ควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนตระหนักและเห็นความสำคัญในการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่กับคนในบ้าน เพื่อลด
การแพร่กระจายเชื้อ เช่น การสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา แยกกันรับประทานอาหาร/แยกห้อง อยู่อาศัย ซึ่งจากผลสำรวจมีประชาชนปฏิบัติตัวน้อยกว่าร้อยละ 57
ควรมีมาตรการที่สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนลดการทำกิจกรรมนอกบ้าน เช่น การลดราคาสำหรับการซื้อขายสินค้าและ
บริการออนไลน์ การจัดส่งสินค้าฟรี เป็นต้น ควรส่งเสริมสนับสนุน และขอความร่วมมือให้ทุกภาคส่วนทำงานที่บ้าน (Work from Home) พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์
ในการทำงาน เช่น คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก เป็นต้น รวมทั้งจัดหาวายฟายฟรี (Free WiFi) ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และจัดหาอินเทอร์เน็ตในราคาถูก เนื่องจากผลการสำรวจพบว่าประชาชนน้อยกว่าร้อยละ 20 เท่านั้นที่ทำงานที่บ้าน
ควรจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้กับนักเรียน/นักศึกษา ในช่วงที่มีการแพร่ระบาด โดยการจัดหาอินเทอร์เน็ตและ
วายฟายฟรี (Free WiFi) ในการเรียนการสอน พร้อมอุปกรณ์ในราคาถูก เช่น คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต เป็นต้น หรือจัดให้มีสถานที่กลาง เช่น ศูนย์ไอซีทีชุมชน/ศูนย์ดิจิทัลในการเรียนออนไลน์สำหรับเด็กนักเรียนที่ขาดแคลนหรือไม่มี ความพร้อม โดยดำเนินการตามมาตรการการป้องกันโรคโควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากผลการสำรวจพบว่า มีประชาชนร้อยละ 42.0 ระบุว่าในครัวเรือนมีบุตรหลานวัยเรียนที่ต้องเรียนออนไลน์
ควรส่งเสริม สร้างความตระหนัก และการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ให้แก่เด็ก เยาวชน โดยสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเด็ก
และเยาวชนให้รู้จักใช้สื่อออนไลน์ที่เหมาะสม ควรมีการจัดเป็นหลักสูตรในการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเสริมสร้างศักยภาพเด็ก เยาวชน และบุคคลแวดล้อมให้ตระหนักถึงการใช้สื่อออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ รู้เท่าทัน และไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น
ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์ โดยต้องพิจารณาถึง
ความน่าเชื่อถือ มีแหล่งอ้างอิงที่มาที่ชัดเจนสามารถตรวจสอบได้ และมีประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป ควรส่งต่อข้อมูลดังกล่าว แต่หากข้อมูลข่าวสารไม่มีความชัดเจน หรือเข้าข่ายที่จะเป็นข่าวปลอม (Fake News) ก็ไม่ควรส่งต่อเพราะ การกระทำดังกล่าวอาจจะเข้าข่ายความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ อาจส่งผลเสียหายต่อผู้ส่งต่อข้อมูลในภายหลัง เช่น การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย เป็นต้น
ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับการแจ้งเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ของประชาชน
หรือสายด่วนแจ้งเหตุด่วนหรือร้องทุกข์ ชี้ช่องทางแจ้งเบาะแส เมื่อพบเห็นเรื่องที่ผิดกฎหมายบนระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) เช่น ข่าวปลอม (Fake news) เว็บพนันออนไลน์ ซื้อ/ขายยาเสพติด และสื่อลามก/อนาจาร/การค้าประเวณี เป็นต้น รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เมื่อพบเห็นเรื่องที่ผิดกผหมาย
ควรจัดหลักสูตรที่มีการสอนการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตให้กับประชาชน เพื่อสร้างอาชีพและรายได้เพิ่มให้กับ
ตนเอง ครอบครัว ชุมชน/หมู่บ้าน เนื่องจากประชาชนบางอาชีพได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 ทำให้รายได้ลดลงหรือว่างงานไม่มีงานทำ เช่น การขายสินค้าและบริการแบบออนไลน์ เป็นต้น
ควรให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในแต่ละพื้นที่และ
กลุ่มอาชีพ ผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น ลดภาระค่าสาธารณูปโภค จ่ายเงินชดเชย/เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ช่วยเหลือ ค่าครองชีพ และพักชำระหนี้/ลดอัตราดอกเบี้ย
มาตรการ/โครงการที่จะช่วยเหลือเยียวยาประชาชนเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤต ไม่ควรกำหนดขั้นตอนหรือวิธี
การลงทะเบียนที่ยุ่งยากซับซ้อน ควรมีขั้นตอนการเข้าถึงสิทธิอย่างสะดวก/ง่ายไม่ยุ่งยาก โดยคำนึงถึงผู้ด้อยโอกาสทางสังคมที่ไม่มีทักษะ/ลงทะเบียนเองไม่ได้ เช่น ผู้ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นต้น เนื่องจากผลการสำรวจพบว่าปัญหาหลักในการลงทะเบียน คือ ขั้นตอนยุ่งยาก/ซับซ้อน
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ