ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 พบว่า จำนวนผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 55.44 ล้านคน โดยเป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อมที่จะทำงาน 38.13 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 37.58 ล้านคน ผู้ว่างงาน 3.47 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล 2.04 แสนคน ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานหรือผู้ที่ไม่พร้อมทำงาน 17.31 ล้านคน ได้แก่ แม่บ้าน นักเรียน คนชรา เป็นต้น
ภาวะการทำงาน
สำหรับจำนวนผู้มีงานทำ 37.58 ล้านคน ประกอบด้วย ผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรม 10.82 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรม 26.76 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 พบว่า จำนวนผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรมลดลง 4.1 แสนคน (จาก 11.23 ล้านคนเป็น 10.82 ล้านคน) แต่นอกภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 6.3 แสนคน (จาก 26.13 ล้านคน เป็น 26.76ล้านคน) ในจำนวนนี้เป็นการเพิ่มขึ้นในสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 2.2 แสนคน สาขาการก่อสร้าง 1.4 แสนคนสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 1.2 แสนคน สาขาการศึกษา 1.1 แสนคน สาขากิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 9.0 หมื่นคน และสาขากิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ เช่น กิจกรรมบริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกายการดูแลสัตว์เลี้ยง การบริการซักรีดและซักแห้ง เป็นต้น 9.0หมื่นคน และสาขาการขายส่งการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และรถจักรยานยนต์ 8.0 หมื่นคน ส่วนสาขาที่ลดลงมากที่สุดคือสาขาการผลิต 7.0 หมื่นคน และ สาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 5.0 หมื่นคน และที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่นๆลดลง 1.4 แสนคน
หากพิจารณาถึงจำนวนผู้ที่ทำงานแต่ยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นผู้ทำงานแต่ยังมีเวลาและพร้อมที่จะทำงานได้อีก หรือเรียกคนทำงานในกลุ่มนี้ว่าผู้ทำงานต่ำกว่าระดับ (Underemployment workers) จากผลการสำรวจพบว่า มีผู้ที่ทำงานต่ำกว่าระดับ 2.38 แสนคนหรือร้อยละ 0.6 ของจำนวนผู้ทำงานทั้งหมด ซึ่งคนกลุ่มนี้แม้ว่าจะมีงานทำแล้วก็ตาม แต่ยังมีเวลาว่างที่มากพอและพร้อมที่จะทำงานเพิ่มขึ้น เพื่อต้องการเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง
เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ทำงานต่ำกว่าระดับ จำแนกตามเพศ พบว่า โดยปกติแล้วเพศชายมากกว่าเพศหญิงสำหรับเดือนมกราคม 2559 เพศชายมีจำนวนผู้ทำงานต่ำกว่าระดับ 1.26 แสนคน (ร้อยละ 0.6) และเพศหญิง1.12 แสนคน (ร้อยละ 0.7) ตามลำดับภาวะการว่างงาน
สำหรับจำนวนผู้ว่างงานในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 มีทั้งสิ้น 3.47 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.9 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 จำนวนผู้ว่างงานลดลง 5.7 หมื่นคน (จาก 4.04 แสนคนเป็น 3.47 แสนคน) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคมพ.ศ. 2558 จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 9.2 หมื่นคน(จาก 2.55 แสนคน เป็น 3.47 แสนคน)เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงานกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่าอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 1.1 เป็นร้อยละ 0.9
เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงาน ตามเพศในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 พบว่า เพศชายมีอัตราการว่างงานสูงกว่าเพศหญิงคือร้อยละ 1.0 และร้อยละ 0.9 ตามลำดับ
สำหรับการว่างงานตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มวัยเยาวชนหรือผู้มีอายุ 15-24 ปี มีอัตราการว่างงานร้อยละ 4.3ซึ่งปกติในกลุ่มนี้อัตราการว่างงานจะสูง ส่วนกลุ่มวัยผู้ใหญ่(อายุ 25 ปีขึ้นไป) มีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 กลุ่มวัยเยาวชนอัตราการว่างงานลดลงคือจากร้อยละ 4.5 เป็นร้อยละ 4.3 และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 กลุ่มวัยเยาวชนมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.5 เป็นร้อยละ 4.3 สำหรับในกลุ่มวัยผู้ใหญ่อัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 0.7 เป็นร้อยละ 0.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำหรับระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 พบว่า ผู้ว่างงานที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา 1.03 แสนคน (อัตราการว่างงานร้อยละ 1.3)รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า 7.9 หมื่นคน (ร้อยละ 1.3) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 7.1 หมื่นคน(ร้อยละ 1.1) ระดับประถมศึกษา 6.1 หมื่นคน (ร้อยละ 0.7) และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 3.0 หมื่นคน (ร้อยละ 0.3) และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี2558 พบว่า จำนวนผู้ว่างงานในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้น 3.0 หมื่นคน และระดับประถมศึกษา 1.1 หมื่นคนส่วนระดับอุดมศึกษามีจำนวนผู้ว่างงานลดลง 0.4 หมื่นคน ผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาลดลง 3.6 หมื่นคนและระดับมัธยมศึกษาตอนต้นลดลง 2.4 หมื่นคน
เมื่อพิจารณาถึงจำนวนผู้ว่างงาน พบว่า ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.47 แสนคน และผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน2.00 แสนคน ซึ่งลดลง 4.0 หมื่นคน จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว (จาก 2.40 แสนคน เป็น 2.00 แสนคน) โดยเป็นผู้ว่างงานจากภาคการบริการและการค้า 9.4 หมื่นคน ภาคการผลิต 7.7 หมื่นคน และภาคเกษตรกรรม 2.9 หมื่นคน ตามลำดับ ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.47 แสนคน สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษามากที่สุดคือ 7.3 หมื่นคนในจำนวนนี้เป็นผู้สำเร็จอุดมศึกษาสายวิชาการ 5.0 หมื่นคน สายอาชีวศึกษา 2.0 หมื่นคน สายวิชาการศึกษา 3.0 พันคนรองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า 3.1 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2.3 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 1.2 หมื่นคน และระดับไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 5.0 พันคน ผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 2.00 แสนคน สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด 4.9 หมื่นคน รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ใกล้เคียงกันประมาณ 4.8 หมื่นคนระดับอุดมศึกษา 3.0 หมื่นคน และไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 2.5 หมื่นคน
เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ว่างงาน เป็นรายภาค พบว่าภาคกลางมีจำนวนผู้ว่างงานสูงสุด 1.08 แสนคน อัตราการว่างงาน (ร้อยละ 0.9) รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ7.6 หมื่นคน ( ร้อยละ 0.8 ) ภาคใต้ 6.6 หมื่นคน(ร้อยละ 1.3) ภาคเหนือ 6.2 หมื่นคน (ร้อยละ 1.0)และกรุงเทพมหานคร 3.5 หมื่นคน (ร้อยละ 0.7)เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ว่างงานทั่วประเทศลดลง 5.7 หมื่นคน(จาก 4.04 แสนคน เป็น 3.47 แสนคน) เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคกลางจำนวนผู้ว่างงานลดลงมากที่สุด3.3 หมื่นคน รองลงมาเป็นกรุงเทพมหานคร 2.3 หมื่นคนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.1 หมื่นคน ในขณะที่ภาคใต้มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 1.0 หมื่นคน ส่วนภาคเหนืออัตราการว่างงานไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
เมื่อพิจารณาถึงลักษณะการทำงานของประชากรเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 พบว่า จากจำนวนผู้มีงานทำ37.58 ล้านคน (ชาย 20.44 ล้านคน และหญิง 17.14 ล้านคน) เปนผู้ทำงานภาคเกษตรกรรม 10.82 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 28.8 ของผู้มีงานทำ (ชาย 6.29 ล้านคน และหญิง 4.53 ล้านคน) และทำงานนอกภาคเกษตรกรรม 26.76 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 71.2 ของผู้มีงานทำ (ชาย 14.15 ล้านคน และหญิง 12.61 ล้านคน)เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 พบว่า ในภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานลดลง 4.1 แสนคน (จาก 11.23 ล้านคน เป็น 10.82 ล้านคน) แต่นอกภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 6.3 แสนคน(จาก 26.13 ล้านคน เป็น 26.76 ล้านคน) ในจำนวนนี้เป็นการเพิ่มขึ้นใน สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 2.2 แสนคน สาขาการก่อสร้าง 1.4 แสนคน สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 1.2 แสนคน สาขาการศึกษา 1.1 แสนคน สาขากิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ และสาขากิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ เช่น กิจกรรมบริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย การดูแลสัตว์เลี้ยง การบริการซักรีดและซักแห้ง เป็นต้น เพิ่มขึ้นเท่าๆ กัน ประมาณ 9.0 หมื่นคน สาขาการขายส่งการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และรถจักรยานยนต์ 8.0 หมื่นคน และสาขากิจกรรมทางการเงินและการประกันภัยและสาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศและการประกันสังคมภาคบังคับเพิ่มขึ้นเท่าๆ กัน ประมาณ2.0 หมื่นคน ส่วนสาขาที่ลดลงมากที่สุดคือสาขาการผลิต 7.0 หมื่นคน และสาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 5.0 หมื่นคน และที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่นๆ
เมื่อพิจารณาถึงชั่วโมงทำงานของผู้มีงานทำต่อสัปดาห์ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 พบว่าส่วนใหญ่ทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ทำงานเต็มที่ในเรื่องชั่ว่โมงทำงานมีจำนวน 23.02 ล้านคน หรือร้อยละ 61.2 ของผู้มีงานทำทั้งหมด (ชายร้อยละ 61.5 และหญิงร้อยละ 61.0) และผู้ที่ทำงาน 1 – 34 ชั่ว่โมง มีจำนวน13.82 ล้านคน หรือร้อยละ 36.8 (ชายร้อยละ 36.3 และหญิงร้อยละ 37.4) สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์สำรวจ(ระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์) แต่เป็นผู้มีงานประจำซึ่งถือว่าสัปดาห์การสำรวจไม่มีชั่วโมงการทำงาน (0 ชั่วโมง) มีจำนวน7.4 แสนคน หรือร้อยละ 2.0 (ชายร้อยละ 2.2 และหญิงร้อยละ 1.6) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาจะเห็นว่ ผู้ที่ทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปเพิ่มขึ้น 6.3 แสนคน ส่วนผู้ที่ทำงานตั้งแต่ 1 – 34 ชั่วโมงลดลง 2.2 แสนคน และผู้ที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์การสำรวจ (0 ชั่วโมง) ลดลง 1.9 แสนคน
เมื่อพิจารณาถึงลักษณะผู้ว่างงานตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า เป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน1.47 แสนคน หรือร้อยละ 42.4 ของผู้ว่างงานทั้งหมด และผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 2.00 แสนคน หรือร้อยละ 57.6โดยเป็นผู้ว่างงานจากนอกภาคเกษตรกรรม 1.71 แสนคน ซึ่งประกอบด้วยภาคการบริการและการค้า 9.4 หมื่นคนและภาคการผลิต 7.7 หมื่นคน ส่วนผู้ว่างงานจากภาคเกษตรกรรมมีจำนวน 2.9 หมื่นคน
เมื่อพิจารณาระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานจำนวน 3.47 แสนคน พบว่า ระดับการศึกษาที่มีผู้ว่างงานมากที่สุดคือ ระดับอุดมศึกษา 1.03 แสนคน รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 7.9 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 7.1 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 6.1 หมื่นคน และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 3.0 หมื่นคนเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผานมา พบว่า ผู้ว่างงานระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้นมากที่สุด 3.0 หมื่นคน รองลงมาคือระดับประถมศึกษา 1.1 หมื่นคน ในขณะที่ผู้ว่างงานระดับอุดมศึกษาลดลง 4.0 หมื่นคน ผู้ว่างงานที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาลดลง 3.6 หมื่นคน และระดับมัธยมศึกษาตอนต้นลดลง 2.4 หมื่นคนเมื่อพิจารณาอัตราการว่างงานตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ พบว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอุดมศึกษามีอัตราการว่างงานสูงที่สุดใกล้เคียงกันประมาณร้อยละ 1.3 รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 1.1ระดับประถมศึกษาร้อยละ 0.7 และผู้ว่างงานที่ไม่มีการศึกษาและต่ำ กว่าประถมศึกษาร้อยละ 0.3เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.8 เป็นร้อยละ1.3 และระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.6 เป็นร้อยละ 0.7 ในขณะที่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นลดลงจากร้อยละ1.6 เป็นร้อยละ 1.1 ระดับอุดมศึกษาลดลงจากร้อยละ 1.8 เป็นร้อยละ 1.3 และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาลดลงจากร้อยละ 0.7 เป็นร้อยละ 0.3