สรุปผลเบื้องต้นสำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 : ภาคใต้

ข่าวผลสำรวจ Monday June 4, 2018 15:51 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

ภาคใต้

สรุปผลเบื้องต้น สำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560

เนื่องจากบริบทของประเทศมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมือง ที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ทำให้โครงสร้างการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถือเป็นกลไกที่สาคัญต่อการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นข้อมูลสถิติและสารสนเทศโครงสร้างขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรม จึงมีความสำคัญและจำเป็นสาหรับภาครัฐ และเอกชนใช้ในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการจัดทำสำมะโนอุตสาหกรรม เพื่อให้ประเทศมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญทางด้านอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ และภูมิภาค สาหรับปี 2560 เป็นการจัดทำสำมะโนอุตสาหกรรมครั้งที่ 5 ของประเทศไทย

สรุปข้อมูลเบื้องต้นฉบับนี้เป็นข้อมูลนำเสนอผลการดำเนินงานในรอบปี 2559 (1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2559) ของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ที่ตั้งอยู่ใน ภาคใต้ ซึ่งจัดจำแนกประเภทสถานประกอบการตามการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย ปี 2552 (Thailand Standard Industrial Classification: TSIC 2009) สรุปได้ดังนี้

ลักษณะทั่วไปของสถานประกอบการ

จากการสำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 พบว่า ภาคใต้ มีสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต จำนวนทั้งสิ้น 35,589 แห่ง มีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับสำมะโนอุตสาหกรรมการผลิตเมื่อ 5 ปีที่แล้ว โดยตั้งอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจำนวนมากที่สุด รองลงมาเป็นจังหวัดพัทลุง และสงขลา

หมวดย่อยอุตสาหกรรม

เมื่อพิจารณาตามหมวดย่อยอุตสาหกรรมพบว่า เป็นสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารมากที่สุด รองลงมาเป็นการผลิตผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และผลิตภ้ณฑ์โลหะประดิษฐ์ (ยกเว้นเครื่องจักรและอุปกรณ์) นอกจากนี้เป็นการผลิตในหมวดย่อยอื่นๆ มีสัดส่วนต่ำกว่าร้อยละ 10.0

ขนาดของสถานประกอบการ (จำนวนคนทำงาน)

เมื่อพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ (จำนวนคนทำงาน) พบว่า สถานประกอบการผลิตในภาคใต้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 95.7เป็นสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1 – 15 คน ส่วนที่เหลือร้อยละ 4.3 เป็นสถานประกอบการที่มึคนทำงานมากกว่า 15 คนขึ้นไป โดยเป็นสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 16 – 25 คน มีร้อยละ1.7 สถานประกอบการที่มีคนทำงาน 51 – 200 คนมีร้อยละ 1.1 ส่วนสถานประกอบการขนาดอื่นๆนอกจากที่กล่าวข้างต้นมีสัดส่วนต่ำกว่าร้อยละ 1.0

รูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมายเมื่อพิจารณาตาม

รูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมายพบว่าสถานประกอบการส่วนใหญ่ ร้อยละ 89.8 เป็นสถานประกอบการส่วนบุคคลสำหรับสถานประกอบการที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีร้อยละ 1.8เป็นบริษัทจำกัด บริษัทจำกัด(มหาชน) ร้อยละ 3.7 และเป็นสถานประกอบการที่จัดตั้งในรูปแบบอื่นๆ เช่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สหกรณ์ กลุ่มแม่บ้าน ฯลฯ ร้อยละ 4.7

รูปแบบการจัดตั้งทางเศรษฐกิจ

หากพิจารณาตามรูปแบบการจัดตั้งทางเศรษฐกิจ พบว่า ร้อยละ 98.0เป็นสำนักงานแห่งเดียว ร้อยละ 0.9 เป็นสำนักงานใหญ่ และอีกร้อยละ 1.1 เป็นสำนักงานสาขา

ระยะเวลาในการดำเนินกิจการ

เมื่อพิจารณาตามระยะเวลาการดำเนินกิจการของสถานประกอบการ พบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 29.8 ดำเนินกิจการมาแล้ว 10 - 19 ปีร้อยละ 23.5 ดำเนินกิจการไม่เกิน 5 ปี ร้อยละ 20.0 ดำเนินกิจการมาแล้ว 5 - 9 ปี ร้อยละ 16.1 ดำเนินกิจการมาแล้ว 20 – 29 ปี และอีกร้อยละ 10.6 ดำเนินกิจการตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป

ทุนจดทะเบียน

เมื่อพิจารณาทุนจดทะเบียนของสถานประกอบการอุตสาหกรรมในภาคใต้ ที่มีทุนจดทะเบียนเพียงร้อยละ 4.8 ของสถานประกอบการทั้งสิ้น ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.8 มีทุนจดทะเบียนน้อยกว่า 10 ล้านบาท ร้อยละ 20.2 มีทุนจดทะเบียน 10 - 99 ล้านบาท ส่วนสถานประกอบการที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 100 ล้านบาทมีเพียงร้อยละ 9.0

การมีต่างประเทศร่วมลงทุนหรือถือหุ้น

เมื่อพิจารณาการร่วมลงทุนจากต่างประเทศของสถานประกอบการในภาคใต้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 99.5 ไม่มีการลงทุนจากต่างประเทศ และที่มีต่างประเทศร่วมลงทุนหรือถือหุ้นมีอยู่เพียง 177 แห่ง หรือร้อยละ 0.5 ในจานวนนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.7 เป็นสัดส่วนการลงทุนจากต่างประเทศ 10 - 50% ร้อยละ 28.3 เป็นการลงทุนจากต่างประเทศมากกว่า 50% และร้อยละ 8.0 เป็นการลงทุนจากต่างประเทศน้อยกว่า 10%

อัตราการใช้กำลังการผลิต

หากพิจารณาอัตราการใช้กาลังการผลิตต่อปี 2559 องสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต พบว่า มีการใช้กำลังการผลิตโดยเฉลี่ยประมาณ 78.6% โดยร้อยละ 60.8 รายงานว่ามีการใช้กำลังการผลิตตั้งแต่ 80% ขึ้นไป ที่รายงานว่ามีกำลังการผลิต 60 – 79% มีร้อยละ 27.6 ในขณะที่สถานประกอบการร้อยละ 11.6 รายงานว่ามีกำลังการผลิตน้อยกว่า 60%

คนทำงานในสถานประกอบการ

เมื่อพิจารณาคนทางานในสถานประกอบการการผลิตในภาคใต้ มีจำนวนประมาณ 256,597 คน พบว่า ร้อยละ 50.2เป็นเพศชาย และร้อยละ 49.8 เป็นเพศหญิง

หากพิจารณาตามสถานภาพการทำงาน พบว่า คนทำงานเป็นลูกจ้างมีฝีมือมากที่สุด โดยร้อยละ 50.1 เป็นลูกจ้างมีฝีมือชายซึ่งสูงกว่าเพศหญิงที่มีลูกจ้างมีฝีมือร้อยละ42.1 ของคนทำงานหญิงทั้งหมด อย่างไรก็ตามคนทำงานในสถานภาพอื่นๆ ของเพศหญิงมีสัดส่วนแต่ละสถานภาพสูงกว่าเพศชาย

ค่าตอบแทนแรงงาน

เมื่อพิจารณาลูกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ ได้รับค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสิ้น 26,016.1 ล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อคนต่อปีประมาณ 125,798 บาท โดยลูกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตโลหะขั้นมูลฐานได้รับค่าตอบแทนแรงงานต่อคนต่อปีสูงที่สุด คือ 168,855 บาท รองลงมาคือลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง ได้รับค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยต่อคนต่อปี 154,953 บาท สำหรับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกจากที่กล่าวข้างต้นแต่ละหมวดย่อย ได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ยต่อคนต่อปีต่ากว่า 115,000 บาท

ผลการดำเนินกิจการของสถานประกอบการ

เมื่อพิจารณาในด้านการดำเนินกิจการของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตในภาคใต้ พบว่า ในรอบปี 2559 มีมูลค่าผลผลิตรวมทั้งสิ้น 617,805.9 ล้านบาทมีค่าใช้จ่ายขั้นกลางประมาณ 492,168.6 ล้านบาทและมีมูลค่าเพิ่มประมาณ 125,637.3 ล้านบาทโดยมีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มต่อมูลค่าผลผลิตประมาณร้อยละ 25.5

หากพิจารณาตามหมวดย่อยอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ พบว่า มูลค่าผลผลิต ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง และมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการมาจากอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ประมาณร้อยละ47.5 49.2 และ 40.3 ตามลำดับ รองลงมาเป็นการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ประมาณร้อยละ30.2 29.4 และ 33.4 ตามลำดับ นอกจากนี้อุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ในแต่ละหมวดย่อยมีมูลค่า ผลผลิตค่าใช้จ่ายขั้นกลาง และ มูลค่าเพิ่มในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 9.0

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ