ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ประมง

ข่าวทั่วไป Monday February 7, 2011 14:09 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ

การผลิต

ฟื้นฟูสัตว์น้ำทะเลสาบสงขลา

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยถึงความเสียหายด้าน การเพาะลี้ยงสัตว์น้ำ จากอุทกภัยปี 2553 ที่ผ่านมาว่า ในจังหวัดสงขลามีเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับผลกระทบ 15 อำเภอ เกษตรกร 7,569 ราย และได้ขอใช้งบประมาณให้ความช่วยเหลือทั้งสิ้น 80.1 ล้านบาท และ ได้มีการมอบสมุดเงินฝากธนาคารให้กับตัวแทนเกษตรกร 60 ราย และมอบพันธุ์ปลากะพงขาวให้เกษตรกร 55 ราย รายละ 2,000 ตัว รวม 110,000 ตัว ส่วนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยังเหลือจากผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดของจังหวัดสงขลาอีกกว่า 7,500 ราย จะมีการมอบเงินช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอีกครั้ง นอกจากนี้ยังมี การปล่อยพันธุ์กุ้งกุลาดำ 5 ล้านตัว ลงสู่ทะเลสาบสงขลา เพื่อเปิดโอกาสให้สัตว์น้ำได้แพร่ขยายพันธุ์ ช่วยฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ช่วยสร้างแหล่งอาหารในการทำมาหากินสร้างรายได้เลี้ยงชีพได้ต่อไป และอยากขอให้ชาวสงขลาช่วยกันดูแลทรัพยากรสัตว์น้ำ ไม่ทำประมงที่ผิดกฎหมาย เพื่อทะเลสาบสงขลาจะได้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม

ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า สำหรับการฟื้นฟูสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาหลังประสบภัยธรรมชาติได้ดำเนินการมาแล้ว 5 ครั้ง เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 — มกราคม 2554 ตลอดช่วงระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมามีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด อาทิ ปลาตะเพียน ปลากด ปลาดุกด้าน ปลากะแห ปลาสุลต่าน กุ้งก้ามกราม กุ้งกุลาดำ ฯลฯ และกิจกรรมในครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 6 ซึ่งพันธุ์สัตว์น้ำที่ได้ปล่อยลงสู่ทะเลสาบสงขลา รวมแล้วจำนวน 10,840,000 ตัว ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนก็สามารถจับมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งเป็นมาตรการให้ความช่วยเหลือที่เห็นผลทีเดียว

ในรอบสัปดาห์ผ่านมา (27 ธ.ค. 2553 — 2 ม.ค. 2554) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 839.84 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 582.50 ตัน สัตว์น้ำจืด 257.34 ตัน

ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่

            1.1  ปลาดุก                 ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                2.42      ตัน
            1.2  ปลาช่อน                ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                4.02      ตัน
            1.3  กุ้งทะเล                ส่งเข้าประมูลจำหน่าย              110.71      ตัน
            1.4  ปลาทู                  ส่งเข้าประมูลจำหน่าย               11.72      ตัน
            1.5  ปลาหมึก                ส่งเข้าประมูลจำหน่าย               92.43      ตัน

การตลาด

ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ

2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.74 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.58 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคา

2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.37 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 121.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท

2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 133.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 130.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.35 บาท

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 137.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท

2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.95 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท

2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ไม่มีรายงานราคา

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 157.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 148.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.57 บาท

2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.07 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท

สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 29 ม.ค. — 4 ก.พ. 2554) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 31 ม.ค. - 6 ก.พ.54--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ