแนน
อาชีพที่มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆ ในด้านการขาย มีคะแนนเฉลี่ย 30.60 คะแนน รองลงมาเป็นอาชีพผู้ปฏิบัติการโรงงานและเครื่องจักร มีคะแนนเฉลี่ย 30.87 คะแนน และอาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านความสามาร5ทางฝีมือ มีคะแนนเฉลี่ย 31.35 คะแนน
รายได้นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตในเดือนสิงหาคม 2558 พบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตผู้มีงานทำที่เป็นลูกจ้างที่มีรายได้เฉลี่ย 40,001 บาทขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด 34.38 คะแนน รองลงมาเป็นผู้ที่มีรายได้เฉลี่ย 30,001 - 40,000 บาท มีคะแนนเฉลี่ย 33.30 คะแนน ผู้ที่มีรายได้เฉลี่ย 20,001 - 30,000 บาท มีคะแนนเฉลี่ย 33.15 คะแนน ผู้ที่มีรายได้เฉลี่ย 10,001 - 20,000 บาท มีคะแนนเฉลี่ย 31.58 คะแนน และผู้ที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 10,001 บาท มีคะแนนเฉลี่ย 30.78 คะแนน จะเห็นได้ว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตผู้มีรายได้ยิ่งสูง สุขภาพจิตก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย สุขภาพจิตของผู้ว่างงาน เมื่อพิจารณาสุขภาพจิตของผู้ว่างงานในแต่ละภาค พบว่า ผู้ว่างงาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตมากที่สุด 31.16 คะแนนรองลงมาเป็นภาคเหนือ 30.72 คะแนน ภาคกลาง 28.25 คะแนนกรุงเทพมหานคร 27.89 คะแนน และภาคใต้ 27.73 คะแนน