ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ปศุสัตว์

ข่าวทั่วไป Monday March 21, 2011 14:39 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์สุกรในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหาโรค PRRS ที่ผ่านมา ทำให้มีสุกรบางส่วนเสียหาย ส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรยังคงมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 60.23 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.97 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.43 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 58.43 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 58.98 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.53 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 57.77 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,000 บาท (บวกลบ 62 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.50 บาท และราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อ สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าสถานศึกษาต่างๆ ได้ปิดภาคเรียนแล้วก็ตาม แต่จากการที่ปริมาณไก่เนื้อออกสู่ตลาดไม่มาก ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2554 เวียดนามได้รายงานต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ว่าพบการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูง HPAI ในหมู่บ้าน Quang Ninh และฟาร์มในเมือง Ha Nam ทำให้มีสัตว์ปีกทั้งสิ้น 2,000 ตัวที่คาดว่าอาจจะติดเชื้อไข้หวัดนกนี้ ซึ่งได้ทำลายเรียบร้อยแล้ว

พม่าได้ยืนยันการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกชนิดรุนแรง HPAI ในพื้นที่ทั้ง 2 แห่งของประเทศแล้ว โดยการระบาดครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนมกราคม 2554 เมือง Sittway ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัด Rakhine ทางตอนตะวันของประเทศ มีสัตว์ปีกทั้งหมด 700 ตัวในฟาร์มตาย ทำให้สัตว์ปีกในพื้นที่นี้ต้องถูกทำลายกว่า 50,000 ตัว ส่วนการระบาดในพื้นที่สองเกิดขึ้นที่เมือง Sagaing เมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ โดยตรวจพบเชื้อ HPAI ในฟาร์ม 2 แห่งเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2554 เจ้าหน้าที่ได้ทำลายไก่ที่ติดเชื้อเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งห้ามการจำหน่ายเนื้อสัตว์ปีกและการขนส่งเนื้อสัตว์ปีกอีกด้วย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 47.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 46.90 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.51 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 46.52บาท ภาคะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 46.63 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.20 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตัวละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.12 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.84

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนทำให้ปริมาณไข่ไก่ออกสู่ตลาดน้อย ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 288 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 285 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.05 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 287 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 282 บาท ภาคกลางร้อยฟอง 284 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 304 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 305 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.28

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 304 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ภาคเหนือร้อยฟองละ 296 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 322 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 284 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 325 บาท

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 360 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 340 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.88

โคเนื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 45.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.93 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 50.96 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 39.51 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.50 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 49.87 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 35.47 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.80 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 51.40 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 32.28 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 14 — 20 มีนาคม 2554--

-พห-

แท็ก เกษตรกร   สุกร  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ