1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
การตลาด
1.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ 2)
มติ ครม. เมื่อวันที่ 15 ก.พ.54 และ 8 มี.ค. 54 เห็นชอบการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 รอบที่ 2 ดังนี้
- การขึ้นทะเบียนเกษตรกร 4 ม.ค. — 31 พ.ค. 54 ภาคใต้ 1 เม.ย. -15 ก.ค. 54 - การประชาคม 20 ม.ค. — 15 มิ.ย.54 ภาคใต้ 2 พ.ค. — 31 ก.ค 54 - ออกใบรับรอง 20 ม.ค. — 30 มิ.ย. 54 ภาคใต้ 2 พ.ค. — 15 ส.ค. 54
- ทำสัญญาประกันรายได้ 20 ม.ค. 53 — 31 ก.ค. 54 ภาคใต้ 2 พ.ค. 53— 15 ก.ย 54
- ระยะเวลาใช้สิทธิ 1 ก.พ. - 15 ก.ย. 54 ภาคใต้ 1 มิ.ย. 31 ต.ค. 54
- ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
- ข้าวเปลือกเจ้าตันละ ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 30 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกปทุมธานี1 ตันละ 11,500 บาท ไม่เกิน 30 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 30 ตัน / ครัวเรือน
1.2 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ1)
โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ1) คงเหลือการดำเนินงานเฉพาะเกษตรกรในภาคใต้เท่านั้น ส่วนภาคอื่นสิ้นสุดระยะเวลาการใช้สิทธิไปเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 54 โดยกรอบระยะเวลาดำเนินการที่กำลังดำเนินการอยู่มีดังนี้
- การออกใบรับรอง ภาคใต้ (ไม่รวมชุมพร) 1 ส.ค. 53 — 30 เม.ย. 54 - การทำสัญญา ภาคใต้ (ไม่รวมชุมพร) 16 ส.ค. 53 — 31 พ.ค. 54 - การใช้สิทธิ ภาคใต้ (ไม่รวมชุมพร) 16 ก.ย. 53 — 15 ก.ค. 54
- การประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิง ภาคใต้ (ไม่รวมชุมพร) 16 ก.ย. 53 — 15 ก.ค. 54
- ราคาอ้างอิงประจำวันที่ 30 พ.ค. 54 ดังตาราง
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวส่วนใหญ่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเล็กน้อย เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่พ่อค้ามีความต้องการข้าวตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น จึงออกมารับซื้อในราคาที่สูงขึ้น
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 31 พฤษภาคม 2554 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 5.130 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 3.409 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 50.48 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)
1.2 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,197 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,236 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.32
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,032 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,969 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.79
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,006 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,172 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.10
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,032 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,969 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.79
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,250 บาท ราคาสูงขึ้น 13,050 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.53
ราคาส่งออก เอฟ.โอ. บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 991 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,804 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 988 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,773 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.30 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 31 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 692 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,812 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 679 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,461บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.91 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 351 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 481 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,466 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 476 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,344 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.05 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 122 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 457 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,681 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 454 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,681 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 63 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,887 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 494 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,886 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.0747 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 อินเดียยังคงมาตรการงดการส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ
รัฐมนตรีกระทรวงอาหาร (Union Food Minister) ของอินเดียให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลยังคงยืนยันที่จะไม่อนุญาตให้มีการส่งออกข้าวและข้าวสาลีจากสต็อกของรัฐบาลในปีนี้ เนื่องจากรัฐบาลกำลังเดินหน้าเรื่องกฎหมายความมั่นคงด้านอาหาร (Food Security Law) ซึ่งกำหนดให้รัฐบาลต้องมีสต็อกธัญพืชที่เพียงพอกับความต้องการ และการตัดสินใจเกี่ยวกับการอนุญาตให้มีการส่งออกจะต้องอยู่บนพื้นฐานด้านความมั่นคงอาหาร
ทั้งนี้ กฎหมายฉบับดังกล่าวซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา หากมีการประกาศใช้รัฐบาลก็จะต้องให้การรับประกันในเรื่องของการจัดหาธัญพืชราคาถูกให้แก่ประชาชน
2.2 บังคลาเทศประมูลซื้อข้าวนึ่ง 50,000 ตัน
เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 54 รัฐบาลบังคลาเทศได้ประกาศเปิดประมูลซื้อข้าวนึ่ง จำนวน 50,000 ตัน โดยกำหนดปิดรับข้อเสนอในวันที่ 6 มิ.ย. 54 นี้ และกำหนดให้มีการส่งมอบภายใน 40 วัน หลังการทำสัญญา ซึ่งการประมูลครั้งนี้นับเป็นการประมูลครั้งแรกสำหรับปีงบประมาณ 2554/55 ที่จะเริ่มขึ้นในเดือน ก.ค. 54
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณใหม่ (2554/55) ที่จะถึง คาดว่ารัฐบาลจะนำเข้าธัญพืชเพียง 1.4 ล้านตัน ลดลงจากปีงบประมาณนี้ (2553/54) ที่นำเข้าถึง 2.5 ล้านตัน อย่างไรก็ตามมีการคาดการณ์ว่า รัฐบาลอาจจะต้องนำเข้าเพิ่มมากขึ้น หากไม่สามารถจัดหาข้าวจากในประเทศได้เพียงพอเช่นปีนี้ เพราะประสบปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ที่มา : Riceonline.com และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 30 พฤษภาคม - 5 มิถุนายน 2554--