ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Tuesday November 23, 2010 14:22 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

มติ ครม. เมื่อวันที่ 14 ก.ย. เห็นชอบการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 รอบที่ 1 ดังนี้

1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ 1)

การขึ้นทะเบียนเกษตรกร 1 มิ.ย. — 30 พ.ย. 53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ค. -31 มี.ค. 54

การประชาคม 16 มิ.ย. — 15 ธ.ค.53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 1 ส.ค. 53 — 15 เม.ย. 54

ออกใบรับรอง 16 มิ.ย. — 31 ธ.ค. 53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 1 ส.ค. 53 — 30 เม.ย. 54

ทำสัญญาประกันรายได้ 1 ก.ค. 53 — 31 ม.ค. 54 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ส.ค. 53— 31 พ.ค. 54

ระยะเวลาใช้สิทธิ 1 ส.ค. 53 - 15 มี.ค. 54 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ย. 53 — 15 ก.ค. 54

ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

                    - ข้าวเปลือกหอมมะลิ     ตันละ 15,300 บาท          ไม่เกิน  14 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกหอมจังหวัด   ตันละ 14,300 บาท          ไม่เกิน  16 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกเจ้าตันละ    ตันละ 10,000 บาท          ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกปทุมธานี1    ตันละ 11,000 บาท          ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกเหนียว      ตันละ  9,500 บาท          ไม่เกิน  16 ตัน / ครัวเรือน

2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)

คงเหลือเฉพาะการใช้สิทธิของเกษตรกรภาคใต้ ไม่เกินวันที่ 15 ธ.ค. 53 * โดยเกษตรกรสามารถเลือกวันใช้สิทธิได้นับตั้งแต่วันเก็บเกี่ยว และหากเกษตรกรต้องการเปลี่ยนแปลงวันใช้สิทธิ จะต้องแจ้ง

ธ.ก.ส. ล่วงหน้าก่อนวันขอใช้สิทธิใหม่อย่างน้อย 3 วัน ทั้งนี้วันขอใช้สิทธิใหม่จะต้องไม่ย้อนหลังจากวันที่แจ้ง

หมายเหตุ : * มติ กขช. ครั้งที่ 9/2553 (10 มิ.ย. 53) เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการใช้สิทธิของเกษตรกร โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)

ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

                    - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1        ตันละ 11,000 บาท             ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกเจ้า             ตันละ 10,000 บาท             ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกเหนียว           ตันละ  9,500 บาท             ไม่เกิน  16 ตัน / ครัวเรือน

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาในสัปดาห์นี้ยังคงใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตข้าวในเดือนนี้ออกสู่ตลาดมาก ข้าวมีความชื้นสูงเนื่องจากในบางพื้นยังถูกกระทบจากน้ำท่วมขัง ทำให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ พ่อค้าโรงสียังกดราคารับซื้อต่ำ ส่วนราคาส่งออก เอฟ โอ บี. ในสัปดาห์นี้ยังมีราคาสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากมีข่าวประเทศอิรักต้องการนำเข้าข้าวไทยจำนวนมาก

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 16 พฤศจิกายน 2553 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 7.463 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 7.575 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.48 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,669 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,548 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.49

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,126 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,302 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.11

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,620 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,891 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.07

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,270 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,910 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.59

ราคาส่งออก เอฟ.โอ. บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,146 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,022 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,161 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,099 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.29 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 77 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 920 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,313 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 931 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,344 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 และลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 31 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 534 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,853 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,361 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.10 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 492 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 481 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,280 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 479 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,068 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.42 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 212 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 555 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,477 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 176 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.6879 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่น ได้จัดการประมูลข้าวนำเข้าแบบ OMA และ SBS ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นผลการประมูลข้าวนำเข้าแบบ Ordinary Minimum Access (OMA) ครั้งที่ 2/2553 ข้าวที่ชนะประมูลจำนวนทั้งสิ้น 41,000 ตัน จากปริมาณข้าวที่เสนอประมูลทั้งหมด 427,000 ตัน ในจำนวนนี้มีข้าวที่ชนะประมูลจากประเทศไทย 28,000 ตัน (เป็นข้าวเมล็ดยาวทั้งหมด) และข้าวจากสหรัฐอเมริกา 13,000 ตัน (เป็นข้าวสารเมล็ดกลางทั้งหมด) โดยราคาประมูล (ไม่รวมภาษี 5%) เฉลี่ย 55,238 เยนต่อตันผลการประมูลข้าวนำเข้าแบบ Simultaneous Buying and Selling Tender System (SBS) ครั้งที่ 2/2553 ข้าวที่ชนะประมูลจำนวนทั้งสิ้น 3,916 ตัน จากปริมาณข้าวที่เสนอประมูลทั้งหมด 8,436 ตัน โดยข้าวที่ชนะประมูลมาจากประเทศต่างๆ ดังนี้

  • สหรัฐอเมริกา มีข้าวชนะประมูลรวม 1,886 ตัน (ข้าวกล้องเมล็ดสั้น36 ตัน ข้าวเหนียวเมล็ดสั้น 504 ตัน ข้าวสารหัก 1,138 ตัน และข้าวเหนียวหัก 208 ตัน)
  • ไทย มีข้าวชนะประมูลรวม 1,802 ตัน (ข้าวสารเจ้าเมล็ดสั้น256 ตัน และข้าวสารหัก 1,546 ตัน)
  • สาธารณรัฐประชาชนจีน มี ข้าวชนะประมูลรวม 228 ตัน (ข้าวสารเมล็ดสั้น 120 ตัน และข้าวสารหัก 108 ตัน)

โดยที่ราคาข้าวทั่วไปทุกชนิด (ไม่รวมภาษี 5%) ราคาเสนอซื้อเฉลี่ยอยู่ที่ 141,060 เยนต่อตัน และราคาเสนอขายเฉลี่ยอยู่ที่ 201,749เยนต่อตัน ส่วนราคาข้าวสารหัก (ไม่รวมภาษี 5%) ราคาเสนอซื้อเฉลี่ยอยู่ที่ 8,450 เยนต่อตัน และราคาเสนอขายเฉลี่ยอยู่ที่ 100,236 เยนต่อตัน

2.2 ส่งออกข้าวอินเดียไปบังคลาเทศล่าช้าจากปัญหาราคา

เมื่อเดือน ส.ค. 53 อินเดียทำความตกลงที่จะส่งออกข้าวนึ่ง 300,000 ตัน และข้าวสาลี 200,000 ตันจากสต็อกรัฐบาลให้แก่บังคลาเทศ โดยราคาข้าวนึ่งมีราคาตันละ 491.80 เหรียญสหรัฐฯ (14,600.51 บาท) ซึ่งเป็นราคาที่ซื้อขายในตลาดระหว่างประเทศเมื่อกลางเดือน ต.ค. 2553 ความตกลงซื้อขายข้าวดังกล่าวได้หยุดชะงักชั่วคราว เนื่องจากบังคลาเทศต้องการส่วนลดจากราคาเสนอขายให้ลดลงมาอยู่ที่ตันละ 486.8 เหรียญสหรัฐฯ (14,452.07 บาท) ทำให้รัฐบาลอินเดียกำลังตกอยู่ในสภาวะลำบากว่าจะต้องขายข้าวให้บังคลาเทศในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดโลกที่ตันละ 520-540 เหรียญสหรัฐฯ (15,437.71 — 16,031.47 บาท) และอาจต้องรับภาระต้นทุนในการจัดหาด้วย

อนึ่ง บังคลาเทศต้องการนำเข้าข้าวอย่างเร่งด่วน เนื่องจากกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนข้าวในประเทศ โดยสัญญาการสั่งซื้อข้าวที่ทำไว้ก่อนหน้าได้ถูกยกเลิก เนื่องจากประเทศผู้ส่งออกประสบภัยแล้งในพื้นที่ทะเลดำ นอกจากนี้ ประเทศในแถบเอเชียใต้ยังต้องการนำเข้าข้าวจากอินเดียประมาณปีละ 500,000 ตัน ภายใต้ความตกลงระยะยาว เพื่อรักษาสต็อกข้าวและลดความเสี่ยงในการขาดแคลนข้าว โดยเฉพาะบังคลาเทศ ซึ่งในปีนี้ (สิ้นสุดเดือน มิ.ย. 54) บังคลาเทศมีความต้องการนำเข้าข้าว 1 ล้านตัน และข้าวสาลีประมาณ 750,000 ตันในปีนี้ เพื่อลดการขาดแคลนข้าวในประเทศ

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 15 - 21 พ.ย. 2553--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ