บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558

ข่าวผลสำรวจ Wednesday October 14, 2015 16:00 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ดำเนินการสำรวจ ข้อมูลด้านอนามัยและสวัสดิการครั้งแรกในปี 2517 และครั้งนี้เป็นการสำรวจครั้งที่ 19 โดยเก็บข้อมูลจากครัวเรือนตัวอย่างประมาณ 55,920 ครัวเรือนในทุกจังหวัดทั่วประเทศทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลในเดือนมีนาคม

-เมษายน พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหลักประกันด้านสุขภาพ การเจ็บป่วย การไปรับบริการสาธารณสุข และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งสรุปผล การสำรวจได้ดังนี้

1. สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล

จากผลการสำรวจ พบว่า ประชากรได้รับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องคือ จากร้อยละ 96.0 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 98.5 ในปี 2558

โดยในปี 2558 ประเภทสวัสดิการค่า( คือ บัตรประกันสุขภาพ รักษาพยาบาลที่ได้รับสูงสุด

บัตรทอง) ร้อยละ 75.3 รองลงมา คือ บัตรประกันสังคม/กองทุนเงินทดแทน และสวัสดิการข้าราชการ/ข้าราชการบำนาญ ร้อยละ 16.4 และ ร้อยละ 7.5 ตามลำดับ สำหรับการประกันสุขภาพกับบริษัทประกันซึ่งเป็นสวัสดิการที่ไม่ใช่จากภาครัฐ พบว่ามีถึงร้อยละ 6.7

2. สถานการณ์ด้านสุขภาพ

2.1 การเจ็บป่วย

ในปี 2558 พบว่ามีผู้ป่วยที่ไม่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาลระหว่าง 1 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ทั้งสิ้น 19.4 ล้านคน (ร้อยละ 28.8) เป็นผู้ชาย 8.5 ล้านคน และผู้หญิง 10.9 ล้านคน โดยเป็นผู้ที่มีอาการป่วย/ รู้สึกไม่สบาย 11.4 ล้านคน (ร้อยละ 16.9) เป็นผู้ที่มีโรคเรื้อรัง/โรคประจำตัว 11.7 ล้านคน (ร้อยละ 17.5) และเป็นผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ/ถูกทำร้าย 1.5 ล้านคน (ร้อยละ 2.2)โดยผู้หญิงมีสัดส่วนของอาการป่วย/รู้สึกไม่สบายและมีโรคเรื้อรัง/โรคประจำตัวสูงกว่าผู้ชายอย่างเห็นได้ชัดในขณะที่ผู้ชายมีสัดส่วนของการเกิดอุบัติเหตุ/ถูกทำร้ายสูงกว่าผู้หญิง

ในขณะที่มีผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาลระหว่าง 12 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์จำนวน 3.2 ล้านคน (ร้อยละ 4.7) ซึ่งในจำนวนนี้พบว่าผู้หญิงมีการป่วยที่สูงกว่าผู้ชาย

เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุ พบว่ากลุ่มอายุ 0-14 ปี มีอัตราการเจ็บป่วยที่ไม่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาลในระหว่าง 1 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ร้อยละ 20.9 ส่วนกลุ่มอายุ 15-24 ปี มีอัตราการเจ็บป่วยต่ำสุด (ร้อยละ 15.5) และอัตราการเจ็บป่วยจะเพิ่มสูงขึ้นตามกลุ่มอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีอัตราการเจ็บป่วยสูงสุด (ร้อยละ 63.6)

ส่วนอัตราการเจ็บป่วยที่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาลในระหว่าง 12 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์พบว่ากลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอัตราการเจ็บป่วยที่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาลมากที่สุด (ร้อยละ 6.9) และในกลุ่มอายุ 0-14 ปี มีอัตราการเจ็บป่วยที่ต้องนอนพักรักษาฯต่ำสุด(ร้อยละ 3.5)

เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจที่ผ่านมา พบว่าผู้ป่วยที่ไม่ต้องนอนพักรักษาฯในระหว่าง 1 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 28.2 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 29.3 ในปี 2554 และลดลงเล็กน้อยเป็นร้อยละ 28.8 ในปี 2558 และเมื่อพิจารณาตามลักษณะของการเจ็บป่วย พบว่าผู้ที่ป่วยเพราะมีอาการป่วย/รู้สึกไม่สบาย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 16.3 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 21.0 ในปี 2556 แล้วลดลงเป็นร้อยละ 16.9 ในปี 2558

สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง/โรคประจำตัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15.6 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 17.5 ในปี 2558 ตามลำดับ แต่ผู้ที่เจ็บป่วยเพราะได้รับอุบัติเหตุ/ถูกทำร้ายมีแนวโน้มลดลงจากปี 2549 (ร้อยละ 4.9) และแนวโน้มเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตั้งแต่ปี 2552 - 2558 คืออยู่ระหว่างร้อยละ 2.2 - 2.5

ส่วนผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาฯ ในระหว่าง 12 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ มีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ 6.4 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 4.7 ในปี 2558

ทันตกรรม ในระหว่าง 12 เดือนก่อนวัน

2.2 การรับบริการส่งเสริมสุขภาพและบริการ

สัมภาษณ์ ในระหว่าง 12 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์มีผู้ที่ ไปรับบริการส่งเสริมสุขภาพเช่น การไปรับวัคซีน การตรวจสุขภาพประจำปี การฝาก/ตรวจครรภ์ เป็นต้น จำนวน 8.2 ล้านคน (ร้อยละ 12.3) สำหรับผู้ไปรับบริการทันตกรรม เช่น การขูดหินปูน การตรวจรักษาสุขภาพในช่องปาก การอุดฟัน เป็นต้น พบว่ามีผู้ไปรับบริการฯ 5.4 ล้านคน (ร้อยละ 8.1) ซึ่งมีข้อสังเกตว่าทั้ง 2 กรณี สัดส่วนของหญิงจะมากกว่าชาย

เมื่อจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่าในระหว่าง 12 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ กลุ่มอายุ 0-14 ปี มีอัตราการรับบริการส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 14.2 ส่วนกลุ่มอายุอื่นๆ จะมีอัตราการรับบริการส่งเสริมสุขภาพที่ แปรผันมากขึ้นตามกลุ่มอายุที่เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอัตราการรับบริการส่งเสริมสุขภาพสูงสุด (ร้อยละ 16.4)

สำหรับอัตราการรับบริการทันตกรรมในระหว่าง 12 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์

พบว่าผู้ที่มีอายุ 0-14 ปี ไปรับบริการทันตกรรมสูงสุด (ร้อยละ 9.8) ส่วนกลุ่มอายุอื่นๆ จะมีอัตราการรับบริการทันตกรรมที่แปรผันลดลงตามกลุ่มอายุที่เพิ่มขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจที่ผ่านมา พบว่าในระหว่าง 12 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์แนวโน้มของผู้รับบริการทันตกรรมในช่วงปี 2549 - 2556 พบว่ามีสัดส่วนเพิ่มขึ้น คือจากร้อยละ 7.4 ในปี 2549 เป็น ร้อยละ 9.5 ในปี 2556 แต่ในปี 2558 กลับมีแนวโน้มลดลงค่อนข้างมาก กล่าวคือ มีผู้รับรับบริการทันตกรรม ร้อยละ 8.1

สำหรับผู้รับบริการส่งเสริมสุขภาพเป็นครั้งแรกในปี 2558 ที่มีการถามการใช้บริการฯในระหว่าง 12 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ จึงไม่มีข้อมูลเดิมมาเปรียบเทียบ

3. ค่ารักษาพยาบาลและค่ารับบริการ

ในปี 2558 ผู้ป่วยที่ไม่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาลในระหว่าง 1 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ส่วนใหญ่ได้รับการบริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายร้อยละ 57.1 โดยมีแนวโน้มที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากปี 2556

ในระหว่าง 12 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์มีผู้รับบริการส่งเสริมสุขภาพ ผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาลและผู้รับบริการทันตกรรมที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากปี 2556 โดยในปี 2558 ผู้รับบริการส่งเสริมสุขภาพ ผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาล

และผู้รับบริการทันตกรรมที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายมีร้อยละ 83.9 70.0 และ 46.9 ตามลำดับ โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่ไปรับบริการ ทันตกรรมเกินครึ่งมีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการดังกล่าวซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีสัดส่วนการใช้บริการในสถานพยาบาลเอกชนค่อนข้างสูง

4. พฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา/เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของประชากร

4.1 การสูบบุหรี่

ผลการสำรวจประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่าในปี 2558 มีผู้ที่สูบบุหรี่ 10.9 ล้านคน (ร้อยละ 19.9) และมีแนวโน้มการสูบบุหรี่ลดลงจากร้อยละ 23.0 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 19.9 ในปี 2558 โดยผู้ชายและผู้หญิงมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลดลงเช่นเดียวกับภาพรวม พบว่าในปี 2558 มีผู้ที่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มี

4.2 การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

1ผลการสำรวจประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป แอลกอฮอล์จำนวน 18.6 ล้านคน (ร้อยละ 34.0) โดยมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น

คือ จากร้อยละ 32.7 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 34.0 ในปี 2558 และเมื่อพิจารณาตามเพศ พบว่า ทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีการดื่มสุราฯ ที่เพิ่มขึ้นจากปี 2547


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ