ผลการสำรวจภาวะการทำ งานของประชากรประจำเดือนพฤษภาคม 2553 พบว่า จากจำนวนผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไปหรือผู้อยู่ในวัยทำงานทั้งสิ้น 53.39 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อมทำงาน 38.05 ล้านคนซึ่งประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 37.02 ล้านคน ผู้ว่างงาน 5.86 แสนคน และผู้รอฤดูกาล 4.44 แสนคน ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานมี 15.34 ล้านคน
จำนวนผู้มีงานทำ 37.02 ล้านคนนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้มีงานทำในช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2552 พบว่าจำนวนผู้มีงานทำลดลง 4.9 แสนคน (จาก 37.51 ล้านคน เป็น 37.02 ล้านคน) หรือลดลงร้อยละ 1.3 โดยผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรมลดลง 1.49 ล้านคน (จาก 13.72 ล้านคน เป็น 12.23 ล้านคน) ส่วนผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้น 1 ล้านคน (จาก 23.79 ล้านคน เป็น 24.79 ล้านคน) เป็นการ เพิ่มในสาขาการขายส่งและขายปลีกฯ มากที่สุด 4.8 แสนคน รองลงมาสาขาการก่อสร้าง 2.9 แสนคน สาขาการศึกษา 2.4 แสนคน สาขาบริหารราชการแผ่นดินฯ 1.8 แสนคน สาขาการโรงแรมและภัตตาคาร 1.0 หมื่นคน ส่วนสาขาอุตสาหกรรมที่ลดลงเป็นสาขาการผลิต 7 หมื่นคน สาขาการ บริการชุมชนฯ ลดลง 3.0 หมื่นคน ที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่น ๆ
หากพิจารณาถึงลักษณะของการทำงานไม่เต็มเวลาจากชั่วโมงการทำงาน พบว่า ในจำนวนผู้ทำงานทั้งหมด 37.02 ล้านคน เป็นผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 7.14 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 19.3 ของผู้มีงานทำซึ่งกลุ่มผู้ทำงานเหล่านี้ คือผู้ที่ทำงานไม่เต็มเวลา หากนำมาเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2552 ผู้ทำงานไม่เต็มเวลามีจำนวนลดลง 2.5 แสนคน (จาก 7.39 ล้านคน เป็น 7.14 ล้านคน) หรือลดลงร้อยละ 0.4 (จากร้อยละ 19.7 เป็นร้อยละ 19.3)
สำหรับจำนวนของผู้ว่างงานในเดือนพฤษภาคม 2553 มีจำนวน ทั้งสิ้น 5.86 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.5 และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2552 มีจำนวนผู้ว่างงานลดลง 7.0 หมื่นคน หรืออัตราการว่างงานลดลงร้อยละ 0.2 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนที่ผ่านมา (เมษายน 2553) มีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 1.35 แสนคน (จาก 4.51 แสนคน เป็น 5.86 แสนคน) แม้ว่าภาวะการว่างงานเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาจะมีผู้ว่างงานลดลง แต่เมื่อพิจารณาถึงภาวะการว่างงานในปัจจุบันกลับจะมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งปัจจัยประการหนึ่งที่สำคัญ คือสถานการณ์ภัยแล้งในขณะนี้ หากสภาวะการฝนทิ้งช่วงยาวนานมากกว่านี้ จะทำให้จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องได้
เมื่อพิจารณาผู้ว่างงานจากประสบการณ์การทำงานพบว่า ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนมีจำนวน 2.01 แสนคนส่วนผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 3.85 แสนคน ซึ่งลดลง 3.4 หมื่นคน จากช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2552 (จาก 4.19 แสนคนเป็น 3.85 แสนคน) โดยเป็นผู้ว่างงานมาจากภาคการผลิต 1.85 แสนคน ภาคการบริการและการค้า 1.41 แสนคน และภาคเกษตรกรรม 5.9 หมื่นคน
หากพิจารณาการว่างงานตามกลุ่มอายุ พบว่ากลุ่มเยาวชน หรือผู้มีอายุระหว่าง 15-24 ปี มีอัตราการว่างงานร้อยละ 6.0 ซึ่งปกติในกลุ่มนี้อัตราการว่างงานจะสูงส่วนกลุ่มวัยผู้ใหญ่ (อายุ 25 ปีขึ้นไป) มีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.9 เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2552 กลุ่มเยาวชนมีอัตราการว่างงานลดลงร้อยละ 0.6 (จากร้อยละ 6.6 เป็นร้อยละ 6.0) และกลุ่มวัยผู้ใหญ่มีอัตราการว่างงานเท่าเดิมคือร้อยละ 0.9
สำหรับระดับการศึกษาที่สำ เร็จของผู้ว่างงานในเดือนพฤษภาคม 2553 พบว่า ผู้ที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีจำนวนมากที่สุด 1.69 แสนคน (ร้อยละ 2.7) รองลงมาเป็นผู้ที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1.34 แสนคน (ร้อยละ 2.2) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1.14 แสนคน (ร้อยละ 2.0) ระดับประถมศึกษา 1.06 แสนคน (ร้อยละ 1.2) และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 6.3 หมื่นคน (ร้อยละ 0.5) เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2552 พบว่า จำนวนผู้ว่างงานลดลงเกือบทุกระดับการศึกษา โดยผู้ว่างงานในระดับอุดมศึกษาลดลง 7.5 หมื่นคน รองลงมาเป็นระดับประถมศึกษา 9 พันคน ผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาลดลง 7 พันคน ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มขึ้น 2.0 หมื่นคน ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้น 1.0 พันคน
หากพิจารณาอัตราการว่างงาน เป็นรายภาค พบว่าภาคใต้มีอัตราการว่างงานสูงที่สุดร้อยละ 2.4 รองลงมาเป็นภาคกลางร้อยละ 1.6 กรุงเทพมหานครร้อยละ 1.5 ภาคเหนือร้อยละ 1.4 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 1.3 ถ้าเปรียบเทียบอัตราการว่างงานในช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2552 พบว่า เกือบทุกภาคมีอัตราการว่างงานลดลง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการว่างงานลดลงมากที่สุดร้อยละ 0.7 รองลงมาเป็น ภาคเหนือลดลงร้อยละ 0.2 ภาคกลางร้อยละ 0.1 ส่วนภาคใต้และกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และ 0.1 ตามลำดับ