1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา(4 — 10 เม.ย. 2554) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,116.23 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 620.40 ตัน สัตว์น้ำจืด 495.83 ตัน
ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.26 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.72 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 138.93 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 16.90 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 111.18 ตัน
การตลาด
ปลาดุกส่งออกไปสหรัฐอเมริกามีผลกระทบหลังออกกฎหมายฟาร์มบิลใหม่
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเปิดเผยว่า สหรัฐฯ จะออกกฎหมาย Farm Bill 2008 เพื่อทดแทน Farm Bill 2002 ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยมีข้อกำหนดให้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) เป็นหน่วยงานตรวจสอบสินค้าปลาดุก(Catfish) ที่จะนำเข้าไปยังสหรัฐฯแทนสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังสหรัฐฯมีความเข้มงวดและมีขั้นตอนมากขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ จะใช้มาตรฐานในการควบคุมปลาดุกเหมือนกับการควบคุมเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ การเลี้ยงดู ซึ่งฝ่ายไทยมีข้อกังวล เนื่องจากสินค้าสัตว์น้ำและสัตว์ปีกนั้นมีความแตกต่างกัน จึงไม่ควรใช้ระบบ การควบคุมเดียวกัน เพราะมาตรการดังกล่าวอาจสร้างอุปสรรคทางการค้าได้ ในการยกร่างกำหมาย Farm Bill 2008 หน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยอาหารของสหรัฐฯ (FSIS) ได้เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนแสดงความเห็นต่อร่างกฎหมายดังกล่าวได้ ซึ่งกรมฯ ได้ประสานกับกรมประมงแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดส่งความเห็นไปยังสำนักงานเกษตรในต่างประเทศประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน เพื่อจัดส่งความเห็นที่ได้ไปยังสหรัฐฯภายในวันที่ 24 มิ.ย.นี้แล้ว อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวเข้าข่ายเป็นมาตรการที่ต้องแจ้งต่อคณะกรรมการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช หรือคณะกรรมการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าขององค์การการค้าโลก (WTO) โดยคาดว่าสหรัฐฯจะแจ้งต่อ WTO หลังจากเปิดรับฟังข้อคิดเห็นภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก จะติดตามและรายงานความคืบหน้าในการแจ้งมาตรการเรื่องนี้ของสหรัฐฯต่อ WTO ทั้งนี้ กรมฯ จะได้ประสานกับกรมประมง และคณะผู้แทนไทยประจำ WTO จัดทำข้อคิดเห็น เพื่อแจ้งต่อสหรัฐฯ และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องของ WTO ต่อไป
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.23 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.98 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 117.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 141.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 145.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.05 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 146.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.60 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.26 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 54.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.65 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 81.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 77.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.17 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 28 พ.ค. - 3 มิ.ย. 2554) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.60 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 30 พฤษภาคม - 5 มิถุนายน 2554--