ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ปศุสัตว์

ข่าวทั่วไป Monday November 29, 2010 13:46 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกร แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้นอีกเล็กน้อย เพราะเข้าสู่เทศกาลท่องเที่ยว

สถานการณ์ในประเทศ

กรมปศุสัตว์ เผยถึงกรณีการเกิดโรค PRRS ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าสุกรที่เสียชีวิตเป็นโรค PRRS ซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่ง เมื่อติดเชื้อจะทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ โดยส่วนใหญ่จะเกิดในลูกสุกร ที่มาจากฟาร์มที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ผ่านการรับรองจากกรม ปศุสัตว์ หากเกิดในแม่จะทำให้แท้งลูก ซึ่งทางกรมปศุสัตว์ได้ประกาศห้ามเคลื่อนสุกรที่ติดเชื้อ จนกว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ สำหรับเจ้าของฟาร์มที่มีปัญหาโรคดังกล่าว โปรดติดต่อปศุสัตว์ใกล้เคียง เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและแนะนำให้ถูกวิธี ทั้งนี้ในพื้นที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก พบว่ามีสุกรเสียชีวิตแล้ว 100 ตัว ส่วนพื้นที่ใกล้เคียงที่มีแนวโน้มติดเชื้อให้ซื้อวัคซีนฉีดให้สุกร อย่างไรก็ตามประชาชนไม่ควรบริโภคสุกรที่เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวอย่างเด็ดขาด ขณะเดียวกันได้ประสานให้เจ้าหน้าที่ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อและห้ามบุคคลภายนอกเข้าบริเวณฟาร์มเพื่อป้องกันการระบาด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 57.02 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 52.89 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.86 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 57.15 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 56.68 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 55 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.50 บาท และราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เริ่มเย็นลงทำให้ปริมาณผลผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาดมีมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคไก่เนื้ออยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวลดลงเล็กน้อย

สถานการณ์ข่าวต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 เยอรมนีได้พบเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงต่ำ (ชนิด H) ในฝูงไก่ของเมือง Parchim โดยเป็นการตรวจพบระหว่างการตรวจเช็คเชื้อไข้หวัดนกประจำวัน ทั้งนี้ ไก่ที่ติดเชื้อไม่ได้แสดงอาการการติดเชื้อ อย่างไรก็ตามเมืองนี้อยู่ภายใต้การกักกัน รวมถึงพื้นที่ในรัศมี 1 กิโลเมตรจากฟาร์มที่พบเชื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.94 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 37.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 46.22 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 39.18บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตัวละ 14.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนกระทบต่อสุขภาพแม่ไก่ไข่ทำให้ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดน้อย ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น เพราะเข้าสู่เทศกาลท่องเที่ยว

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 273 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 266 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.63 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 272 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 282 บาท ภาคกลางร้อยฟอง 262 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 299 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 298 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 297 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.34 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ภาคเหนือร้อยฟองละ 266 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 318 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 286 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 333 บาท

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 43.76 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.34 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 47.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 35.25 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.33 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 50.03 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 32.72 บาท บาท ลดลงกิโลกรัมละ 32.99 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.82 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 48.60 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 29.55 บาท ภาคกลาง 32.69 บาท ภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 22- 28 พ.ย. 2553--

-พห-

แท็ก เกษตรกร   สุกร  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ