ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ปศุสัตว์

ข่าวทั่วไป Tuesday January 18, 2011 14:02 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยให้สุกรเจริญเติบโตเร็ว ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรยังคงทรงตัว แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 54.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.40 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 53.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.17 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 53.89 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 55.01 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 55 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.94 และราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.31

ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อและไก่ใหญ่ที่ออกสู่ตลาดมีไม่มากนัก ขณะที่ความต้องการบริโภคไก่เนื้อยังคงเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่าสถานการณ์สินค้าปศุสัตว์ของไทยมีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นตามความต้องบริโภคสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมไก่เนื้อที่ได้รับประโยชน์อย่างมาก จากการเปิดตลาดส่งออกเนื้อไก่สดแช่แข็งไปยังประเทศรัสเซีย แอฟริกาใต้ มาเลเซีย และบาร์เรน ขณะเดียวกันประเทศญี่ปุ่นกำลังพิจารณาอนุมัติให้ประเทศไทยสามารถส่งออกเนื้อไก่สดแช่แข็ง ซึ่งจะช่วยให้ปริมาณและมูลค่าส่งออกเนื้อไก่สดแช่แข็งเพิ่มสูงขึ้น และไม่เพียงแต่สินค้าปศุสัตว์ในกลุ่มของไก่เท่านั้นที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังมีเรื่องต้นทุนการผลิตในด้านอาหารสัตว์ที่ประเทศไทยต้องนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์บางชนิด กระทรวงเกษตรฯ จึงได้ทำโครงการลดต้นทุนการผลิตโดยนำร่องใน 3 พืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการแข่งขันสินค้าปศุสัตว์ คือ โรคระบาดสัตว์ และข้อกีดกันทางการค้า ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาข้อมูลดังกล่าวให้เกิดความชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเจรจาทางการค้าต่อไปในอนาคต

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.29 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 43.52 บาท ภาคะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 45.90 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 43.36 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยส่งผลให้ปริมาณผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคไข่ไก่ชะลอตัว แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวลดลงเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 276 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 280บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.43 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 272 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 282 บาท ภาคกลางร้อยฟอง 266 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 303 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 295 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 296 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.34 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ภาคเหนือร้อยฟองละ 266 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 317 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 279 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 325 บาท

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 42.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.51 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 49.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 35.54 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 44.26 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 49.78 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 33.03 บาท สูงขึ้นกิโลกรัมละ 32.97 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 50.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 29.64 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 10 — 16 มกราคม 2554-- -พห-


แท็ก เกษตรกร   สุกร  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ