ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 พบว่าผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 56.96 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อมจะทำงาน 39.45 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 38.76 ล้านคน ผู้ว่างงาน 5.90 แสนคน และ ผู้ที่รอฤดูกาล 1.00 แสนคน ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานหรือผู้ที่ไม่พร้อมทำงาน 17.51 ล้านคน ได้แก่ แม่บ้าน นักเรียน คนชรา เป็นต้นการมีงานทำ 38.76 ล้านคน
สำหรับจำนวนผู้มีงานทำ 38.76 ล้านคน ประกอบด้วยผู้มีงานทำ ในภาคเกษตรกรรม 13.48 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรม 25.28 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 พบว่า ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น 1.1 แสนคน (จาก 37.66 ล้านคน เป็น 38.76 ล้านคน)
โดยผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรมมีจำนวนเพิ่มขึ้น 7.9 แสนคน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นในกิจกรรมการปลูกข้าวจ้าว การปลูกข้าวเหนียว และการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
จำนวนผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรมในภาพรวมเพิ่มขึ้น 3.1 แสนคน โดยเพิ่มขึ้นในสาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ 3.4 แสนคน สาขาที่พักแรมและการบริการด้านอาหาร 2.2 แสนคน สาขากิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 1.3 แสนคน สาขาการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าและคมนาคม 1.1 แสนคน สาขาการก่อสร้าง 9.0 หมื่นคน สาขาการศึกษา 7.0 หมื่นคน สาขากิจกรรมการจ้างงาน ในครัวเรือนส่วนบุคคล 6.0 หมื่นคน สาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศและการประกันสังคมภาคบังคับ 4.0 หมื่นคน สาขากิจกรรมทางวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคนิค 3.0 หมื่นคน สาขากิจกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ และสาขาไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศเพิ่มขึ้นเท่ากันคือ 2.0 หมื่นคน สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารเพิ่มขึ้น 1.0 หมื่นคน สาขาที่ลดลงคือ สาขาการผลิต ลดลง 7.1 แสนคน สาขากิจกรรมการบริหารและการสนับสนุนลดลง 8.0 หมื่นคน สาขาศิลปะความบันเทิงและนันทนาการลดลง 4.0 หมื่นคน สาขากิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ ลดลง 3.0 หมื่นคน และสาขากิจกรรมทางการเงินและการประกันภัยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเปรียบเทียบจำนวนผู้มีงานทำ จำแนกตามชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์และเพศ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 และ 2563
เมื่อพิจารณาถึงชั่วโมงทำงาน ของผู้มีงานทำต่อสัปดาห์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 พบว่า ส่วนใหญ่ ทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ทำงานเต็มที่ในเรื่องชั่วโมงทำงาน มีจำนวน 32.40 ล้านคน หรือร้อยละ 83.6 ของผู้มีงานทำทั้งหมด และผู้ที่ทำงาน1 - 34 ชั่วโมง มีจำนวน 5.77 ล้านคน หรือร้อยละ 14.9 สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์สำรวจ (ระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์) แต่เป็นผู้มีงานประจำซึ่งถือว่าสัปดาห์การสำรวจไม่มีชั่วโมงการทำงาน (0 ชั่วโมง) มีจำนวน 5.9 แสนคน หรือ ร้อยละ 1.5 จำนวนผู้ทำงานต่ำกว่าระดับ (ด้านเวลา)
การทำงานต่ำกว่าระดับ หากพิจารณาถึงจำนวนผู้ที่ทำงานแต่ยังทำงานได้ไม่เต็มเวลา ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นผู้ทำงานแต่ยังมีเวลาและต้องการที่จะทำงานเพิ่ม หรือเรียกคนทำงานในกลุ่มนี้ว่า ผู้ทำงานต่ำกว่าระดับ (Underemployment workers) จากผลการสำรวจพบว่า มีจำนวน 0.40 ล้านคน หรือร้อยละ 1.0 ของจำนวนผู้ทำงานทั้งหมด เมื่อพิจารณาตามเพศ พบว่า โดยปกติแล้วเพศชายมากกว่าเพศหญิง สำหรับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 เพศชายมีจำนวนผู้ทำงานต่ำกว่าระดับ 0.24 ล้านคน และเพศหญิง 0.16 ล้านคนการว่างงาน5.90 แสนคนเปรียบเทียบจำนวนและอัตราการว่างงาน พ.ศ. 2562 และ 2563
จำนวนการว่างงาน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 มีทั้งสิ้น 5.90 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 2.23 แสนคน
เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงานกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 1.0 เป็นร้อยละ 1.5
เมื่อพิจารณาอัตราการว่างงานตามเพศในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2563 พบว่า เพศหญิงและเพศชายมีอัตราการว่างงานเท่ากัน คือร้อยละ 1.5
หากเปรียบเทียบอัตราการว่างงานกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า อัตราการว่างงานเพศชายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.1 เป็นร้อยละ 1.5 และเพศหญิงเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 0.8 เป็นร้อยละ 1.5 อัตราการว่างงาน จำแนกตามกลุ่มอายุ
การว่างงานตามกลุ่มอายุ พบว่า วัยเยาวชนหรือผู้มีอายุ 15-24 ปี มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 คือ ร้อยละ 5.2 เป็นร้อยละ 5.4 ส่วนวัยผู้ใหญ่ (อายุ 25 ปีขึ้นไป) มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 1.1 เปรียบเทียบจำนวนผู้ว่างงาน จำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 และ 2563
ระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงาน เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2563 พบว่า เป็นผู้ว่างงานที่สำเร็จ การศึกษาในระดับอุดมศึกษา 1.65 แสนคน (อัตรา การว่างงาน ร้อยละ 2.5) รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1.26 แสนคน (ร้อยละ 1.9) ระดับปวช./ปวส. 0.89 แสนคน (ร้อยละ 2.5) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 0.88 แสนคน (ร้อยละ 1.6) ระดับประถมศึกษา 0.87 แสนคน (ร้อยละ 1.0) และไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 0.32 แสนคน (ร้อยละ 0.4) ที่เหลืออยู่ในการศึกษาอื่น ๆ
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 พบว่าผู้ว่างงานระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มขึ้น 7.1 หมื่นคน ระดับปวช./ปวส.เพิ่มขึ้น 4.4 หมื่นคน ระดับ อุดมศึกษาเพิ่มขึ้น 3.8 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้น 3.6 หมื่นคน ระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้น 2.1 หมื่นคน และไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาเพิ่มขึ้น 1.1 หมื่นคนจำนวนผู้ว่างงาน จำแนกตามประสบการณ์การทำงานเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563
ประสบการณ์การทำงานของผู้ว่างงาน พบว่า เป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.84 แสนคน หรือร้อยละ 31.2 ของผู้ว่างงานทั้งหมด และผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 4.06 แสนคน หรือร้อยละ 68.8 โดยเป็นผู้ว่างงานจากนอกภาคเกษตรกรรม 3.83 แสนคน ซึ่งประกอบด้วยภาคการบริการและการค้า 2.53 แสนคน และภาคการผลิต 1.30 แสนคน ส่วนผู้ว่างงานจากภาคเกษตรกรรมมีจำนวน 0.23 แสนคนจำนวนผู้ว่างงาน จำแนกตามประสบการณ์การทำงานและการศึกษาที่สำเร็จเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563
ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน จำนวน 1.84 แสนคน สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา 0.83 แสนคน รองลงมาเป็นระดับปวช./ปวส. 0.28 แสนคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 0.27 แสนคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 0.26 แสนคน ระดับประถมศึกษา 0.18 แสนคน และไม่มีการศึกษาและ ต่ำกว่าประถมศึกษา 0.02 แสนคน
ผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน จำนวน 4.06 แสนคน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 0.99 แสนคน ระดับอุดมศึกษา 0.82 แสนคน ระดับประถมศึกษา 0.69 แสนคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 0.62 แสนคน ระดับ ปวช./ปวส. 0.61 แสนคน และไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 0.30 แสนคน ที่เหลืออยู่ในการศึกษาอื่น ๆเปรียบเทียบจำนวนผู้ว่างงาน จำแนกตามภาคเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 และ 2563
เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 จะเห็นได้ว่า จำนวนผู้ว่างงานทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 2.33 แสนคน (จาก 3.67 แสนคน เป็น 5.90 แสนคน) เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคกลางเพิ่มขึ้น 1.01 แสนคน กรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้น 7.2 หมื่นคน ภาคใต้เพิ่มขึ้น 6.7 หมื่นคน ภาคเหนือลดลง 1.0 หมื่นคน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดลง 0.7 หมื่นคน
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ