การสำรวจอุตสาหกรรมก่อสร้าง พ.ศ. 2552 นับเป็นการสำรวจครั้งที่ 3 ซึ่งได้ดำเนินการจัดทำทุก 5 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบการอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อภาครัฐในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและวางแผนการลงทุน รวมทั้งการจ้างงานของภาคเอกชน การสำรวจครั้งนี้คุ้มรวมสถานประกอบการก่อสร้างทุกแห่งทั่วประเทศ ที่ประกอบกิจกรรมใน 3 หมวดใหญ่ ได้แก่ การก่อสร้างอาคาร/สิ่งก่อสร้าง งานวิศวกรรมโยธาและกิจกรรมการก่อสร้างเฉพาะงาน โดยจัดตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมทางเศรษฐกิจทุกประเภท ตามมาตรฐานสากล (ประเภท F ISIC Rev.4)
การปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการในช่วงเดือนมิถุนายน — กันยายน พ.ศ.2552 สำหรับข้อมูลที่นำเสนอในรายงานฉบับนี้ เป็นผลของการดำเนินกิจการในรอบปีที่ผ่านมาระหว่าง 1 มกราคม — 31 ธันวาคม 2551 ของสถานประกอบการก่อสร้างที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือ สรุปได้ดังนี้
1. จำนวนสถานประกอบการก่อสร้าง
จากสถานประกอบการก่อสร้างในภาคเหนือ จำนวนทั้งสิ้น 5,158 แห่ง ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 68.1) ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร/สิ่งก่อสร้าง รองลงมา ได้แก่ การดำเนินการเกี่ยวกับการเตรียมสถานที่ก่อสร้างประมาณร้อยละ 10.3 และการสร้างอาคารให้ เสร็จสมบูรณ์ ประมาณร้อยละ 7.7 สำหรับการก่อสร้างนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น แต่ละหมู่ย่อยมีสัดส่วนต่ำกว่าร้อยละ 5.0 ของจำนวนสถานประกอบการก่อสร้างทั้งสิ้น
2. ขนาดของสถานประกอบการ (จำนวนคนทำงาน)
ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 61.5) เป็นสถานประกอบการก่อสร้างที่มีคนทำงาน 1 — 5 คน และคนทำงาน 6 — 10 คน มีร้อยละ 23.5 สำ หรับสถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 10 คน มีร้อยละ 15.0
หากพิจารณาตามหมู่ย่อยอุตสาหกรรมก่อสร้าง พบว่า สถานประกอบการเกือบทุกหมู่ย่อยอุตสาหกรรมก่อสร้าง (มากกว่าร้อยละ 60.0) เป็นสถานประกอบการที่มีคนทำงานงาน 1 — 5 คน ยกเว้น หมู่ย่อยการก่อสร้างถนนและทางรถไฟ การก่อสร้างโครงการงานวิศวกรรมโยธาอื่นๆ และการรื้อถอน
3. รูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมาย
สถานประกอบการก่อสร้าง ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 87.7) มีรูปแบบการจัดตั้งเป็นส่วนบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่เป็นนิติบุคคล ที่มี รูปแบบการจัดตั้งเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญ-นิติบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ร้อยละ 10.8 และที่มีรูปแบบการจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด บริษัท จำกัด (มหาชน) มีเพียงร้อยละ 1.5
4. วงเงินรับเหมาก่อสร้างต่อปี
สถานประกอบการก่อสร้างในภาคเหนือส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 77.9) เป็นสถานประกอบการที่มีวงเงินรับเหมาก่อสร้างน้อยกว่า 1 ล้านบาท ส่วนสถานประกอบการที่มีวงเงินรับเหมาก่อสร้างตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป มีเพียงเล็กน้อย คือ ประมาณร้อยละ 1.5
5. การรับงานจากาครัฐ
สถานประกอบการก่อสร้างในภาคเหนือประมาณร้อยละ 16.8 มีการดำเนินกิจการก่อสร้างโดยรับงานจากภาครัฐ 50% หรือมากกว่าในสัดส่วนสูงที่สุดร้อยละ 72.8 ส่วนที่มีการรับงานจากภาครัฐระหว่าง 10 — 19% และน้อยกว่า 10% มีประมาณร้อยละ 9.5 และ 6.2 ตามลำดับ
6. ลักษณะการดำเนินกิจการ
สถานประกอบการก่อสร้าง 1 แห่งสามารถดำเนินกิจการได้หลายลักษณะนั้นส่วนใหญ่ มีลักษณะการดำเนินกิจการเป็นแบบรับเหมาเฉพาะค่าแรงงาน ร้อยละ 72.6 รองลงมาเป็นการรับงานและดำเนินการเองทั้งหมด ร้อยละ 32.0 สำหรับการรับช่วงงานจากผู้รับเหมาอื่น และ การรับเหมาหรือให้ผู้อื่นช่วยดำเนินการบางส่วนมีร้อยละ 6.6 และ 6.3 ตามลำดับ
7. จำนวนคนทำงานและลูกจ้าง
ในปี 2551 มีคนทำ งานในสถานประกอบการก่อสร้างที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือทั้งสิ้นประมาณ 41,533 คน ในจำนวนนี้เป็นลูกจ้าง ประมาณ 35,027 คน เมื่อจำแนกลูกจ้างตามประเภทหมู่ย่อยอุตสาหกรรมก่อสร้าง พบว่า ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการ เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร/สิ่งก่อสร้างมากที่สุดคือ 23,653 คน หรือร้อยละ 67.5 รองลงมาปฏิบัติงานอยู่ในสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการก่อสร้างถนนและทางรถไฟ 5,752 คน หรือร้อยละ 16.4 ที่เหลือปฎิบัติงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น
8. ค่าตอบแทนแรงงาน
ในปี 2551 ลูกจ้างในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือ ได้รับค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,019.3 ล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อคนต่อปีประมาณ 57,650 บาท โดยลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างเกี่ยวกับการติดตั้งระบบประปา ระบบทำความร้อน และระบบระบายอากาศ ได้รับค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยต่อคนต่อปี สูงที่สุด ประมาณ 81,215 บาท รองลงมา ได้แก่ ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมก่อสร้างเกี่ยวกับการก่อสร้างถนนและทางรถไฟ และการเตรียมสถานที่ก่อสร้าง ซึ่งได้รับค่าตอบแทนต่อคนต่อปี 70,818 และ 70,682 บาท ตามลำดับ
9. มูลค่าการก่อสร้าง ค่าใช้จ่าย และมูลค่าเพิ่ม
ในการดำเนินกิจการการประกอบอุตสาหกรรมก่อสร้างในภาคเหนือ มีมูลค่าการก่อสร้างหรือรายรับในการดำเนินกิจการในปี 2551 รวมทั้งสิ้นประมาณ 32,301.2 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 20,493.6 ล้านบาท และมูลค่าเพิ่มประมาณ 11,807.6 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มต่อมูลค่าการก่อสร้างประมาณร้อยละ 36.6 สำหรับมูลค่าการก่อสร้างเฉลี่ยต่อสถานประกอบการมีมูลค่าประมาณ 6.3 ล้านบาท และ มูลค่าการก่อสร้างเฉลี่ยต่อคนทำงานมีมูลค่าประมาณ 922,181 บาท ด้านมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อสถานประกอบการ และเฉลี่ยต่อคนทำงาน พบว่ามีมูลค่าประมาณ 2.3 ล้านบาท และ 337,101 บาทตามลำดับ
เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มจำ แนกตามหมู่ย่อยอุตสาหกรรมก่อสร้าง พบว่า มูลค่าเพิ่มส่วนใหญ่ (ร้อยละ 58.9) มาจากการก่อสร้าง อาคาร/สิ่งก่อสร้าง รองลงมา (ร้อยละ 29.3) มาจากการก่อสร้างถนนและทางรถไฟ สำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างในหมู่ย่อยอื่นๆ มีสัดส่วนต่ำกว่าร้อยละ 4.0
10. การเปรียบเทียบการดำเนินกิจการอุตสาหกรรมก่อสร้าง
เมื่อเปรียบเทียบผลจากการสำรวจอุตสาหกรรมก่อสร้าง พ.ศ. 2552 กับ 2547 เป็นข้อมูลของการดำเนินกิจการในปี 2551 เทียบกับปี 2546 พบว่า สถานประกอบการก่อสร้างมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.6 จำนวนคนทำงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.1 ในขณะที่จำนวนคนทำงานเฉลี่ยต่อสถานประกอบการลดลงจาก 9 คน เป็น 8 คน หรือร้อยละ 10.0
ในด้านการจ้างงาน พบว่า มีจำนวนลูกจ้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าจำนวนลูกจ้างเฉลี่ยต่อสถานประกอบการกลับ ลดลง คือ ลดลงจาก 8 คนต่อสถานประกอบการเป็น 7 คน หรือลดลงประมาณร้อยละ 12.8 ซึ่งคาดว่ามาจากภาวะการขาดแคลนแรงงานสาขาการก่อสร้างของสถานประกอบการ ส่วนค่าตอบแทนแรงงานพบว่าลูกจ้างได้รับเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.3
ในด้านการดำเนินกิจการ พบว่า มูลค่าการก่อสร้างหรือรายรับ ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง และมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมก่อสร้างในภาคเหนือมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 30.7 40.9 และ 16.2 ตามลำดับ
11. สรุปและข้อ้อเสนอแนะ
ผลจากการสำรวจอุตสาหกรรมก่อสร้าง พ.ศ. 2552 พบว่า จำนวนสถานประกอบการก่อสร้างในภาคเหนือ มีทั้งสิ้น 5,158 แห่ง ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85.0) เป็นสถานประกอบการขนาดเล็กที่มีคนทำงาน 1 — 10 คน และอุตสาหกรรมก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ กิจการเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร/สิ่งก่อสร้างในสัดส่วนสูงที่สุดประมาณร้อยละ 68.1 มีคนทำงานในสถานประกอบการทั้งสิ้นประมาณ 41,533 คน และการจ้างงานมีทั้งสิ้นประมาณ 35,027 คน โดยได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ยต่อคนต่อปี 57,650 บาท สำหรับมูลค่าการก่อสร้างหรือรายรับ ค่าใช้จ่าย และมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งสิ้นประมาณ 32,301.2 ล้านบาท 20,493.6 ล้านบาท และ 11,807.6 ล้านบาท ตามลำดับ
เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานโดยรวมของผู้ประกอบการก่อสร้างเปรียบเทียบในปี 2551 กับปี 2550 สถานประกอบการรายงานว่าร้อยละ 51.0 มีผลการดำเนินงานลดลงจากปี 2550
สำหรับความต้องการที่ให้รัฐช่วยเหลือ ร้อยละ 62.5 รายงานว่าให้ลดต้นทุนการดำเนินงาน เช่นค่าวัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรและเครื่องมือฯ ร้อยละ 26.6 ขจัดปัญหาทุจริตคอรัปชั่น การเรียกผลประโยชน์ใดๆ ของหน่วยงานราชการ