ดำเนินการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร หรือ สำรวจแรงงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ปี 2506 โดยในช่วงแรกสำรวจเพียงปีละ 2 รอบ รอบแรกเป็นการสำรวจนอกฤดูเกษตร และรอบที่ 2 เป็นฤดูเกษตร ต่อมาในปี 2527 - 2540 สำรวจ ปีละ 3 รอบ โดยเพิ่มการสำรวจช่วงเดือนพฤษภาคม เพื่อให้มีแรงงานที่จบการศึกษาใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงาน และในปี 2541 ได้เพิ่มการสำรวจอีก 1 รอบ คือเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตการเกษตรทำให้การสำรวจภาวะ การทำงานของประชากรมีข้อมูลครบทั้ง 4 ไตรมาสในปี 2544 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ปรับปรุงการสำรวจเป็นรายเดือน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถติดตามภาวะการมีงานทำของประชากรได้อย่างต่อเนื่องทุกเดือน โดยนำเสนอผลการสำรวจในระดับภาค และประเทศโครงสร้างกำลังแรงงาน
ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 พบว่าผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 58.56 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อมจะทำงาน 39.23 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วยผู้มีงานทำ 38.39 ล้านคน ผู้ว่างงาน 5.06 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล 3.29 แสนคน ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานหรือผู้ที่ไม่พร้อมทำงาน 19.33 ล้านคน ได้แก่ แม่บ้าน นักเรียน คนชรา เป็นต้น การมีงานทำเปรียบเทียบจำนวนผู้มีงานทำ จำแนกตามอุตสาหกรรม
สำหรับจำนวนผู้มีงานทำ 38.39 ล้านคน ประกอบด้วย ผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรม 10.61 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรม 27.78 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 พบว่า ผู้มีงานทำลดลง 0.47 ล้านคน (จาก 38.86 ล้านคน เป็น 38.39 ล้านคน)
โดยผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรม มีจำนวนลดลง 1.34 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นในกิจกรรมการปลูกอ้อย การปลูกต้นยางพารา และการปลูกทุเรียน
จำนวนผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรม ในภาพรวมเพิ่มขึ้น 0.87 ล้านคน โดยสาขาที่เพิ่มขึ้นมากใน 5 ลำดับแรก ได้แก่ สาขาการขายส่ง และการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น 6.2 แสนคน สาขากิจกรรมการบริหารและการสนับสนุนเพิ่มขึ้น 1.8 แสนคน สาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศ และการปะกันสังคมภาคบังคับเพิ่มขึ้น 1.7 แสนคน สาขาการผลิตและสาขากิจกรรมทางวิชาชีพ วิทยาศาตร์ และเทคนิคเพิ่มขึ้นเท่ากัน คือ 1.6 แสนคน สาขากิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์เพิ่มขึ้น 1.5 แสนคน สาขาที่ลดลง ได้แก่ สาขาการก่อสร้างลดลง 5.9 แสนคน สาขาการขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้าลดลง 2.7 แสนคน สาขากิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ ลดลง 0.9 แสนคน สาขากิจกรรมการจ้างงานในครัวเรือนส่วนบุคคลฯ ลดลง 0.5 แสนคน สาขากิจกรรมทางการเงินและการประกันภัยลงลง 0.3 แสนคน จำนวนผู้มีงานทำ จำแนกตามชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์และเพศ
เมื่อพิจารณาถึงชั่วโมงทำงาน ของผู้มีงานทำต่อสัปดาห์ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 พบว่า ส่วนใหญ่ทำงานตั้งแต่ 35-49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีจำนวน 25.72 ล้านคน หรือร้อยละ 67.0 ของผู้มีงานทำทั้งหมด และผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีจำนวนเท่ากันกับผู้ทำงาน 50 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ ประมาณ 6 ล้านคน หรือร้อยละ 16.5
การทำงานต่ำกว่าระดับด้านเวลา หากพิจารณาถึงจำนวนผู้มีงานทำแต่ยังทำงานได้ไม่เต็มเวลา ซึ่งหมายถึง ผู้ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และต้องการทำงานเพิ่ม หรือเรียกว่า ผู้ทำงานต่ำกว่าระดับ (Underemployment workers) จากผลการสำรวจพบว่า มีผู้ทำงานต่ำกว่าระดับด้านเวลา จำนวน 2.52 แสนคน หรือร้อยละ 0.7 ของจำนวนผู้ทำงานทั้งหมด เมื่อพิจารณาตามเพศ พบว่ามีเพศชายมากกว่าเพศหญิง (เพศชาย 1.59 แสนคน และเพศหญิง 0.93 แสนคน)การว่างงานจำนวนผู้ว่างงาน จำแนกตามภาค
ในเดือนเมษายน 2565 พบว่า มีจำนวนผู้ว่างงาน 5.06 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.3 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 จะเห็นได้ว่า จำนวนผู้ว่างงานทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 0.16 แสนคน (จาก 4.90 แสนคน เป็น 5.06 แสนคน) เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า จำนวนผู้ว่างงานภาคกลางเพิ่มขึ้น 2.2 หมื่นคน ภาคใต้เพิ่มขึ้น 1.6 หมื่นคน ภาคเหนือเพิ่มขึ้น 0.4 หมื่นคน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดลง 2.2 หมื่นคน และกรุงเทพมหานครลดลง 0.4 หมื่นคน เปรียบเทียบจำนวนและอัตราการว่างงาน จำแนกตามเพศและกลุ่มอายุ
จำนวนการว่างงาน ในเดือนเมษายน 2565 มีทั้งสิ้น 5.06 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.3 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 1.6 หมื่นคน และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.2 เป็นร้อยละ 1.3
เมื่อพิจารณาอัตราการว่างงานตามเพศ พบว่า เพศหญิงมีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.2 และเพศชายมีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.4 หากเปรียบเทียบอัตราการว่างงานกับเดือนมีนาคม 2565 พบว่า อัตราการว่างงานเพศชายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.2 เป็นร้อยละ 1.4 และเพศหญิงเลดลงจากร้อยละ 1.3 เป็นร้อยละ 1.2
การว่างงานตามกลุ่มอายุ พบว่า วัยเยาวชน (อายุ 15-24 ป) มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา คือ ร้อยละ 5.4 เป็นร้อยละ 6.2 และวัยผู้ใหญ่ (อายุ 25 ปีขึ้นไป) มีอัตราการว่างงานคงที่ คือ ร้อยละ 0.8 เปรียบเทียบจำนวนผู้ว่างงาน จำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ
ระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงาน พบว่า เป็นผู้ว่างงานที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา 1.86 แสนคน รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 0.90 แสนคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 0.77 แสนคน ระดับ ปวช./ปวส. 0.74 แสนคน ระดับประถมศึกษา 0.45 แสนคน และไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 0.33 แสนคน ที่เหลืออยู่ในการศึกษาอื่น ๆ
เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา พบว่าผู้ว่างงานระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้น 0.24 แสนคน ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาเพิ่มขึ้น 0.18 แสนคน ระดับ ปวช./ปวส. เพิ่มขึ้น 0.10 แสนคน ระดับประถมศึกษาลดลง 0.17 แสนคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นลดลง 0.13 แสนคน และระดับอุดมศึกษาลดลง0.6 หมื่นคนจำนวนผู้ว่างงาน จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน
ประสบการณ์การทำงานของผู้ว่างงาน พบว่า เป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 2.46 แสนคน (ร้อยละ 48.6) และผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 2.60 แสนคน (ร้อยละ 51.4) โดยเป็นผู้ว่างงานจากนอกภาคเกษตรกรรม 2.45 แสนคน ซึ่งประกอบด้วยภาคการบริการและการค้า 1.64 แสนคน และภาคการผลิต 0.81 แสนคน ส่วนผู้ว่างงานจากภาคเกษตรกรรมมีจำนวน 0.15 แสนคนจำนวนผู้ว่างงาน จำแนกตามประสบการณ์การทำงานและระดับการศึกษาที่สำเร็จ
ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน จำนวน 2.46 แสนคน สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา 1.29 แสนคน รองลงมาเป็นระดับ ปวช./ปวส. 0.42 แสนคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 0.35 แสนคน ระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น 0.23 แสนคน ระดับประถมศึกษา 0.14 แสนคน และไม่มีการศึกษาและ ต่ำกว่าประถมศึกษา 0.02 แสนคน
ผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน จำนวน 2.60 แสนคน สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา 0.57 แสนคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเท่ากัน คือ 0.54 แสนคน ระดับ ปวช./ปวส. และไม่มีการศึกษา และต่ำกว่าประถมศึกษาเท่ากันคือ 0.32 แสนคน และระดับประถมศึกษา 0.31 แสนคน ที่เหลืออยู่ในการศึกษาอื่น ๆ
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ