ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Thursday June 2, 2011 14:33 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

การตลาด

1.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ 2)

มติ ครม. เมื่อวันที่ 15 ก.พ.54 และ 8 มี.ค. 54 เห็นชอบการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 รอบที่ 2 ดังนี้

          การขึ้นทะเบียนเกษตรกร    4 ม.ค. — 31 พ.ค.54    ภาคใต้  1 เม.ย.  -  15 ก.ค. 54
          การประชาคม           20 ม.ค. — 15 มิ.ย.54    ภาคใต้  2  พ.ค.   — 31 ก.ค  54
          ออกใบรับรอง           20 ม.ค. — 30 มิ.ย.54    ภาคใต้  2  พ.ค.   — 15 ส.ค. 54

ทำสัญญาประกันรายได้ 20 ม.ค. 53 — 31 ก.ค.54 ภาคใต้ 2 พ.ค.53 — 15 ก.ย 54

          ระยะเวลาใช้สิทธิ         1 ก.พ.  - 15 ก.ย.54   ภาคใต้  1  มิ.ย.31      ต.ค. 54

ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

  • ข้าวเปลือกเจ้าตันละ ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 30 ตัน / ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี1 ตันละ 11,500 บาท ไม่เกิน 30 ตัน / ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 30 ตัน / ครัวเรือน

1.2 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ1)

โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ1) คงเหลือการดำเนินงานเฉพาะเกษตรกรในภาคใต้เท่านั้น ส่วนภาคอื่นสิ้นสุดระยะเวลาการใช้สิทธิไปเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 54 โดยกรอบระยะเวลาดำเนินการที่กำลังดำเนินการอยู่มีดังนี้

  • การออกใบรับรอง ภาคใต้ (ไม่รวมชุมพร) 1 ส.ค. 53 — 30 เม.ย. 54
  • การทำสัญญา ภาคใต้ (ไม่รวมชุมพร) 16 ส.ค. 53 — 31 พ.ค. 54
  • การใช้สิทธิ ภาคใต้ (ไม่รวมชุมพร) 16 ก.ย. 53 — 15 ก.ค. 54
  • การประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิง ภาคใต้ (ไม่รวมชุมพร) 16 ก.ย. 53 — 15 ก.ค. 54
  • ราคาอ้างอิงประจำวันที่ 16 พ.ค. 54 ดังตาราง

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวมีแนวโน้มลดลงในทุกชนิดข้าว ยกเว้นข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียว ทั้งนี้เนื่องจากผลผลิตในท้องตลาดมีน้อย ส่วนใหญ่อยู่ในมือของพ่อค้ายุ้งฉางและโรงสี ส่วนข้าวขาวอื่นๆ และข้าวนึ่งยังไม่มีคำสั่งซื้อจากลูกค้าในจำนวนมากเข้ามา ประกอบกับผลผลิตข้าวของผู้ประกอบการโรงสีเริ่มมีสต็อกมากขึ้นจากที่ซื้อไว้ช่วงต้นปีและจากการระบายสต็อกของรัฐบาลจึงชะลอการซื้อ ขณะเดียวกันข้าวนาปรังที่ออกสู่ตลาดมากในช่วงนี้ส่วนใหญ่เป็นข้าวที่เก็บเกี่ยวในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อย ซึ่งกระทบฝนตกหนักข้าวมีความชื้นสูงจึงถูกกดราคาต่ำลง

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 23 พฤษภาคม 2554 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 4.758 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 3.171 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 50.04 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,236 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,214 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.18

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,969 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,972 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.03

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,172 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,991 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.20

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,969 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,972 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.03

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาส่งออก เอฟ.โอ. บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 988 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,773 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 993 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,795 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.50 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 22 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 679 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,461บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 682 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,463บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 15.10 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 2 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 476 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,344 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 479 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,372 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 28 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 454 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,681 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 456 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,682 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43 ส่วนในรูปเงินบาททรงตัว

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 494 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,886 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 503 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,093 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.78 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 207 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ30.1346 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 สถานการณ์ข้าวโลก

1) การผลิต

ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนเบื้องต้นว่าผลผลิตข้าวโลกปี 2554/55 ประจำเดือนพฤษภาคม 2554 ว่าจะมี 457.858 ล้านตันข้าวสาร (685.5 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 451.577 ล้านตันข้าวสาร (676.6 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2553/54 ร้อยละ 1.39 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของประเทศผู้บริโภคและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก เช่น บังคลาเทศ จีน พม่า กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ปากีสถาน ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และ สหรัฐอเมริกา

2) การค้าข้าวโลก

บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2554/55

ณ เดือนพฤษภาคม 2554 ว่าผลผลิต ปี 2554/55 จะมี 457.858 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.39 การใช้ในประเทศจะมี 458.730 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 2.30 การส่งออก/นำเข้าจะมี 32.150 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 3.66 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 96.167 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.90

โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย พม่า อินเดีย ปากีสถาน เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และไทย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ บราซิล กัมพูชา ญี่ปุ่น อียู และกายานา

สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บราซิล โกตดิวัวร์ อียู ฮ่องกง เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์อิหร่าน อิรัก มาเลเซีย เม็กซิโก ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย เยเมน แคนาดา และสหรัฐฯ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บังคลาเทศ อินโดนีเซีย โมแซมบิค แอฟริกาใต้ และเวียดนาม

ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน และ เวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกา

2.2 สถานการณ์ข้าวเวียดนาม : ข้าวฤดูร้อนเริ่มออกสู่ตลาดเดือนมิถุนายน 2554

กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (The Vietnam Ministry of Industry and Trade) คาดว่า เวียดนามจะส่งออกได้ประมาณ 3 ล้านตัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ และจนถึงขณะนี้ผู้ส่งออกได้ทำสัญญาขายข้าวสำหรับส่งมอบในช่วงครึ่งปีแรกแล้วประมาณ 3.9 ล้านตัน

ทั้งนี้ คาดว่าหลังสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวในฤดูหนาว (winter-spring crop) ราคาข้าวมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเพราะผู้ซื้อยังคงมีความต้องการข้าวอย่างต่อเนื่อง โดยในขณะนี้สมาชิกสมาคมอาหารมีสต็อกข้าวอยู่ประมาณ 1.7 ล้านตัน โดยมีสต็อกข้าวสำหรับใช้ในมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในประเทศประมาณ 300,000 ตัน

การเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูหนาวในเขตลุ่มแม่น้ำโขงที่ผ่านมา มีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 10.36 ล้านตัน มากกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 10.27 ล้านตันเล็กน้อย นอกจากนี้เกษตรกรได้เริ่มต้นเพาะปลูกข้าวในฤดูร้อน (summer-autumn crop) ไปแล้วประมาณ 6.7 ล้านไร่ (ประมาณ 66% ของเป้าหมาย) โดยคาดว่าจะเริ่มมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตบางส่วนได้ในเดือนมิถุนายนนี้ และจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากในช่วงเดือนกรกฎาคม

เมื่อช่วงต้นปี กระทรวงเกษตร (The Agriculture Ministry) คาดว่าในปีนี้จะส่งออกมากถึง 7.1-7.4 ล้านตัน ในขณะที่ USDA ประมาณการว่าจะส่งออกได้ประมาณ 6.2 ล้านตัน ขณะที่สมาคมอาหารคาดว่าจะส่งออกได้ประมาณ 6.5 ล้านตัน

เวียดนามนิวส์รายงานว่า เวียดนามกำลังเผชิญอุปสรรคในการส่งออกข้าวไปยังตลาดใหม่อย่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่น โดยนายเลอ อัน ไห่ ทูตพาณิชย์เวียดนามประจำเกาหลีใต้ กล่าวว่า ในช่วงปี 2554 ประเทศเกาหลีใต้ได้มีแผนนำเข้าข้าว 347,658 ตัน ทำให้เกาหลีใต้เป็นตลาดที่มีโอกาสสูงสำหรับข้าวเวียดนาม แต่ผู้ส่งออกของเวียดนามต้องหาประสบการณ์ในการประมูลข้าวในตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่

ทางด้านประเทศญี่ปุ่นที่แม้จะมีแผนนำเข้าข้าวเวียดนาม 250,000 ตัน แต่ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามยังไม่สามารถควบคุมปริมาณได้ เนื่องจากการวิจัยตลาดที่ล้าหลัง นอกจากนี้เวียดนามยังต้องควบคุมเรื่องคุณภาพข้าวให้ได้ด้วย

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 23 - 29 พฤษภาคม 2554--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ