โครงสร้างกำลังแรงงาน
ผลการสำรวจภาวะการทำงานของปีระชากร เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 พบว่า จำนวนผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 55.47 ล้านคน โดยเป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อม ที่จะทำงาน 38.42 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 37.87 ล้านคน ผู้ว่างงาน 3.35 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล 2.10 แสนคน ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานหรือผู้ที่ไม่พร้อมทำงาน 17.05 ล้านคน ได้แก่ แม่บ้าน นักเรียน คนชรา เป็นต้น
ภาวะการทำงาน
สำหรับจำนวนผู้มีงานทำ 37.87 ล้านคน ประกอบด้วยผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรม 11.19 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรม 26.68 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 พบว่า จำนวนผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรมลดลง 1.7 แสนคน (จาก 11.36 ล้านคน เป็น 11.19 ล้านคน) แต่นอกภาคเกษตรกรรมมีจำนวน ผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 1.1 แสนคน (จาก 26.57 ล้านคน เป็น 26.68 ล้านคน) ในจำนวนนี้เป็นการเพิ่มขึ้นใน สาขาการขายส่งการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และรถจักรยานยนต์ 1.4 แสนคน สาขาการก่อสร้าง 1.3 แสนคน และสาขากิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ เช่น กิจกรรมบริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย การดูแลสัตวเลี้ยง การบริการซักรีดและซักแห้ง เป็นต้น 6.0 หมื่นคน ส่วนสาขาที่ลดลงมากที่สุดคือสาขากิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 1.2 แสนคน สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าและสาขากิจกรรมทางการเงินและ การประกันภัยลดลงเท่าๆ กัน ประมาณ 5.0 หมื่นคน สาขาการบริหารราชการ การปองกันประเทศและการประกันสังคมภาคบังคับ 4.0 หมื่นคน และที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่นๆ
หากพิจารณาถึงจำนวนผู้ที่ทำงานแต่ยังทำงานได้ ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นผู้ทำงานแต่ยังมีเวลาและต้องการที่จะทำงานเพิ่ม หรือเรียกคนทำงานในกลุ่มนี้ว่า ผู้ทำงานต่ำกว่าระดับ (Underemployment workers) จากผลการสำรวจพบว่า มีผู้ที่ทำงานต่ำกว่าระดับ 1.99 แสนคน หรือร้อยละ 0.5 ของจำนวนผู้ทำงานทั้งหมด ซึ่งคนกลุ่มนี้แม้ว่าจะมีงานทำแล้วก็ตาม แต่ยังมีเวลาว่างที่มากพอและต้องการที่จะทำงานเพิ่มขึ้น เพื่อต้องการเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง
เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ทำงานต่ำกว่าระดับ จำแนกตามเพศ พบว่า โดยปกติแล้วเพศชายมากกว่าเพศหญิง สำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เพศชายมีจำนวนผู้ทำงาน ต่ำกว่าระดับ 1.18 แสนคน (ร้อยละ 0.6) และเพศหญิง 0.81 แสนคน (ร้อยละ 0.5) ตามลำดับ
ภาวะการว่างงาน
สำหรับจำนวนผู้ว่างงานในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 มีทั้งสิ้น 3.35 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.9 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 1.9 หมื่นคน (จาก 3.16 แสนคน เป็น 3.35 แสนคน) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 จำนวนผู้ว่างงานลดลง 1.2 หมื่นคน (จาก 3.47 แสนคน เป็น 3.35 แสนคน)
เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงานกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่าอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น (จากร้อยละ 0.8 เป็นร้อยละ 0.9)
เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงาน ตามเพศใน เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 พบว่า เพศชายและเพศหญิงมีอัตราการว่างงานเท่ากัน คือร้อยละ 0.9
สำหรับการว่างงานตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มวัยเยาวชน หรือผู้มีอายุ 15-24 ป มีอัตราการว่างงานร้อยละ 4.0 ซึ่งปกติในกลุ่มนี้อัตราการว่างงานจะสูง ส่วนกลุ่มวัยผู้ใหญ่ (อายุ 25 ปีขึ้นไป) มีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 กลุ่มวัยเยาวชนมีอัตรา การว่างงานเพิ่มขึ้นคือจากร้อยละ 3.6 เป็นร้อยละ 4.0 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 กลุ่มวัยเยาวชน มีอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 4.3 เป็นร้อยละ 4.0 สำหรับในกลุ่มวัยผู้ใหญ่อัตราการว่างงานไม่เปลี่ยนแปลงคือร้อยละ 0.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี ที่ผ่านมา
สำหรับระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานใน เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 พบว่า ผู้ว่างงานที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา 1.51 แสนคน (อัตราการว่างงานร้อยละ 1.9) รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า 6.1 หมื่นคน (ร้อยละ 1.0) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 5.6 หมื่นคน (ร้อยละ 0.9) ระดับประถมศึกษา 5.2 หมื่นคน (ร้อยละ 0.6) และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 1.5 หมื่นคน (ร้อยละ 0.2) และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 พบว่า จำนวนผู้ว่างงานในระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น 4.3 หมื่นคน และระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้น 1.0 หมื่นคน ส่วนผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาลดลง 1.7 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายลดลง 1.1 หมื่นคน และระดับมัธยมศึกษาตอนต้นลดลง 6.0 พันคน
เมื่อพิจารณาถึงจำนวนผู้ว่างงาน พบว่า ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.45 แสนคน และผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 1.90 แสนคน ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.6 หมื่นคน จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว (จาก 1.64 แสนคน เป็น 1.90 แสนคน) โดยเป็น ผู้ว่างงานจากภาคการบริการและการค้า 1.2 แสนคน ภาคการผลิต 4.4 หมื่นคน และภาคเกษตรกรรม 2.6 หมื่นคน ตามลำดับ ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 1.45 แสนคนสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษามากที่สุดคือ 1.06 แสนคน ในจำนวนนี้เป็นผู้สำเร็จอุดมศึกษาสายวิชาการ 7.7 หมื่นคน สายอาชีวศึกษา 1.6 หมื่นคน สายวิชาการศึกษา 1.3 หมื่นคน รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2.0 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า 1.8 หมื่นคน และไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 1.0 พันคน
ผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 1.90 แสนคนสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษามากที่สุด 1.06 แสนคน รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า 3.8 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3.2 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 9.0 พันคน และไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 5.0 พันคน
เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ว่างงาน เป็นรายภาค พบว่า ภาคกลางมีจำนวนผู้ว่างงานสูงสุด 9.2 หมื่นคน อัตราการว่างงาน (ร้อยละ 0.8) รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6.9 หมื่นคน (ร้อยละ 0.7) ภาคใต้ 6.9 หมื่นคน (ร้อยละ 1.3) ภาคเหนือ 6.1 หมื่นคน (ร้อยละ 0.9) และกรุงเทพมหานคร 4.4 หมื่นคน (ร้อยละ 0.8)
เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 จะเห็นได้วาจำนวนผู้ว่างงานทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 1.9 หมื่นคน (จาก 3.16 แสนคน เป็น 3.35 แสนคน) เมื่อพิจารณาเป็น รายภาค พบว่า ภาคกลางมีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด 1.5 หมื่นคน รองลงมาเป็นภาคเหนือ 9.0 พันคน และภาคใต้ 5.0 พันคน ในขณะที่กรุงเทพมหานคร มีจำนวนผู้ว่างงานลดลง 1.0 หมื่นคน ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนืออัตราการว่างงานไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว