ไตรมาสที่1 ปี 2566 การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น จากสาขานอกภาคเกษตรกรรม เมื่อ
เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ตลาดแรงงานยังคงเปราะบาง เนื่องจากแรงงานส่วนหนี่ง
ยังมีชั่วโมงการทำงานน้อย ส่งผลให้รายได้ยังอยู่ในระดับต่ำ
สถานการณ์ด้านแรงงานในไตรมาสที่ 1
พ.ศ. 2566 มีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 40.28
ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้มีงานทำ 39.63 ล้านคน
ผู้ว่างงาน 0.42 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน
ร้อยละ 1.1 ผู้รอฤดูกาล 0.23 ล้านคน ส่วนผู้ที่อยู่
นอกกำลังแรงงาน 18.53 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่
ทำงานบ้าน (ดูแลบ้านตนเอง) เรียนหนังสือ ยังเด็ก
ชรา ป่วยหรือพิการจนไม่สามารถทำงานได้
ผู้มีงานทำ คือ ผู้ที่ทำงานในรอบสัปดาห์ที่สำรวจ (7 วันที่ผ่านมา)
ได้รับค่าจ้าง คือ ผู้มีงานทำที่ไม่ได้ทำงานในรอบสัปดาห์ที่สำรวจ (7 วันที่ผ่านมา) แต่ยังได้รับเงินเดือน
ไม่ได้รับค่าจ้าง คือ ผู้มีงานทำที่ไม่ได้ทำงานในรอบสัปดาห์ที่สำรวจ (7 วันที่ผ่านมา) และไม่ได้รับเงินเดือน แต่ยังมีงานที่จะกลับไปทำ
สรุปผลที่สำคัญ
สำรวจภาวะการทำงานของประชากรไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2566
ไตรมาสที่1 ปี 2566 การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น จากสาขานอกภาคเกษตรกรรม เมื่อ
เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ตลาดแรงงานยังคงเปราะบาง เนื่องจากแรงงานส่วนหนี่ง
ยังมีชั่วโมงการทำงานน้อย ส่งผลให้รายได้ยังอยู่ในระดับต่ำ
เมื่อเปรียบเทียบการมีงานทำในไตรมาสที่1 พ.ศ. 2566กับไตรมาสที่ผ่านมา (ไตรมาสที่4 พ.ศ. 2565)
พบว่า ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น 0.04 ล้านคน (จาก 39.59 ล้านคน เป็น 39.63 ล้านคน) หากพิจารณาผู้มีงานทำ
ที่ไม่ได้ทำงานในรอบสัปดาห์ที่สำรวจ แต่มีงานประจำหรือมีงานที่จะกลับไปทำ มีจำนวน 0.56 ล้านคน
เป็นผู้ที่ไม่ได้รับค่าจ้าง 0.49 ล้านคน และได้รับค่าจ้างเพียง 0.07 ล้านคน
การจ้างงานโดยรวม เพิ่มขึ้น 2.4% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2565)
(จากผู้มีงานทำ 38.71 ล้านคน เป็น 39.63 ล้านคน) เป็นการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 2.7%
(จาก 27.31 ล้านคน เป็น 28.04 ล้านคน) ซึ่งเพิ่มขึ้นในภาคการบริการและการค้า ส่วนการจ้างงานภาค
เกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.7% (จาก 11.40 ล้านคน เป็น 11.59 ล้านคน)
วโมงการทำงานเฉลี่ยของลูกจ้างภาคเอกชน มีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยเท่ากับ 44.3 ชั่วโมง/สัปดาห์
เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2565) (43.8 ชั่วโมง/สัปดาห์) แต่ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา
(46.5 ชั่วโมง/สัปดาห์) ชี้ให้เห็นว่าแม้แรงงานจะมีงานทำ แต่ยังมีการทำงานไม่เต็มเวลาปกติซึ่งอาจจะส่งผล
ต่อรายได้ของแรงงาน
จำนวนผู้ว่างงาน
1/ ในไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2566 มีทั้งสิ้น 4.21 แสนคน ลดลง 1.87 แสนคน
จากในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานที่ร้อยละ 1.1 โดยปรับลดลงอย่างต่อเนื่องจาก
ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2565 ที่มีอัตราการว่างร้อยละ 1.5 เป็นร้อยละ 1.1 ตามลำดับ
หากพิจารณาตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า ผู้ว่างงานในไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2566 นั้น เป็น
ผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 2.08 แสนคน และไม่เคยทำงานมาก่อน 2.13 แสนคน โดยผู้ว่างงานที่เคยทำงาน
มาก่อนเป็นผู้ที่เคยทำงานในภาคการบริการและการค้า 1.21 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 58.2 ภาคการผลิต 0.65
แสนคน (ร้อยละ 31.2) และภาคการเกษตร 0.22 แสนคน (ร้อยละ 10.6) สำหรับผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อนจะ
เป็นวัยเยาชนอายุ 15-24 ปี มากกว่าวัยผู้ใหญ่อายุ 25 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 69.0 และร้อยละ 31.0 ตามลำดับ)
เมื่อพิจารณาผู้เสมือนว่างงานหรือผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องให้
ความสำคัญ เนื่องจากแรงงานกลุ่มนี้แม้ไม่ตกงาน แต่ก็มีรายได้ลดลงตามชั่วโมงการทำงาน ที่อาจส่งผลให้มี
รายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพทั้งครัวเรือน โดยในไตรมาส 1 พ.ศ.2566 มีผู้เสมือนว่างงานจำนวน 3.35 ล้านคน
ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ