เนื่องจากบริบทของประเทศมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมือง ที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ทำให้โครงสร้างการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถือเป็นกลไกที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นข้อมูลสถิติและสารสนเทศโครงสร้างขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรม จึงมีความสำคัญและจาเป็นสำหรับภาครัฐ และเอกชนใช้ในการกาหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการจัดทำสำมะโนอุตสาหกรรม เพื่อให้ประเทศมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญทางด้านอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ และภูมิภาค สำหรับปี 2560 เป็นการจัดทำสำมะโนอุตสาหกรรมครั้งที่ 5 ของประเทศไทย
สรุปข้อมูลเบื้องต้นฉบับนี้เป็นข้อมูลผลการดำเนินงานในรอบปี 2559 (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2559) ของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ที่ตั้งอยู่ในภาคกลาง ซึ่งจัดจำแนกประเภทสถานประกอบการตามการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย ปี 2552 (Thailand Standard Industrial Classification: TSIC 2009) สรุปได้ดังนี้
จากการสำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 พบว่า ภาคกลาง มีสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต จำนวนทั้งสิ้น 55,308 แห่ง มีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 เมื่อเทียบกับสำมะโนอุตสาหกรรมการผลิตเมื่อ 5 ปีที่แล้ว โดยตั้งอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจำนวนมากที่สุด รองลงมาเป็นจังหวัดชลบุรี และกาญจนบุรี
เมื่อพิจารณาตามหมวดย่อยอุตสาหกรรม พบว่า เป็นสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารมากที่สุด รองลงมาเป็นการผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ (ยกเว้นเครื่องจักรและอุปกรณ์)และการผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ นอกจากนี้เป็นการผลิตในหมวดย่อยอื่น ๆ มีสัดส่วนต่ำกว่าร้อยละ 7.0
เมื่อพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ (จำนวนคนทำงาน)พบว่า สถานประกอบการผลิตในภาคกลาง ส่วนใหญ่ร้อยละ 88.9 เป็นสถานประกอบการที่มีคนทางาน 1 - 15 คน ส่วนที่เหลือร้อยละ 11.1 เป็นสถานประกอบการที่มีคนทำงานตั้งแต่ 16 คนขึ้นไป โดยเป็นสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 51 - 200 คน มีร้อยละ 3.5 ส่วนสถานประกอบการขนาดอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวข้างต้นมีสัดส่วนต่ำกว่าร้อยละ 3.0
เมื่อพิจารณาตามรูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมาย พบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 82.1 เป็น สถานประกอบการส่วนบุคคล สำหรับสถานประกอบการที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีร้อยละ3.1 เป็นบริษัทจำกัด บริษัทจำกัด (มหาชน) ร้อยละ 12.9 และเป็นสถานประกอบการที่จัดตั้งในรูปแบบอื่นๆ เช่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สหกรณ์ กลุ่มแม่บ้าน ฯลฯ ร้อยละ 1.9
หากพิจารณาตามรูปแบบการจัดตั้งทางเศรษฐกิจ พบว่า ร้อยละ 95.9 เป็นสำนักงานแห่งเดียว ร้อยละ 1.6 เป็นสำนักงานใหญ่ และอีกร้อยละ 2.5 เป็นสำนักงานสาขา
เมื่อพิจารณาตามระยะเวลาการดำเนินกิจการของสถานประกอบการ พบว่า สถานประกอบการ ร้อยละ 32.4 ดำเนินกิจการมาแล้ว 10 - 19 ปี ร้อยละ 22.2 ดำเนินกิจการไม่เกิน 5 ปี ร้อยละ 20.5 ดำเนินกิจการมาแล้ว 5 - 9 ปี ร้อยละ 16.0 ดำเนินกิจการมาแล้ว 20 - 29 ปี และอีกร้อยละ 8.9 ดำเนินกิจการ ตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป
เมื่อพิจารณาทุนจดทะเบียนของสถานประกอบการอุตสาหกรรมในภาคกลาง พบว่า สถานประกอบการมีทุนจดทะเบียนเพียงร้อยละ 13.6 ของสถานประกอบการทั้งสิ้น ในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.2 มีทุนจดทะเบียนน้อยกว่า 10 ล้านบาท ร้อยละ 20.8 มีทุนจดทะเบียน 10 - 99 ล้านบาท ส่วนสถานประกอบการที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป มีเพียง ร้อยละ 15.0
เมื่อพิจารณาการร่วมลงทุนจากต่างประเทศของสถานประกอบการในภาคกลางส่วนใหญ่ร้อยละ 97.5 ไม่มีการลงทุนจากต่างประเทศ และที่มีต่างประเทศร่วมลงทุนหรือถือหุ้นมีอยู่เพียง 1,361 แห่ง หรือร้อยละ 2.5 ในจานวนนี้ร้อยละ 63.9 เป็นสัดส่วนการลงทุนจากต่างประเทศ มากกว่า 50% และร้อยละ 31.0 เป็นการลงทุนจากต่างประเทศระหว่าง 10 - 50%ส่วนที่มีการลงทุนจากต่างประเทศน้อยกว่า 10 %มีเพียงร้อยละ 5.1
หากพิจารณาอัตราการใช้กำลังการผลิตต่อปี 2559 ของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต พบว่า มีการใช้กำลังการผลิตโดยเฉลี่ยประมาณ 81.6% โดยร้อยละ 67.3 รายงานว่ามีการใช้กำลังการผลิตตั้งแต่ 80% ขึ้นไป ที่รายงานว่ามีกำลังการผลิต 60 - 79% มีร้อยละ 20.9 ในขณะที่สถานประกอบการร้อยละ 11.8 รายงานว่ามีกำลังการผลิตน้อยกว่า 60%
เมื่อพิจารณาคนทำงานในสถานประกอบการการผลิตในภาคกลาง มีจำนวนประมาณ 1.38 ล้านคน พบว่า ร้อยละ 52.7 เป็นเพศชาย และร้อยละ 47.3 เป็นเพศหญิง
หากพิจารณาตามสถานภาพการทำงาน พบว่า คนทำงานที่เป็นลูกจ้างมีฝึมือมากที่สุด โดยร้อยละ 57.0 เป็นลูกจ้างมีฝีมือชาย ซึ่งสูงกว่าเพศหญิงที่เป็นลูกจ้างมีฝีมือร้อยละ 47.8 ของคนทำงานหญิงทั้งหมด อย่างไรก็ตามคนทำงานในสถานภาพอื่นๆ ของเพศหญิงมีสัดส่วนแต่ละสถานภาพสูงกว่าเพศชาย ยกเว้นลูกจ้างมีฝีมือ
เมื่อพิจารณาลูกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตที่ตั้งอยู่ในภาคกลาง ได้รับค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสิ้น 207,617.0 ล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อคนต่อปีประมาณ 159,060 บาท โดยลูกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้กและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมได้รับค่าตอบแทนแรงงานต่อคนต่อปีสูงที่สุด คือ 594,580 บาท รองลงมาคือลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี การผลิตเครื่องจักรและเครื่องมือ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น และการผลิตอุปกรณ์ขนส่งอื่นๆ ได้รับค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยต่อคนต่อปี 193,292 176,536 และ 176,495 บาท ตามลำดับ สำหรับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวข้างต้นแต่ละหมวดย่อย ได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ยต่อคนต่อปี ต่ำกว่า 176,000 บาท
เมื่อพิจารณาในด้านการดำเนินกิจการของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตในภาคกลาง พบว่า ในรอบปี 2559 มีมูลค่าผลผลิตรวมทั้งสิ้น 6,077,905.3 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายขั้นกลางประมาณ 4,740,227.5 ล้านบาท และมีมูลค่าเพิ่มประมาณ 1,337,677.8 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มต่อมูลค่าผลผลิตประมาณร้อยละ 22.0
หากพิจารณาตามหมวดย่อยอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ พบว่า มูลค่าผลผลิต ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง และมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการมาจากอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง สูงที่สุดประมาณร้อยละ 23.7 24.7 และ 20.5 ตามลาดับ รองลงมาเป็นการผลิตผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ ประมาณร้อยละ 13.9 14.4 และ 12.4 ตามลำดับ นอกจากนี้อุตสาหกรรมการผลิตอื่น ๆ ในแต่ละหมวดย่อยมีมูลค่าผลผลิต ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง และมูลค่าเพิ่มในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 7.0
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ