สศก. ลงพื้นที่ติดตามโครงการปศุสัตว์อินทรีย์ เผยเกษตรกรให้การตอบรับอย่างดี

ข่าวทั่วไป Friday April 8, 2011 13:48 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยผลการดำเนินโครงการปสุสัตว์อินทรีย์วิถีพื้นบ้าน ว่า ได้รับการตอบเป็นอย่างรับที่ดีสำหรับกลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับความรู้ ความเข้าใจในด้านการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ในปีที่ผ่านมา ซึ่งมุ่งเน้นให้มีการจัดการทรัพยากรภายในฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร และเพิ่มการใช้สารอินทรีย์ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเกษตรกร เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น

          นางนารีณัฐ  รุณภัย รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยศูนย์ประเมินผลได้ส่งทีมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า การดำเนินโครงการปศุสัตว์อินทรีย์วิถีพื้นบ้าน ปี 2554 ที่กรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้    ความเข้าใจในการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ และพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรให้สามารถนำความรู้ระบบปศุสัตว์อินทรีย์ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยมีกระบวนการดำเนินโครงการฯ  ผ่านการจัดการให้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และความประสบการณ์ร่วมกันภายในกลุ่มเกษตรกร  มีการถ่ายทอดความรู้ระบบการผลิตตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์  และสนับสนุนปัจจัยการผลิต  โดยคาดหวังให้กลุ่มเกษตรกรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง       เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองด้านการผลิต และเกิดการพึ่งพาตนเองด้านการผลิต  และเกิดความมั่นคงทางอาหาร  รวมทั้ง ความสมดุลของระบบนิเวศภายในชุมชนของตนเอง  ซึ่งทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดได้เริ่มดำเนินการแล้วในพื้นที่ ๖๔ จังหวัด สู้เกษตรกรเป้าหมาย  200 กลุ่ม  จำนวน 6,000 ราย

รองเลขาธิการ กล่าวต่อไปว่า ผลจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์เกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท และสิงห์บุรี พบว่าเกษตรกรให้การตอบรับดีในการเข้าร่วมโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง โดยเกษตรกรรส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องระบบการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์วิถีพื้นบ้านมากขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนเกษตรกรมีการใช้สารเคมีลดลง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 10,968 บาท และมีการนำมูลสัตว์มาผลิตเป็นปุ๋ยคอกไว้ใช้เองในฟาร์ม คิดเป็นมูลค่าประมาณ 16,953 บาท นอกจากนี้ เกษตรกรยังได้นำมูลสัตว์ที่เหลือจากการใช้ฟาร์มไปจำหน่าย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,066 บาท ซึ่งถือว่าเกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างต่อเนื่อง จากการที่หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนด้านความรู้และปัจจัยการผลิต

ทั้งนี้ ทีมประเมินผลได้ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าโครงการฯ ดังกล่าวมีการบรูณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดการทรัพยากรภายในฟาร์มหรือชุมชนเพิ่มมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการปลูกพืชที่ปลอดจากสารเคมี เพื่อนำมาวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ในฟาร์ม มีการนำมูลสัตว์ในฟาร์มมาผลิตเป็นปุ๋ยคอกไว้ใช้เองจะส่งผลให้เกษตรกรสามารถพัฒนาเข้าสู่ระบบปศุสัตว์อินทรีย์ และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับครัวเรือนจากผลผลิตที่เหลือเป็นส่วนเกินในฟาร์ม ซึ่งนำไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ช่วยแก้ปัญหาความยากจน และสร้างโอกาสให้เกษตรกรในการผลิตอาหารปลอดภัยจากสารเคมี เพื่อบริโภคและจำหน่ายรองเลขาธิการ กล่าว

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ