ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Tuesday December 7, 2010 14:59 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

มติ ครม. เมื่อวันที่ 14 ก.ย. เห็นชอบการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 รอบที่ 1 ดังนี้

1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ 1)

  • การขึ้นทะเบียนเกษตรกร 1 มิ.ย. — 30 พ.ย. 53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ค. - 31 มี.ค. 54
          -   การประชาคม 16 มิ.ย. — 15 ธ.ค.53            ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 1 ส.ค. 53 — 15 เม.ย. 54
          -   ออกใบรับรอง 16 มิ.ย. — 31 ธ.ค. 53           ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 1 ส.ค. 53 — 30 เม.ย. 54
  • ทำสัญญาประกันรายได้ 1 ก.ค. 53 — 31 ม.ค. 54 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ส.ค. 53— 31 พ.ค. 54
  • ระยะเวลาใช้สิทธิ 1 ส.ค. 53 - 15 มี.ค. 54 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ย. 53 — 15 ก.ค. 54
  • ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
                    - ข้าวเปลือกหอมมะลิ     ตันละ 15,300 บาท           ไม่เกิน  14 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกหอมจังหวัด   ตันละ 14,300 บาท           ไม่เกิน  16 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกเจ้าตันละ    ตันละ 10,000 บาท           ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกปทุมธานี1    ตันละ 11,000 บาท           ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกเหนียว      ตันละ  9,500 บาท           ไม่เกิน  16 ตัน / ครัวเรือน

2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)

คงเหลือเฉพาะการใช้สิทธิของเกษตรกรภาคใต้ ไม่เกินวันที่ 15 ธ.ค. 53 * โดยเกษตรกรสามารถเลือกวันใช้สิทธิได้นับตั้งแต่วันเก็บเกี่ยว และหากเกษตรกรต้องการเปลี่ยนแปลงวันใช้สิทธิ จะต้องแจ้ง ธ.ก.ส. ล่วงหน้าก่อนวันขอใช้สิทธิใหม่อย่างน้อย 3 วัน ทั้งนี้วันขอใช้สิทธิใหม่จะต้องไม่ย้อนหลังจากวันที่แจ้ง

หมายเหตุ : * มติ กขช. ครั้งที่ 9/2553 (10 มิ.ย. 53) เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการใช้สิทธิของเกษตรกรโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)

  • ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
          - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1             ตันละ 11,000 บาท             ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
          - ข้าวเปลือกเจ้า                  ตันละ 10,000 บาท             ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
          - ข้าวเปลือกเหนียว                ตันละ  9,500 บาท             ไม่เกิน  16 ตัน / ครัวเรือน

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้มีแนวโน้มลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากข้าวของเกษตรกรที่ออกสู่ตลาดในช่วงนี้มีมาก และความชื้นสูงเพราะเกษตรกรใช้รถเกี่ยวนวด แต่ราคาข้าวหอมมะลิสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกรในภาคอีสานมีการเก็บเกี่ยวแล้วร้อยละ 80 และพ่อค้าภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างเข้าไปแย่งซื้อ จึงส่งผลให้ราคาสูงสำหรับราคาส่งออกราคายังคงสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนเนื่องจากความต้องการของตลาดมีมาก

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 22 พฤศจิกายน 2553 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 7.656 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 7.716 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 0.78 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,174 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,897 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,336 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,346 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,108 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,504 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.55

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,810 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,690 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82

ราคาส่งออก เอฟ.โอ. บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,092 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,666 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,145 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,083 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.63 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,417 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 901 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,952 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 132 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 551 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,482 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 533 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,866 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.37 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 616 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 489 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,628 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 480 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,288 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.88 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 340 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 554 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,572 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 81 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.9136 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 เวียดนามจับมือกัมพูชาผลิตข้าวส่งออกในปี 2555

บริษัทพัฒนาอุตสาหกรรม และการเกษตรTakmoa ของกัมพูชา และบริษัท Thai Thinh ของเวียดนามได้ลงนามทำสัญญามูลค่า 22.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ( 670.06 ล้านบาท)* ร่วมปลูกข้าวในพื้นที่ 20,000 เฮคแตร์ (0.125 ล้านไร่) เพื่อการส่งออกในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยบริษัท Thai Thinh จะให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการปลูกข้าวตลอดจนกระบวนการผลิตต่างๆ ในสองจังหวัดของกัมพูชา คือ Kompong Cham และ Kompong Svay ซึ่งทั้งสองประเทศจะร่วมกันพัฒนาระบบการส่งน้ำในพื้นที่ และสร้างโรงสีข้าวกำลังการผลิต 500 ตันต่อวันภายในเดือน มกราคม 2554 ทั้งนี้ นาย Lim Kimkhun ประธานบริษัทพัฒนาอุตสาหกรรม และการเกษตรของกัมพูชา กล่าวว่าทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือผลิตข้าว 2 รอบต่อปี โดยให้ได้ผลผลิตเฉลี่ย 7 ตันต่อเฮคแตร์ (1.12 ตัน/ไร่) และตั้งเป้าส่งออกข้าว 200,000 ตัน ภายในปี 2555 ซึ่งการทำสัญญาร่วมกันดังกล่าวยังจะส่งผลให้เกิดการจ้างงานเกือบ 280,000 ราย

*(อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.9136 บาท)

2.2 อินโดนีเซียนำเข้าข้าว 200,000 ตัน จากเวียดนาม

สื่อท้องถิ่นอินโดนีเซียรายงานว่าตัวแทนการค้า Bulog ของประเทศอินโดนิเชียได้จัดซื้อข้าวเพิ่มเติมปริมาณ 200,000 ตัน จากเวียดนาม แต่การจัดส่งจะขึ้นอยู่กับระดับสต็อกปลายปีของ Bulog

นักวิเคราะห์เชื่อว่าการที่อินโดนีเซียนำเข้าข้าวเพิ่มเติม จะทำให้ราคาข้าวของอาเซียนยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากสต็อกข้าวเวียดนามในช่วงนี้มีน้อย ประกอบกับปีนี้ไทยประเทศผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก ประสบปัญหาภัยน้ำท่วมอย่างรุนแรงในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ในปี 2549 อินโดนีเซียนำเข้าข้าว ปริมาณ 1.3 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทย และเวียดนาม โดยผ่านตัวแทน Bulog ของภาครัฐฯที่มีหน้าที่ดูแลสต็อกอาหารให้มีเสถียรภาพ และดำเนินงานทางการตลาด เช่น การขายข้าวเมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้น หรือรับซื้อข้าวจากเกษตรกรเมื่อราคาปรับตัวลดต่ำกว่าระดับปกติ เป็นต้น

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 29 พ.ย. — 5 ธ.ค. 2553-- -พห-


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ