1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มติ ครม. เมื่อวันที่ 14 ก.ย. เห็นชอบการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 รอบที่ 1 ดังนี้
1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ 1)
- การขึ้นทะเบียนเกษตรกร 1 มิ.ย. — 30 พ.ย. 53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ค. - 31 มี.ค. 54
- การประชาคม 16 มิ.ย. — 15 ธ.ค.53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 1 ส.ค. 53 — 15 เม.ย. 54 - ออกใบรับรอง 16 มิ.ย. — 31 ธ.ค. 53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 1 ส.ค. 53 — 30 เม.ย. 54
- ทำสัญญาประกันรายได้ 1 ก.ค. 53 — 31 ม.ค. 54 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ส.ค. 53 — 31 พ.ค. 54
- ระยะเวลาใช้สิทธิ 1 ส.ค. 53 - 15 มี.ค. 54 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ย. 53 — 15 ก.ค. 54
- ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
- ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,300 บาท ไม่เกิน 14 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 14,300 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเจ้าตันละ ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกปทุมธานี1 ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน
มติ ครม. วันที่ 7 ธ.ค. 53 เห็นชอบตามมติ กขช. ครั้งที่ 12/2553 เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 53 ที่เห็นชอบให้กรมส่งเสริมการเกษตร ผ่อนผันหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบที่ 1) ดังนี้
1) ให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว (ทพศ.1) ปี 2553/54 รอบที่ 1 ซึ่งอยู่ระหว่างรอการทำประชาคมแต่ประสบภัยธรรมชาติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบระดับตำบลตรวจสอบพื้นที่ปลูกของเกษตรกร หากพบเศษซากต้นข้าวในแปลงให้มีการดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว (ทพศ.1) ปี 2553/54 รอบที่ 1 ตามขั้นตอนปกติ
2) ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการประกันรายได้ฯ ปี2553/54 รอบที่ 1 ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางรวมจังหวัดชุมพร ในส่วนของการขึ้นทะเบียนเกษตรกร การทำประชาคม และการออกหนังสือรับรองให้เกษตรกรเป็นสิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2554 และในส่วนการทำสัญญาประกันรายได้ของ ธ.ก.ส.เป็นสิ้นสุด 28 กุมภาพันธ์ 2554 ทั้งนี้ เฉพาะพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยและวาตภัย
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)
ปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
- ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ยกเว้น ข้าวหอมมะลิเนื่องจากความต้องการของข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียวความต้องการของตลาดมีมากขึ้น ขณะเดียวกันมีข่าวการสั่งซื้อข้าวของอินโดนีเซียที่จะเปิดให้มีการนำเข้า ส่งผลให้พ่อค้าโรงสีและผู้ส่งออกเตรียมสั่งซื้อข้าวเก็งกำไร ประกอบกับผลผลิตข้าวนาปี ปี 2553/54 เป็นช่วงปลายฤดูผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ส่วนข้าวหอมมะลิราคามีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย เนื่องจากขณะนี้ในแถบเอเชียโดยเฉพาะ จีน ฮ่องกง อยู่ในช่วงเทศกาลตรุษจีน จึงไม่มีการซื้อข้าวขณะที่เรือที่จะมารับข้าวหอมมะลิก็ไม่มีเข้ามาแล้ว ตลาดจึงชะลอการค้าขายคาดว่าจะคึกคักอีกครั้งประมาณกลางเดือน ก.พ. 54
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 18 มกราคม 2554 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 0.499 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 0.428 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.59 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)
1.2 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
- ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,457 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,591 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.06
- ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,489 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,475 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17
- ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,878 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,789 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
- ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,410 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,090 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.27
ราคาส่งออก เอฟ.โอ. บี
- ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,008 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,544 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,029 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,999 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.04 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 455 บาท
- ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 836 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,332 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 822 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,763 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.70 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 569 บาท
- ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 525 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,908 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 527 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,876 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 32 บาท
- ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 470 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,242 บาท/ตัน) ราคาลดลงตันละ 471 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,189 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 53 บาท
- ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 539 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,333 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 541 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,298 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 38 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.3019 บาท
2.1 กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่น ได้จัดการประมูลข้าวนำเข้าแบบ OMA และ SBS ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
- ผลการประมูลข้าวนำเข้าแบบ Ordinary Minimum Access (OMA) ครั้งที่ 6/2553
ข้าวที่ชนะประมูลจำนวนทั้งสิ้น 63,000 ตัน จากปริมาณข้าวที่เสนอประมูลทั้งหมด 482,000 ตัน ในจำนวนนี้มีข้าวที่ชนะประมูลจากสหรัฐอเมริกา 26,000 ตัน (เป็นข้าวสารเมล็ดกลางทั้งหมด) จากประเทศไทย 25,000 ตัน (เป็นข้าวเมล็ดยาวทั้งหมด) และจากออสเตรเลีย 12,000 ตัน (เป็นข้าวเมล็ดกลางทั้งหมด)
- ผลการประมูลข้าวนำเข้าแบบ Simultaneous Buying and Selling Tender System (SBS) ครั้งที่ 5/2553
ข้าวที่ชนะประมูลจำนวนทั้งสิ้น 5,502 ตัน จากปริมาณข้าวที่เสนอประมูลทั้งหมด 8,098 ตัน โดยข้าวที่ชนะประมูลมาจากประเทศต่างๆ ดังนี้
- สหรัฐอเมริกา มีข้าวชนะประมูลรวม 3,720 ตัน (ข้าวเหนียวเมล็ดสั้น 108 ตัน ข้าวกล้องเมล็ดกลาง 38 ตัน และข้าวสารหัก 3,466 ตัน)
- ไทย มีข้าวชนะประมูลรวม 1,646 ตัน (ข้าวสารเจ้าเมล็ดยาว 112 ตัน และข้าวสารหัก 1,534 ตัน)
- สาธารณรัฐประชาชนจีน มีข้าวชนะประมูลรวม 100 ตัน (ข้าวสารเมล็ดสั้น ทั้งหมด)
- ปากีสถาน มีข้าวชนะประมูลรวม 36 ตัน (ข้าวสารเมล็ดยาว ทั้งหมด)
โดยที่ราคาข้าวทั่วไปทุกชนิด (ไม่รวมภาษี 5%) ราคาเสนอซื้อเฉลี่ยอยู่ที่ 16,111 เยนต่อตัน และราคาเสนอขายเฉลี่ยอยู่ที่ 188,703 เยนต่อตัน ส่วนราคาข้าวสารหัก (ไม่รวมภาษี 5%) ราคาเสนอซื้อเฉลี่ยอยู่ที่ 56,636 เยนต่อตัน และราคาเสนอขายเฉลี่ยอยู่ที่ 93,724 เยนต่อตัน
2.2 ประเทศกัมพูชาจัดหาข้าวเพิ่มเพื่อการส่งออกในปีนี้
รัฐบาลกัมพูชาได้มีมติอนุมัติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายแห่งชาติ จำนวน 2.4 พันล้าน วัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ในปีหน้า จากการลงทุนในภาคเกษตรกรรมในประเทศเพื่อการส่งออกข้าว นอกจากนี้กัมพูชายังมองหานักลงทุนต่างประเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสีข้าวสาร เพื่อส่งข้าวสารไปยังเวียดนาม และส่งกลับออกไป (re-exported) ในปี 2554 กระทรวงเกษตรได้เพิ่มงบประมาณจากปีที่ผ่านมา 3 ล้าน เพื่อให้ตรงกับแผนที่จะส่งเสริมการส่งออกข้าวจำนวน 1 ล้านตัน ภายใน 5 ปีข้างหน้า
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 17 — 23 มกราคม 2554-- -พห-