สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติดมาแล้ว 13 ครั้ง เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาจนถึงรัฐบาลชุดปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจภายหลังการดำเนินงานตามนโยบาย “ประเทศไทยเข้มแข็ง ชนะยาเสพติดยั่งยืน” ภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน ซึ่งกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เดือน เม.ย. — ก.ย. 52 และระยะที่ 2 เดือน พ.ย. 52 — ก.ย. 53 โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1 — 20 ก.พ. 53 ซึ่งเป็นการสำรวจภายหลังการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน ระยะที่ 2 มาแล้ว 3 เดือน
สรุปผลการสำรวจที่สำคัญๆ
ประชาชนร้อยละ 72.5 ระบุว่าทราบนโยบาย “ ประเทศไทยเข้มแข็ง ชนะยาเสพติดยั่งยืน” และร้อยละ 27.5 ระบุว่าไม่ทราบ โดยผู้ที่ทราบส่วนใหญ่ในทุกภาคจะทราบจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด
ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติดโดยรวม ผลการสำรวจในเดือน ก.พ. 53 ประชาชนร้อยละ 37.5 เห็นว่ายังมีปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดในชุมชน/หมู่บ้าน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเดือน ก.พ. 52 ซึ่งมีร้อยละ 32.2
สำหรับผู้ที่ระบุว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติดยังมีปัญหาอยู่นั้น ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในด้านต่างๆ ดังนี้
2.1 ปัญหาด้านผู้ค้า หรือผู้ลักลอบค้ายาเสพติด
ปัญหาด้านผู้ค้า หรือผู้ลักลอบค้ายาเสพติด ประชาชนเห็นว่ายังคงมีปัญหาอยู่และความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.9 (ก.พ. 52) เป็นร้อยละ70.7 (ก.พ. 53)
2.2 ปัญหาด้านผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
ปัญหาด้านผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ประชาชนเห็นว่ายังมีปัญหาอยู่ โดยผลการสำรวจในเดือน ก.พ. 52 และผลการสำรวจในเดือน ก.พ. 53 ประชาชนมีความคิดเห็นในสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 95.2 (ก.พ. 52) และร้อยละ 95.1 (ก.พ. 53)
2.3 ปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดในโรงเรียน/สถานศึกษา
ผลการสำรวจในเดือน ก.พ. 53 ประชาชนร้อยละ 51.3 ระบุว่ามีปัญหา และร้อยละ 48.7 ระบุว่าไม่มีปัญหาโดยผู้ที่ระบุว่ามีปัญหาเห็นว่าปัญหาที่มีอยู่ในระดับมาก — มากที่สุดร้อยละ 4.6 (โดยรวมแล้วปัญหาที่มีอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 0.6 และมากร้อยละ 4.0) ส่วนร้อยละ 8.5 ระบุว่าค่อนข้างมาก ร้อยละ 13.9 ระบุว่าค่อนข้างน้อยและร้อยละ 24.3 ระบุว่าน้อย โดยผลการสำรวจในเดือน ก.พ. 53 ประชาชนร้อยละ 51.3 เห็นว่ามีปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดในโรงเรียน/สถานศึกษา และปัญหาได้เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเดือนก.พ. 52 ซึ่งมีร้อยละ 19.2
ผลการสำรวจในเดือน ก.พ. 53 ประชาชนร้อยละ 14.2 ระบุว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดรักษาแล้วกลับไปใช้ยาเสพติดอีก ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกับผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเดือน ก.พ. 52 ซึ่งมีร้อยละ 14.1
ในการหาซื้อยาเสพติดนั้น ผลการสำรวจในเดือน ก.พ. 53 ประชาชนร้อยละ 35.5 ระบุว่าหาซื้อยาเสพติดไม่ได้ และร้อยละ 10.1 ระบุว่าหาซื้อยาเสพติดยาก ในขณะที่ร้อยละ 11.4 ระบุว่าหาซื้อยาเสพติดง่าย ส่วนร้อยละ 43.0 ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ โดยผลการสำรวจในเดือน ก.พ. 53 ประชาชนร้อยละ 11.4 เห็นว่าการหาซื้อยาเสพติดง่ายมีเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเดือน ก.พ 52 ซึ่งมีร้อยละ 8.0
ผลการสำรวจในเดือน ก.พ. 53 ประชาชนร้อยละ 74.1 ระบุว่ายอมรับ และร้อยละ 25.9 ระบุว่าไม่ยอมรับ โดยผู้ที่ยอมรับจะมีการยอมรับอยู่ในระดับมาก - มากที่สุดร้อยละ 33.4 ปานกลางร้อยละ 37.7 และน้อยร้อยละ 3.0 โดยผลการสำรวจในเดือน ก.พ. 53 ประชาชนร้อยละ 74.1 ระบุว่ามีการยอมรับหรือให้โอกาสผู้เลิกเสพยาเสพติดฯ ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเดือน ก.พ. 52 ซึ่งมีร้อยละ 82.4
6.1 รั้วชุมชน ในภาพรวมของการดำเนินงานด้านการป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชน/หมู่บ้าน ประชาชนร้อยละ60.4 ระบุว่ามีการดำเนินงาน และร้อยละ 15.0 ระบุว่าไม่มีการดำเนินงาน ส่วนร้อยละ 24.6 ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ โดยผู้ที่เห็นว่าการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวแล้วทำให้ชุมชน/หมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นร้อยละ 24.8 ดีเหมือนเดิมร้อยละ 31.3 ส่วนผู้ที่ระบุว่าการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวแล้วทำ ให้ชุมชน/หมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลงแย่เหมือนเดิมมีร้อยละ 4.0 และแย่ลงร้อยละ 0.3
6.2 รั้วโรงเรียน ในภาพรวมของการดำเนินงานด้านการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ประชาชนร้อยละ 63.1 ระบุว่าว่ามีการดำเนินงาน และร้อยละ 10.1 ระบุว่าไม่มีการดำเนินงาน ส่วนร้อยละ 26.8 ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ โดยผู้ที่เห็นว่าการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวแล้วทำให้ชุมชน/หมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นร้อยละ 28.5 ดีเหมือนเดิมร้อยละ 32.7 ส่วนผู้ที่ระบุว่าการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวแล้วทำให้ชุมชน/หมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลงแย่เหมือนเดิมมีร้อยละ 1.7 และแย่ลงร้อยละ 0.2
6.3 รั้วครอบครัว ในภาพรวมของการดำเนินงานด้านการป้องกันปัญหายาเสพติดในครอบครัว ประชาชนร้อยละ 46.1 ระบุว่ามีการดำเนินงาน และร้อยละ 25.0 ระบุว่าไม่มีการดำเนินการ ส่วนร้อยละ 28.9 ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ โดยผู้ที่เห็นว่าการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวแล้วทำให้ชุมชน/หมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นร้อยละ 19.2 ดีเหมือนเดิมร้อยละ 25.0 ส่วนผู้ที่ระบุว่าการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวแล้วทำ ให้ชุมชน/หมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลงแย่เหมือนเดิมมีร้อยละ 1.7 และแย่ลงร้อยละ0.2
6.4 รั้วสังคม
1) ด้านการปราบปรามยาเสพติด ในภาพรวมของการดำเนินงาน ประชาชนร้อยละ 46.9 ระบุว่ามีการดำเนินงาน และร้อยละ 26.3 ระบุว่าไม่มีการดำเนินงาน ส่วนร้อยละ 26.8 ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ โดยผู้ที่เห็นว่าการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวแล้วทำให้ชุมชน/หมู่บ้านมีการ เปลี่ยนแปลงดีขึ้นร้อยละ 18.3 ดีเหมือนเดิมร้อยละ 22.3 ส่วนผู้ที่ระบุว่าการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวแล้วทำให้ชุมชน/หมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลงแย่เหมือนเดิมมีร้อยละ 5.4 และแย่ลงร้อยละ 0.9
2) ด้านการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในภาพรวมของการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ประชาชนร้อยละ 28.8 ระบุว่ามีการดำเนินงาน และร้อยละ 33.8 ระบุว่าไม่มีการดำเนินงานส่วนร้อยละ 37.4 ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ โดยผู้ที่เห็นว่าการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวแล้วทำให้ชุมชน/หมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นร้อยละ 11.0 ดีเหมือนเดิมร้อยละ 15.2 ส่วนผู้ที่ระบุว่าการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวแล้ว ทำให้ชุมชน / หมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลงแย่เหมือนเดิมมีร้อยละ 2.3 และแย่ลงร้อยละ 0.3
6.5 รั้วชายแดน ในภาพรวมของการดำเนินงานด้านการป้องกันปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดน ประชาชนใน 30 จังหวัดชายแดนทั่วประเทศร้อยละ 55.5 ระบุว่ามีการดำเนินงานและร้อยละ 16.3 ระบุว่าไม่มีการดำเนินงาน ส่วนร้อยละ 28.2 ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ โดยผู้ที่เห็นว่าการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวแล้วทำให้ชุมชน/หมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นร้อยละ 21.1 ดีเหมือนเดิมร้อยละ 27.1 ส่วนผู้ที่เห็นว่าการ ดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวแล้วทำให้ชุมชน/หมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลงแย่เหมือนเดิมมีร้อยละ 5.3 และแย่ลงร้อยละ 2.0 (สำหรับจังหวัดชายแดน 30 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กาญจนบุรีราชบุรีเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ตราด จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำ นาจเจริญ ชุมพร ระนอง นราธิวาส สงขลา ยะลา และสตูล )
ผลการสำรวจในเดือน ก.พ. 53 ประชาชนร้อยละ 3.7 ระบุว่าเจ้าหน้าที่ภาครัฐมีการติดตาม ดูแล และให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 21.7 ระบุว่ามาก ร้อยละ 41.0 ระบุว่าปานกลาง และร้อยละ 18.7 ระบุว่าน้อย ส่วนร้อยละ 14.9 ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบโดยผลการสำรวจในเดือน ก.พ. 53 ประชาชนร้อยละ 25.4เห็นว่าเจ้าหน้าที่ภาครัฐมีการติดตาม ฯ อยู่ในระดับมาก — มากที่สุด พบว่า ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเดือน ก.พ.52 ซึ่งมีร้อยละ 27.1
นอกจากนั้น ผลการสำรวจในเดือน ก.พ. 53 ประชาชนร้อยละ 8.6 ระบุว่ามีที่เจ้าหน้าที่ภาครัฐได้เข้าไปกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในชุมชน/หมู่บ้าน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเดือน ก.พ. 52 ซึ่งมีร้อยละ 5.5
ผลการสำรวจในเดือน ก.พ. 53 ประชาชนร้อยละ 97.7 ระบุว่ามีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของรัฐบาลในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด มีเพียงร้อยละ 2.3 ที่ระบุว่าไม่พึงพอใจ โดยผู้ที่พึงพอใจมีระดับความพึงพอใจมาก — มากที่สุดร้อยละ 36.5 (โดยรวม แล้วความพึงพอใจที่มีอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 6.0 และมากร้อยละ 30.5) ปานกลางร้อยละ 43.4 และ น้อยร้อยละ 17.8 เมื่อพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ผลการสำรวจในเดือน ก.พ. 53 ประชาชนมีความพึงพอใจด้วยคะแนนเฉลี่ย 5.91 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากผลการสำรวจในเดือน ก.พ. 52 ที่ประชาชนมีความพึงพอใจด้วยคะแนนเฉลี่ย 5.85 คะแนน
ประชาชนร้อยละ 38.4 ได้แสดงความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการการป้องกัน/แก้ไขปัญหายาเสพติดดังนี้ การปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง (ร้อยละ 49.7)การใช้กฎหมายลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดอย่างเด็ดขาด(ร้อยละ 35.7) การจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด (ร้อยละ 7.0) การรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ทุกฝ่าย(ร้อยละ 5.2) การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องยาเสพติด(ร้อยละ 4.9) และการลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ละเลยการปฏิบัติงานอย่างเข้มงวด (ร้อยละ 4.7) เป็นต้น
ในการสำรวจครั้งนี้ได้สำ รวจด้วยตัวอย่างแบบ Stratified Three-stage Sampling โดยส่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติไปสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ ครัวเรือนละ 1 รายได้ประชาชนตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 10,000 ราย ระหว่างวันที่ 1 - 20 กุมภาพันธ์ 2553 และนำเสนอผลในระดับกรุงเทพมหานครจังหวัด ภาคภูมิศาสตร์ ภาค ป.ป.ส. และทั่วประเทศ ในรูปร้อยละ โดยมีผู้ตอบสัมภาษณ์ เป็นชาย ร้อยละ 48.8 เป็นหญิง ร้อยละ 51.2 มีอายุ 18 — 19 ปีร้อยละ 5.9 อายุ 20 — 29 ปี ร้อยละ 15.3 อายุ 30 — 39 ปี ร้อยละ 21.3 อายุ 40 — 49 ปี ร้อยละ 24.0 อายุ 50 — 59 ปีร้อยละ 21.0 และอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 12.5 การศึกษาต่ำ กว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 78.0ปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 11.0 ที่เหลือเป็นผู้ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 2.6 สถานภาพการทำงานเป็นเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป/กรรมกร ร้อยละ 36.7 ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/เอกชน ร้อยละ 23.1 ค้าขาย/ประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 20.3 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 6.1 และแม่บ้าน ร้อยละ 9.1 ส่วนผู้ว่างงาน/ไม่มีงานทำ มีร้อยละ 4.7