การสำรวจอุตสาหกรรมก่อสร้าง พ.ศ.2552 นับเป็นการสำรวจครั้งที่ 3 ซึ่งได้ดำเนินการจัดทำทุก 5 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบการอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อภาครัฐในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและวางแผนการลงทุน รวมทั้งการจ้างงานของภาคเอกชน การสำรวจครั้งนี้คุ้มรวมสถานประกอบการก่อสร้างทุกแห่งทั่วประเทศ ที่ประกอบกิจกรรมใน 3 หมวดใหญ่ ได้แก่ การก่อสร้างอาคาร/สิ่งก่อสร้าง งานวิศวกรรมโยธาและกิจกรรมการก่อสร้างเฉพาะงาน โดยจัดตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมทางเศรษฐกิจทุกประเภท ตามมาตรฐานสากล (ประเภท F : ISIC Rev.4)
การปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการในช่วงเดือนมิถุนายน — กันยายน 2552 สำหรับข้อมูลที่นำเสนอในรายงานฉบับนี้เป็นผล ของการดำเนินกิจการในรอบปีที่ผ่านมา ระหว่าง 1 มกราคม — 31 ธันวาคม 2551 ของสถานประกอบการก่อสร้างที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สรุปได้ดังนี้
1. จำนวนสถานประกอบการก่อสร้าง
สถานประกอบการก่อสร้างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวนทั้งสิ้น 10,002 แห่ง ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 52.4) ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร/สิ่งก่อสร้าง รองลงมา ได้แก่ การดำเนินการเกี่ยวกับการเตรียมสถานที่ก่อสร้าง ประมาณร้อยละ 28.5 และการสร้าง อาคารให้เสร็จสมบูรณ์ ประมาณร้อยละ 7.3 สำหรับการก่อสร้างนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นแต่ละหมู่ย่อยมีสัดส่วนต่ำ กว่าร้อยละ 4.0 ของจำนวนสถานประกอบการก่อสร้างทั้งสิ้น
2. ขนาดของสถานประกอบการ (จำนวนคนทำงาน)
ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70.4) เป็นสถานประกอบการก่อสร้างที่มีคนทำงาน 1 — 5 คน และคนทำงาน 6 — 10 คน มีร้อยละ 20.7 สำหรับสถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 10 คน มีร้อยละ 8.9 หากพิจารณาตามหมู่ย่อยอุตสาหกรรมก่อสร้าง พบว่า สถานประกอบการเกือบทุกหมู่ย่อยอุตสาหกรรมก่อสร้าง (มากกว่าร้อยละ 50.0) เป็นสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1 — 5 คน ยกเว้น หมู่ย่อยการก่อสร้างถนนและทางรถไฟ และการก่อสร้างโครงการงานวิศวกรรมโยธาอื่น ๆ
3. รูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมาย
สถานประกอบการก่อสร้าง ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 90.6) มีรูปแบบการจัดตั้งเป็นส่วนบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่เป็นนิติบุคคล ที่มี รูปแบบการจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ร้อยละ 8.3 และที่มีรูปแบบการจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด บริษัทจำกัด (มหาชน) มีเพียงร้อยละ 1.1
4. วงเงินรับเหมาก่อสร้างต่อปี
สถานประกอบการก่อสร้างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 66.6) เป็นสถานประกอบการที่มีวงเงินรับเหมา ก่อสร้างน้อยกว่า 1 ล้านบาท ส่วนสถานประกอบการที่มีวงเงินรับเหมาก่อสร้างตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป มีเพียงเล็กน้อย คือ ประมาณร้อยละ 0.9
5. การรับงานจากภาครัฐ
สถานประกอบการก่อสร้างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณร้อยละ 14.0 มีการดำเนินกิจการก่อสร้างโดยรับงานจากภาครัฐ 50% หรือมากกว่าในสัดส่วนสูงที่สุดร้อยละ 57.5 ส่วนที่มีการรับงานจากภาครัฐระหว่าง 10 — 19% และน้อยกว่า 10% มีประมาณร้อยละ 14.5 และ 11.2 ตามลำดับ
6. ลักษณะการดำเนินกิจการ
สถานประกอบการก่อสร้าง 1 แห่งสามารถดำ เนินกิจการได้หลายลักษณะนั้นส่วนใหญ่ มีลักษณะการดำเนินกิจการเป็นแบบรับเหมาเฉพาะค่าแรงงาน ร้อยละ 67.5 รองลงมาเป็นการรับงานและดำเนินการเองทั้งหมด ร้อยละ 32.7 สำหรับการรับช่วงงานจากผู้รับเหมาอื่น และ การจ้างเหมาหรือให้ผู้อื่นช่วยดำเนินการบางส่วนมีร้อยละ 6.1 และ 4.4 ตามลำดับ
7. จำนวนคนทำงานและลูกจ้าง
ในปี 2551 มีคนทำงานในสถานประกอบการก่อสร้างที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งสิ้น ประมาณ 59,153 คน ในจำนวนนี้เป็นลูกจ้างประมาณ 47,966 คน เมื่อจำแนกลูกจ้างตามประเภทหมู่ย่อยอุตสาหกรรมก่อสร้าง พบว่า ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร/สิ่งก่อสร้างมากที่สุด คือ 32,391 คน หรือร้อยละ 67.5 รองลงมาปฏิบัติงานอยู่ในสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการก่อสร้างถนนและทางรถไฟ 6,506 คน หรือร้อยละ 13.6 ที่เหลือปฎิบัติงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น
8. ค่าตอบแทนแรงงาน
ในปี 2551 ลูกจ้างในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,312.1 ล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อคนต่อปีประมาณ 48,202 บาท โดยลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างเกี่ยวกับกิจกรรมการติดตั้งระบบประปา ระบบทำความร้อน และระบบระบายอากาศ ได้รับค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงที่สุด ประมาณ 82,767.5 บาท รองลงมา ได้แก่ ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในสถาน
ประกอบการอุตสาหกรรมก่อสร้างเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการงานวิศวกรรมโยธาอื่นๆ และการก่อสร้างถนนและทางรถไฟ ซึ่งได้รับค่าตอบแทนต่อคนต่อปี 80,825 บาท และ 67,550 บาท ตามลำดับ
9. มูลค่าการก่อสร้าง ค่าใช้จ่าย และมูลค่าเพิ่ม
ในการดำเนินกิจการการประกอบอุตสาหกรรมก่อสร้างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีมูลค่าการก่อสร้าง หรือรายรับในการดำเนินกิจการในปี 2551 รวมทั้งสิ้นประมาณ 30,510.9 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 19,623.7 ล้านบาท และมูลค่าเพิ่มประมาณ 10,887.2 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มต่อมูลค่าการก่อสร้างประมาณร้อยละ 35.7
สำหรับมูลค่าการก่อสร้างเฉลี่ยต่อสถานประกอบการมีมูลค่าประมาณ 3.1 ล้านบาท และมูลค่าการก่อสร้างเฉลี่ยต่อคนทำงานมีมูลค่า ประมาณ 515,796 บาท ด้านมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อสถานประกอบการ และเฉลี่ยต่อคนทำงาน พบว่ามีมูลค่าประมาณ 1.1 ล้านบาท และ 184,051 บาท ตามลำดับ
10. การเปรียบเทียบการดำเนินกิจการอุตสาหกรรมก่อสร้าง
เมื่อเปรียบเทียบผลจากการสำรวจอุตสาหกรรมก่อสร้าง พ.ศ. 2552 กับ 2547 เป็นข้อมูลของการดำเนินกิจการในปี 2551 เทียบกับปี 2546 พบว่า สถานประกอบการก่อสร้างมีจำนวนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.4 จำนวนคนทำงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8
ในด้านการจ้างงาน พบว่ามีจำนวนลูกจ้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 ส่วนค่าตอบแทนแรงงานต่อปีพบว่าลูกจ้างได้รับเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.5
ในด้านการดำเนินกิจการ พบว่า มูลค่าการก่อสร้างหรือรายรับ ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง และมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมก่อสร้างในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 25.9 22.2 และ 33.0 ตามลำดับ
11. สรุปและข้อเสนอแนะ
ผลจากการสำรวจอุตสาหกรรมก่อสร้าง พ.ศ. 2552 พบว่า จำนวนสถานประกอบการก่อสร้างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทั้งสิ้น 10,002 แห่ง ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 91.1) เป็นสถานประกอบการขนาดเล็กที่มีคนทำงาน 1 — 10 คน และอุตสาหกรรมก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ กิจการเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร/สิ่งก่อสร้าง ในสัดส่วนสูงที่สุดประมาณร้อยละ 52.4 มีคนทำงานในสถานประกอบการทั้งสิ้นประมาณ 59,153 คน และการจ้างงานมีทั้งสิ้นประมาณ 47,966 คน โดยได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ยต่อคนต่อปี 48,202 บาทสำหรับมูลค่าการก่อสร้างหรือรายรับ ค่าใช้จ่าย และมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งสิ้นประมาณ 30,510.9 ล้านบาท 19,623.7 ล้านบาท และ 10,887.2 ล้านบาท ตามลำดับ
เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานโดยรวมของผู้ประกอบการก่อสร้างเปรียบเทียบในปี 2551 กับปี 2550 สถานประกอบการรายงานว่าร้อยละ 52.7 มีผลการดำเนินงานลดลงจากปี 2550
สำหรับความต้องการที่ให้รัฐช่วยเหลือ ร้อยละ 54.8 รายงานว่าให้ลดต้นทุนการดำเนินงาน เช่น ค่าวัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรและเครื่องมือฯ ร้อยละ 28.1 เพิ่มงบประมาณการลงทุนด้านก่อสร้างในภาครัฐ