รายงานนี้เสนอผลการสำรวจภาวะการมีงานทำ
ของประชากรในกรุงเทพมหานคร โดยปฏิบัติงานเก็บ
รวบรวมข้อมูลในเดือนตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
พ.ศ. 2565..เป็นการสำรวจไตรมาสที่.4 ของ.ปี.2565
ผลการสำรวจทำให้ทราบถึงภาวะการมีงานทำ
การว่างงาน และลักษณะที่สำคัญบางประการของ
กำลังแรงงานในกรุงเทพมหานครระหว่างเดือน
ตุลาคม ? ธันวาคม พ.ศ. 2565
อนึ่งจำนวนประชากร ที่ใช้เป็นฐานใน
การประมาณผลตามระเบียบวิธีการสุ่มตัวอย่าง
สำหรับโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร
ตั้งแต่รอบที่ 1เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ..2538 เป็นต้นมานั้น
ได้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนประชากร
ที่ใช้ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ซึ่งได้จากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย
พ.ศ. 2553-2583 ที่ได้จัดทำขึ้นใหม่โดยสำนักงาน
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1. ลักษณะของกำลังแรงงาน
จากผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร
ระหว่างเดือนตุลาคม ? ธันวาคม พ.ศ. 2565 พบว่า
กรุงเทพมหานคร มีจำนวนประชากรผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป
7,863,390.คน.เป็นชาย.3,730,677.คน.และหญิง
4,132,713คน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 5,762,451คน
และเป็นผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 2,100,939 คน
สำหรับผู้อยู่ในกำลังแรงงาน มีจำนวน
5,762,451คน คิดเป็นร้อยละ 73.3 ของประชากร
ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เป็นชาย 2,956,354 คน เป็น
ห ญิง 2,806,097 ค น ผู อ ยู่ใน ก ล ง แ ร ง ง น
ประกอบด้วยผู้มีงานทำ จำนวน 5,692,759.คน.
คิดเป็นร้อยละ 72.4เป็นผู้ว่างงานจำนวน 69,692.คน
หมายถึง ผู้ไม่มีงานทำและพร้อมที่จะทำงาน .
ส่วนผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานที่รอฤดูกาล หมายถึง
ผู้ที่รอฤดูกาลที่เหมาะสมเพื่อที่จะทำงานและ
เป็นบุคคลที่ตามปกติจะทำงานโดยไม่ได้รับสิ่งตอบแทน
ในไร่นาเกษตรหรือธุรกิจ ซึ่งทำกิจกรรมตามฤดูกาล
และในการสำรวจครั้งนี้ไม่พบกำลังแรงงานที่รอฤดูกาล
ส่วนผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน มี จำนวน
2,100,939 คน คิดเป็นร้อยละ 26.7 ของประชากร
ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ประกอบด้วย ผู้ที่ทำงานบ้าน
จำนวน 550,437 คน คิดเป็นร้อยละ.7.0 ผู้ที่เรียน
หนังสือจำนวน.479,829 คน คิดเป็นร้อยละ.6.1
ผู้ที่ยังเด็กหรือผู้ชราหรือผู้ป่วยผู้พิการไม่สามารถทำงานได้
จำนวน 737,232 คน คิดเป็นร้อยละ 9.4 และอื่น ๆ
ได้แก่ พักผ่อนและเกษียณการทำงาน ไม่สมัครใจทำงาน
ผู้ทำงานให้แก่บุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกในครัวเรือน
เดียวกันหรือองค์กรการกุศล.สถาบันต่าง.ๆ โดยไม่ได้
รับค่าจ้างผลกำไรส่วนแบ่ง หรือสิ่งตอบแทนแต่อย่างใด
จำนวน 333,441.คน คิดเป็นร้อยละ.4.2
2. ผู้มีงานทำ
2.1 การศึกษา
จากการสำรวจพบว่า ผู้มีงานทำที่มี
อายุ.15.ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานคร.จำนวน 5,692,759คน
พ บ ว่าเป็ น ช ย.2,918,602 ค น .แ ล เป็ น ห ญิ ง
2,774,158คน หรือคิดเป็นร้อยละ51.3และร้อยละ.48.7
ตามลำดับ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา
มากที่สุดจำนวน 2,158,731 คน คิดเป็นร้อยละ.37.9
โดยมีสัดส่วนของชายร้อยละ.33.3 และหญิงร้อยละ
42.8.รองลงมาเป น ผู้ส เร็จ ก ร ศึก ษ ร ดับ
มัธยมศึกษาตอนปลายมีจำนวน.1,233,364 คน
มีสัดส่วนชายร้อยละ.23.8 และหญิงร้อยละ 19.5
และผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวน
996,174 คน โดยมีสัดส่วนของชายร้อยละ 17.8 และ
หญิงร้อยละ 17.2 .สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้น มีจำนวน 877,675 คน โดยมี
สัดส่วนของชายร้อยละ 18.3 หญิงร้อยละ 12.4
ส่วนผู้ที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษา
และผู้ไม่มีการศึกษามีเพียงร้อยละ 4.6 และ 2.1
ตามลำดับ
2.2 อาชีพ
ประชากรในกรุงเทพมหานครผู้มีอายุ
15.ปีขึ้นไป.ที่มีงานทำจำนวนทั้งสิ้น.5,692,759 คน
เมื่อจำแนกตามอาชีพของผู้มีงานทำอายุ15 ปีขึ้นไป
พบว่ามีผู้ประกอบอาชีพพนักงานบริการและ
ผู้จำหน่ายสินค้ามากที่สุด.1,607,011คน.หรือร้อยละ28.2
โดยมีสัดส่วนของชายน้อยกว่าหญิงคือชายร้อยละ23.3
และหญิงร้อยละ 33.4 รองลงมา คือ ผู้ควบคุม
เครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงาน
ด้านการประกอบ มีจำนวน 825,989คนคิดเป็นร้อยละ14.5
ซึ่งมีสัดส่วนชายมากกว่าหญิงคือ ชายร้อยละ 22.1
และหญิงร้อยละ 6.5
สำหรับผู้ประกอบอาชีพงานขั้นพื้นฐาน
มี677,617คน โดยสัดส่วนของชายน้อยกว่าหญิง คือ
ชายร้อยละ 8.5 และหญิงร้อยละ 15.5 ส่วนที่เหลือ
ทำงานอยู่ในอาชีพอื่น ๆ
2.3อุตสาหกรรม
เมื่อพิจารณาถึงประเภทอุตสาหกรรม
หรือลักษณะการประกอบกิจกรรมของผู้มีงานทำ
เชิงเศรษฐกิจอายุ 15 ปีขึ้นไป ในกรุงเทพมหานคร
พบว่า ประเภทอุตสาหกรรมที่มีผู้ทำงานมากที่สุด
คือ สาขาการขายส่งและการขายปลีก.การซ่อมแซม
ยานยนต์และรถจักรยานยนต์.1,268,579 คน หรือ
ร้อยละ 22.3 โดยมีสัดส่วนของชายน้อยกว่าหญิง
คือ ชายร้อยละ 21.0 และหญิงร้อยละ 23.7 รองลงมา
ได้แก่ ผู้ทำงานในสาขาการผลิต 908,040.คน.หรือ
ร้อยละ.15.9โดยสัดส่วนการทำงานของชายน้อยกว่าหญิง
คือ.ชายร้อยละ.15.0และหญิงร้อยละ 16.3สาขาที่พักแรม
และการบริการด้านอาหาร671,877คน หรือร้อยละ11.8
โดยมีสัดส่วนของชายน้อยกว่าหญิง.คือ.ชายร้อยละ 8.5
และหญิงร้อยละ 15.2 สำหรับผู้ทำงานในสาขาการขนส่ง
และสถานที่เก็บสินค้ามี. 522,918 คน หรือร้อยละ 9.2
โดยสัดส่วนของชายมากกว่าหญิง คือชายร้อยละ.15.0
และหญิงร้อยละ.3.1..ส่วนที่เหลือจะกระจายอยู่ใน
อุตสาหกรรมอื่น ๆ
2.4 สถานภาพการทำงาน
เมื่อพิจารณาสถานภาพการทำงานของ
ประชากรในกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้มีงานทำที่มี
อายุ 15 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ทำงานเป็นลูกจ้างมากที่สุด
ถึงร้อยละ 68.7 โดยเป็นลูกจ้างเอกชนจำนวน
3,366,513 คน คิดเป็นร้อยละ.59.1.และลูกจ้างรัฐบาล
จำนวน 544,930 คน คิดเป็นร้อยละ 9.6 โดย
ลูกจ้างทั้ง 2.ประเภท มีสัดส่วนการทำงานของเพศชาย
น้อยกว่าเพศหญิง.คือ.ชายร้อยละ 66.5 และหญิง
ร้อยละ.71.0.รองลงมา.คือ.ทำงานส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้าง
จำนวน 1,298,472คน คิดเป็นร้อยละ 22.8ของผู้มีงานทำ
ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยมีสัดส่วนชายร้อยละ.26.5
และหญิงร้อยละ.18.9.นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ช่วยธุรกิจ
ในครัวเรือนจำนวน.328,445.คน และนายจ้างอีก
จำนวน 152,495.คน หรือคิดเป็นร้อยละ 5.8.และ 2.7
ตามลำดับ
2.5 ชั่วโมงทำงาน
ผู้มีงานทำที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน
5,692,759คน ประกอบด้วยผู้มีงานทำน้อยกว่า 1 ชั่วโมง
จำนวน 15,517 คน คิดเป็นร้อยละ 0.3 และ
ผู้ที่ทำงานในสัปดาห์แห่งการสำรวจตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป
จำนวน 5,677,243 คนคิดเป็นร้อยละ 99.7 ซึ่ง พบว่า
เป็นผู้ที่ทำงาน 35-49.ชั่วโมงต่อสัปดาห์มากที่สุด
4,442,424 คน คิดเป็นร้อยละ.78.0 โดยมีสัดส่วน
การทำงานของชายน้อยกว่าหญิง คือ ชายร้อยละ 77.6
และหญิงร้อยละ 78.5 รองลงมา คือ.ผู้ที่ทำงาน
50 ชั่วโมงขึ้นไป จำนวน 950,487.คน คิดเป็นร้อยละ.16.7
ซึ่งมีสัดส่วนของชายมากกว่าหญิง คือ ชายร้อยละ 17.5
และหญิงร้อยละ.15.8 สำหรับผู้ที่ทำงาน 10-34 ชั่วโมง
มีจำนวน 280,961 คน คิดเป็นร้อยละ 4.9
3. ภาวะการว่างงานของประชากร
จาก ผ ล ก ร ส ร ว จ ใ น ไ ต ร ม ส ที่ 4
ตุลาคม ?ธันวาคม พ.ศ.2565. พบว่าผู้มีอายุ.15.ปีขึ้นไป
ในกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น.7,863,390.คน.เป็นผู้ว่างงาน
จำนวน.69,692 คน โดยเป็นชาย.37,752 คนและ
หญิง 31,940 คน.หรือคิดเป็นร้อยละ 54.2 และ
45.8 ตามลำดับ ของผู้ว่างงานทั้งหมด
อัตราการว่างงาน1
ของประชากรอายุ.15 ปีขึ้นไป
หมายถึง สัดส่วนของผู้ว่างงานต่อจำนวนประชากร
ผู้อยู่ในกำลังแรงงานรวม พบว่า กรุงเทพมหานคร
มีผู้อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 5,762,451.คน
เป็นชาย 2,956,354 คน และหญิง 2,806,097 คน
โดยมีอัตราการว่างงานของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน
รวมอยู่ที่ร้อยละ.1.2 คิดเป็นอัตราการว่างงานชาย
ร้อยละ 1.3 และหญิงร้อยละ 1.1
ผู้เสมือนว่างงาน2 หมายถึง ผู้ทำงานน้อยกว่า
4 ชั่วโมงต่อวัน โดยคิดจากผู้ที่อยู่ในภาคเกษตรทำงาน
0 - 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และผู้ที่อยู่นอกภาคเกษตร
ทำงาน 0 - 24 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ข้อมูลที่นำเสนอ
ในไตรมาสนี้ของกรุงเทพมหานคร พบเพียง ผู้เสมือน
ว่างงานที่อยู่นอกภาคเกษตรเท่านั้น มีจำนวน 93,772คน
เป็นชาย 42,299คน และหญิง 51,473คน หรือคิดเป็น
ร้อยละ 45.1 และ 54.9 ตามลำดับ
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ