สรุปผลข้อมูลเบื้องต้น
สำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560
เนื่องจาก บริบทของประเทศมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมทาให้โครงสร้างการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น และมีธุรกิจทางการค้า การบริการ และอุตสาหกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้น เป็นต้น ซึ่งถือเป็นกลไกที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น ข้อมูลสถิติและสารสนเทศโครงสร้างขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรม จึงมีความสาคัญและจำเป็นสาหรับภาครัฐและเอกชนใช้ในการกาหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในตลาดโลก
สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดทำสำมะโนอุตสาหกรรมทุก 10 ปี ตามข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ และได้วางแผนเปลี่ยนเป็นจัดทำทุก 5 ปี เพื่อให้ประเทศมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาค ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานสถิติแห่งชาติจัดทำสำมะโนอุตสาหกรรมมาแล้ว 4 ครั้ง ในปี 2507 ปี 2540 ปี 2550 และ ปี 2555 สำหรับปี 2560 เป็นการจัดทำสำมะโนอุตสาหกรรมครั้งที่ 5 ของประเทศไทยในการจัดทำสำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 ได้กำหนดแผนการดำเนินงานเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานหรือการนับจดสถานประกอบการ ทุกประเภท ซึ่งดำเนินการในปี 2559 และขั้นการเก็บรวบรวม ข้อมูลรายละเอียดหรือ การแจงนับสถานประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิต ดำเนินการในปี 2560
การนำเสนอผลสำมะโนฉบับนี้ เป็นผลจากขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน หรือการนับจด สถานประกอบการในปี 2559 ซึ่งจัดจำแนกประเภทสถานประกอบการ ตามการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย ปี 2552 (Thailand Standard Industrial Classification : TSIC 2009) ได้แก่ ธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ การผลิต การก่อสร้าง การขนส่งทางบกและสถานที่เก็บสินค้า กิจกรรมด้าน ข้อมูลข่าวสารและ การสื่อสาร และกิจกรรมด้านโรงพยาบาลเอกชน ที่ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานประกอบการในพื้นที่เขตเทศบาลระหว่างเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม 2559 และพื้นที่นอกเขตเทศบาลระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2559
ผลการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า มีสถานประกอบการจำนวนทั้งสิ้น 696,208 แห่ งในจานวนนี้ แยกเป็นสถานประกอบการ ที่เก็บรวบรวมรายการข้อมูลพื้นฐานในแบบสอบถามได้ ครบถ้วน จานวน 684,438 แห่ง และสถานประกอบการที่เก็บรวบรวมรายการข้อมูลได้ เพียง ชื่อ ที่ตั้ง และประเภทธุรกิจ/อุตสาหกรรม จำนวน 11,770 แห่ง สำหรับข้อมูลที่ นำเสนอผลในสรุปผลข้อมูลเบื้องต้น ฉบับนี้จะเป็นข้อมูลของสถานประกอบการที่เก็บ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานได้ครบถ้วนจำนวน 684,438 แห่ง เท่านั้น สรุปได้ดังนี้
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า มีจานวนสถานประกอบการทั้งสิ้น 684,438 แห่ง
หากพิจารณาเป็นรายจังหวัด พบว่า จังหวัด ที่มีจำนวนสถานประกอบการมากที่สุด คือ จังหวัด นครราชสีมา รองลงมา คือ สุรินทร์ ขอนแก่น และอุบลราชธานี ตามลำดับ จังหวัดที่มีจำนวนสถานประกอบการน้อยที่สุด คือ จังหวัดบึงกาฬ
เมื่อเปรียบเทียบจานวนสถานประกอบการระหว่างปี 2554 และ ปี 2559 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า จำนวนสถานประกอบการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 5.2
หากพิจารณาเป็นรายจังหวัดพบว่า เกือบทุกจังหวัดมีจานวนสถานประกอบการเพิ่มขึ้น โดย จังหวัดศรีสะเกษมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประกอบการสูงสุดร้อยละ 36.3 รองลงมา คือ จังหวัด สุรินทร์ และ จังหวัดมุกดาหาร มีอัตราการเพิ่มขึ้นของสถานประกอบการร้อยละ 34.8 และร้อยละ 19.2 ตามลาดับ ในขณะที่จังหวัดขอนแก่นที่มีจำนวนสถานประกอบการลดลงร้อยละ 19.1
เมื่อพิจารณาขนาดสถานประกอบการซึ่งวัดด้วยจำนวน คนทำงานพบว่าส่วนใหญ่ (ร้อยละ 98.7 หรือ 675,817 คน) เป็นสถานประกอบการ ที่มีคนทำงาน 1–15 คน รองลงมา เป็นสถานประกอบการที่มี คนทำงาน ร้อยละ 0.7 หรือ 4,433 คนในขณะที่สถานประกอบการที่มีคนทำงาน 31–50 คน มากกว่า 50 คน และ 26–30 คน มีสัดส่วนเท่ากัน คือ ร้อยละ 0.2 หรือ 1,626 กับ 1,495 คน และ 1,067 คน ตามลำดับ
สำหรับคนทำงานในสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี 2559 มีจำนวนประมาณ 1.7 ล้านคน ในจานวนนี้เป็นคนทางานที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1 – 15 คนประมาณ 1.3 ล้านคน รองลงมาเป็นคนทางานที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 50 คน ประมาณ 261,700 คน ส่วนสถานประกอบการมีคนทำงาน 16 - 25 คน และ 31 – 50 คน ประมาณ 88,500 คน และประมาณ 63,000 คน ในขณะที่สถานประกอบการที่มีคนทำงาน 26 – 30 คน มีประมาณ 30,700 คน เท่านั้น
เมื่อเปรียบเทียบจำนวนคนทำงานในปี 2559 และปี 2554 พบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้น จาก 1.6 ล้านคน เป็น 1.7 ล้านคน คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.1 โดยเกือบทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีจานวนคนทางานเพิ่มขึ้น ยกเว้น สถานประกอบการที่ประกอบกิจกรรมทางด้านการผลิตที่มีจานวนคนทำงานลดลงจากเดิม 576,300 คน เหลือเพียง 554,900 คน เช่น ในอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และการผลิตโลหะขั้นมูลฐาน เป็นต้น
เมื่อพิจารณาคนทำงานในแต่ละจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า จังหวัดนครราชสีมา มีคนทำงานมากที่สุดประมาณ 280,200 คน รองลงมาคือ ขอนแก่น และอุบลราชธานี มีคนทำงานประมาณ 164,500 คน และ 139,500 คน ตามลำดับ ส่วนจังหวัด ที่มีคนทำงานน้อยที่สุดคือ จังหวัดบึงกาฬ ประมาณ 23,300 คน
เมื่อเปรียบเทียบจานวนคนทำงานในปี 2559 และปี 2554 พบว่า จังหวัดสุรินทร์ มุกดาหาร บึงกาฬ และจังหวัดศรีสะเกษ มีคนทางานเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจังหวัดสุรินทร์ มีคนทำงานเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึงร้อยละ 37.2 ในขณะที่จังหวัดขอนแก่น และมหาสารคาม มีสัดส่วนคนทำงานลดลงไม่เกินร้อยละ 24.0
เมื่อพิจารณาตามรูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมายพบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่ (ร้อยละ 95.3) มีรูปแบบการจัดตั้งเป็นส่วน บุคคล รองลงมาเป็นกลุ่มแม่บ้าน และ รูปแบบอื่นๆ (ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ สหกรณ์ สมาคม มูลนิธิฯ) ร้อยละ 2.2 บริษัทจำกัด บริษัทจำกัด(มหาชน) ร้อยละ 1.4 สาหรับสถานประกอบการ ที่เป็นห้างหุ้นส่วนจากัด ห้างหุ้นส่วน สามัญนิติบุคคล มีเพียงร้อยละ 1.1 ซึ่ง หากพิจารณาจำนวนคนทำงาน เฉลี่ยต่อสถานประกอบการพบว่า สถานประกอบการที่เป็นบริษัทจำกัด และบริษัท จำกัด (มหาชน) มีจานวนคนทำงานเฉลี่ยสูงสุดถึง 30 คนต่อสถานประกอบการ
เมื่อพิจารณาตามรูปแบบการจัดตั้งทางเศรษฐกิจพบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่ (ร้อยละ 99.0) มีรูปแบบการจัดตั้งเป็นสำนักงานแห่งเดียว ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 0.7 เป็น สำนักงานสาขา ร้อยละ0.3 เป็นสำนักงานใหญ่
สถานประกอบการที่มี รูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมายเป็น บริษัทจำกัด บริษัทจำกัด (มหาชน) ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวน 9,687 แห่ง ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 98.1) ไม่มีการร่วมลงทุนหรือถือหุ้นจาก ต่างประเทศ สำหรับสถานประกอบการ ที่มีต่างประเทศร่วมลงทุนหรือถือหุ้น มีเพียงร้อยละ 1.9 ในจำนวนนี้
สถานประกอบการที่มีการร่วมลงทุน หรือถือหุ้นจากต่างประเทศน้อยกว่า 10% มีร้อยละ 1.1 รองลงมาสถาน ประกอบการที่มีสัดส่วนการร่วม ลงทุนหรือถือหุ้นจากต่างประเทศ ระหว่าง 10 – 50% คิดเป็นร้อยละ 0.5 การร่วมลงทุนหรือถือหุ้นจาก ต่างประเทศมากกว่า 50% ร้อยละ 0.3
สำหรับการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการดำเนินกิจการพบว่า สถานประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการดำเนินกิจการประมาณ 39,111 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 5.7 ของสถานประกอบการทั้งสิ้น
สำหรับการใช้อินเทอร์เน็ตจากสถานประกอบการที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ พบว่า มีการใช้อินเทอร์เน็ตร้อยละ 95.0 นอกจากนี้ ยังพบว่าสถานประกอบการที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการดำเนินกิจการยังมีการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านอินเทอร์เน็ต(E-Commerce) ร้อยละ 30.3
สำหรับระยะเวลาในการดำเนินกิจการของสถานประกอบการพบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่ดำเนินกิจการ 10 – 19 ปี (ร้อยละ 31.6) รองลงมาเป็น สถานประกอบการที่ดำเนินกิจการน้อยกว่า 5 ปี และ 5 – 9 ปี โดยมี สัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 30.2 และ 25.1 ตามลำดับ สำหรับสถานประกอบการ ที่ดำเนินกิจการเกิน 20 ปี มีร้อยละ 13.1 เท่านั้น
เมื่อพิจารณาตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจพบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 30.0 มีระยะเวลาในการดำเนินกิจการน้อยกว่า 5 ปี ยกเว้น สถานประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับกิจกรรมทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคนิค การก่อสร้าง การขนส่งทางบก และสถานที่เก็บสินค้า และการผลิต มีร้อยละ 29.0 24.9 22.8 และ 17.3 ตามลำดับ
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ