สำนักงานสถิติแห่งชาติ ดำเนินการสำรวจการอ่านของประชากร ครั้งแรกในปี 2546 เฉพาะประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป และตั้งแต่ปี 2551 ได้เพิ่มเรื่องการอ่าน ของเด็กเล็ก (อายุต่ำกว่า 6 ปี) สำหรับการสำรวจปี 2558 ได้ขยายคำนิยามการอ่าน ให้รวมการอ่านข้อความในสื่อสังคมออนไลน์/SMS/E-mail ด้วย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2558 จากจำนวนครัวเรือนตัวอย่าง 55,920 ครัวเรือน ซึ่งสรุปผลการสำรวจที่สำคัญได้ดังนี้
การอ่านของเด็กเล็ก ในที่นี้รวมถึงการอ่านด้วยตนเอง หรือผู้ใหญ่อ่านให้ฟังด้วย
1.1 อัตราการอ่านนอกเวลาเรียน
จากผลการสำรวจปี 2558 พบว่า เด็กเล็กที่อ่านมีประมาณ 2.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 60.2 เด็กผู้หญิงมีอัตราการอ่านสูงกว่าเด็กผู้ชายเล็กน้อย (ร้อยละ 60.9 และร้อยละ 59.5 ตามลำดับ)
เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจที่ผ่านมา พบว่าอัตราการอ่านของเด็กเล็กในปี 2556 มีร้อยละ 58.9 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นร้อยละ 60.2 ในปี 2558 โดยเด็กหญิงและเด็กชายมีอัตราการอ่านเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นเดียวกัน
อัตราการอ่านของเด็กเล็กมีความแตกต่างกันระหว่างเขตการปกครองและภาค โดยในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านสูงกว่านอกเขตเทศบาล (ร้อยละ 63.9 และ 57.4 ตามลำดับ) เด็กเล็กในกรุงเทพมหานคร มีอัตราการอ่านสูงสุด (ร้อยละ 73.8) ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เด็กเล็กมีอัตราการอ่านต่ำสุด (ร้อยละ 55.9)
เด็กเล็กมีอัตราการอ่านเพิ่มขึ้นเกือบทุกพื้นที่ โดยเด็กเล็กที่อาศัยนอกเขตเทศบาลและกรุงเทพมหานคร มีอัตราการอ่านเพิ่มขึ้นมากกว่าพื้นที่อื่น ขณะที่ภาคกลางเด็กเล็กมีอัตราการอ่านลดลงเล็กน้อย
1.2 ความถี่ของการอ่านนอกเวลาเรียน
เด็กเล็กที่อ่านมีความถี่ในการอ่านสัปดาห์ละ2 - 3 วัน มากที่สุด (ร้อยละ 44.0) รองลงมาคือ อ่านสัปดาห์ละ 4 - 6 วัน และอ่านททุกวันใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 19.1 และ 17.9 ตามลำดับ)
ปี 2558 เด็กเล็กมีความถี่ในการอ่านลดลงจากปี 2556 คือ เด็กเล็กที่อ่านสสัปดาห์ละ 4 - 6 วัน และทุกวัน มีแนวโน้มลดลง ขณะที่กลุ่มอื่นที่มีความถี่ในการอ่านน้อยกว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
2. การอ่านของประชากร (อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป)
2.1 อัตราการอ่านนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงาน
จากผลการสำรวจปี 255 8 พบว่า ประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขปีขึ้นไป มีอัตราการอ่านร้อยละ 77.7 ผู้ชายมีอัตราการอ่านสูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย (ร้อยละ 78.9 และ 76.5 ตามลำดับ) และเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจที่ผ่านมา พบว่า อัตราการอ่านลดลงร้อยละ 4.1 จากปี 2556 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงทั้งผู้ชายและผู้หญิง
เนื่องจากปี 2556 กรุงเทพมหานครได้รับเลือกเป็นเมืองหนังสือโลก หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการอ่านอย่างจริงจังมากกว่าทุกปีในหลายพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด จึงส่งผลให้อัตราการอ่านของประชากร ปี 2556 สูงมากกว่าปกติ
เมื่อพิจารณาอัตราการอ่านตามเขตการปกครองและภาค พบว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านสูงกว่านอกเขตเทศบาล (ร้อยละ 82.9 และ 73.4 ตามลำดับ) กรุงเทพมหานคร มีอัตราการอ่านสูงที่สุด (ร้อยละ 93.5) สสูงกว่าภาคอื่นมากกว่าร้อยละ 15.0 ในขณะที่ภาคอื่นมีอัตราการอ่านใกล้เคียงกันประมาณ ร้อยละ 73.0 - 78.4
2.2 กลุ่มวัย
การอ่านของประชากรมีความแตกต่างกันตามวัย วัยเด็กและวัยเยาวชนมีอัตราการอ่านสูงใกล้เคียงกันคือร้อยละ 90.7 และ 89.6 รองลงมาคือ กลุ่มวัยทำงาน (ร้อยละ 79.1) แลและต่ำสุดคือ กลุ่มวัยสูงอายุ (ร้อยละ 52.8) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการสำรวจที่ผ่านมา พบว่า ปี 2558 การอ่านของประชากรทุกกลุ่มวัย มีอัตราการอ่านลดลงจากปี 2556
2.3 ระดับการศึกษา
จากผลการสำรวจ พบว่า การศึกษาและอัตราการอ่านมีความสัมพันธ์กันเชิงบวก กล่าวคือ ผู้มีระดับการศึกษาที่สูงกว่า มีอัตราการอ่านสูงกว่าผู้มีการศึกษาระดับต่ำกว่า
2.4 ประเภทของหนังสือที่อ่านนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงาน
หนังสือพิมพ์เป็นประเภทของหนังสือที่มีผู้อ่านสูงสุด คือ ร้อยละ 67.3 รองลงมาคือ ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์/SMS/E-mail (ร้อยละ 51.6) ตำรา/หนังสือ/เอกสาร/บทความที่ให้ความรู้ (ร้อยละ 50.2) วารสาร/เอกสารประเภทที่ออกเป็นประจำ (ร้อยละ 42.0) และหนังสือ/เอกสาร/บทความเกี่ยวกับคำสอนทางศาสนา (ร้อยละ 41.8) สำหรับนิตยสาร นวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น และแบบเรียน/ตำราเรียนตามหลักสูตรมีผู้อ่านน้อยกว่าร้อยละ 40.0
คนที่มีวัยแตกต่างกัน มีความสนใจเลือกประเภทหนังสือที่อ่านแตกต่างกัน โดยวัยเด็กอ่านแบบเรียน/ตำราเรียนตามหลักสูตรสูงสุดถึงร้อยละ 96.6 รองลงมาคือ นวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น (ร้อยละ 66.2) วัยเยาวชน อ่านข้อความในสื่อสังคมออนไลน์/SMS/E-mail สูงสุดถึงร้อยละ 83.3 รองลงมาคือหนังสือพิมพ์ (ร้อยละ 68.7)) ในขณะที่วัยทำงานส่วนใหญ่อ่านหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 79.9 ลำดับรองลงมาคือ ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์/SMS/E-mail (ร้อยละ54.6) สำหรับวัยสูงอายุส่วนใหญ่อ่านหนังสือ/เอกสาร/บทความเกี่ยวกับคำสอนทางศาสนาร้อยละ 76.2 รองลงมาคือ หนังสือพิมพ์ (ร้อยละ 59.8)
2.5 ประเภทเนื้อหาสาระที่อ่านนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงาน
เนื้อหาสาระที่ผู้อ่านชอบอ่านมากที่สุด คือ ข่าว และ สารคดี/ความรู้ทั่วไป (รร้อยละ 48.5 เท่ากัน) รองลงมาคือ บันเทิง ความรู้วิชาการ และคำสอนทางศาสนา/บทสวดมนต์ (ร้อยละ 40.1 21.5 และ 13.7 ตามลำดับ) ส่วนเนื้อหาสาระประเภทอื่น มีผู้อ่านเพียงเล็กน้อย
เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2556 พบว่า ผู้อ่านสนใจอ่านสารคดี/ความรู้ทั่วไป และบันเทิงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12.1 และ 7.8 ตามลำดับ แต่อ่านข่าวลดลง ร้อยละ 5.8 ส่วนเนื้อหาประเภทอื่น มีร้อยละของผู้อ่านใกล้เคียงกับปี 2556
2.6 เวลาเฉลี่ยที่ใช้อ่านนอกเวลาเรียน/นอกเวลา ทำงาน
สำหรับผู้อ่านที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปทั้งหมด ใช้เวลาอ่านนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงานเฉลี่ย 1 ชั่วโมง 6 นาทีต่อวัน (66 นาที) โดยกลุ่มเยาวชนใช้เวลาอ่าน มากที่สุด เฉลี่ย 1 ชั่วโมง 34 นาทีต่อวัน (94 นาที) กลุ่มวัยเด็กและวัยทำงานใช้เวลาอ่านเฉลี่ยต่อวันมากกว่า 1 ชั่วโมงเล็กน้อย ส่วนวัยสูงอายุใช้เวลาอ่าน น้อยที่สุดเฉลี่ย 44 นาทีต่อวัน
เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2556 พบว่า ทุกวัยใช้เวลาอ่านเพิ่มขึ้น แนื่องจากปี 2558 ได้เพิ่มการอ่านข้อความในสื่อสังคมออนไลน์/SMS/E-mail ด้วย โดยกลุ่มวัยเยาวชนใช้เวลาอ่านเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 44 นาที ต่อวัน
2.7 วิธีการรณรงค์ให้คนรักการอ่าน
จากการสำรวจความคิดเห็นของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เกี่ยวกับวิธีการรณรงค์ให้คนรักการอ่าน พบว่าวิธีการรณรงค์ที่ได้รับการเสนอแนะมากที่สุด 5 ลำดับแรก คือ ปลูกฝังให้รักการอ่านผ่านพ่อ แม่/ครอบครัว (ร้อยละ 31.4) ให้สถานศึกษามีการรณรงค์ส่งเสริมการอ่าน (ร้อยละ 26.9) รูปเล่ม/เนื้อหาน่าสนใจ หรือใช้ภาษาง่าย ๆ (ร้อยละ 25.1)และส่งเสริมให้มีห้องสมุด/ห้องสมุดเคลื่อนที่/มุมอ่านหนังสือในชุมชน/พื้นที่สาธารณะ (ร้อยละ 20.7) และหาซื้อได้ง่าย/เข้าถึงง่าย (ร้อยละ 20.6)