1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
การตลาด
1.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ 2)
มติ ครม. เมื่อวันที่ 15 ก.พ.54 และ 8 มี.ค. 54 เห็นชอบการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 รอบที่ 2 ดังนี้
? การขึ้นทะเบียนเกษตรกร 4 ม.ค. — 31 พ.ค. 54 ภาคใต้ 1 เม.ย. -15 ก.ค. 54 ? การประชาคม 20 ม.ค. — 15 มิ.ย. 54 ภาคใต้ 2 พ.ค. — 31 ก.ค. 54 ? ออกใบรับรอง 20 ม.ค. — 30 มิ.ย. 54 ภาคใต้ 2 พ.ค. — 15 ส.ค. 54 ? ทำสัญญาประกันรายได้ 20 ม.ค.53 — 31 ก.ค. 54 ภาคใต้ 2 พ.ค. 53 — 15 ก.ย. 54 ? ระยะเวลาใช้สิทธิ 1 ก.พ. - 15 ก.ย. 54 ภาคใต้ 1 มิ.ย. 31 ต.ค. 54
? ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
- ข้าวเปลือกเจ้าตันละ ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 30 ตัน / ครัวเรือน
- ข้าวเปลือกปทุมธานี1 ตันละ 11,500 บาท ไม่เกิน 30 ตัน / ครัวเรือน
- ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 30 ตัน / ครัวเรือน
1.2 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ1)
โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ1) คงเหลือการดำเนินงานเฉพาะเกษตรกรใน ภาคใต้เท่านั้น ส่วนภาคอื่นสิ้นสุดระยะเวลาการใช้สิทธิไปเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 54 โดยกรอบระยะเวลาดำเนินการที่กำลังดำเนินการอยู่มีดังนี้
? การออกใบรับรอง ภาคใต้ (ไม่รวมชุมพร) 1 ส.ค. 53 — 30 เม.ย.54 ? การทำสัญญา ภาคใต้ (ไม่รวมชุมพร) 16 ส.ค. 53 — 31 พ.ค. 54 ? การใช้สิทธิ ภาคใต้ (ไม่รวมชุมพร) 16 ก.ย. 53 — 15 ก.ค. 54
? การประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิง ภาคใต้ (ไม่รวมชุมพร) 16 ก.ย. 53 — 15 ก.ค. 54
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากลูกค้าต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อ และติดตามทิศทางนโยบายข้าวของรัฐบาลชุดใหม่ รวมทั้งขณะนี้ข้าวนาปรังปี 2554 ออกสู่ตลาดเหลือน้อยมาก ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วส่วนใหญ่อยู่ในมือของพ่อค้า โรงสี และผู้ส่งออก ซึ่งเพียงพอต่อการส่งมอบจึงไม่ออกมารับซื้อข้าว
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 4 กรกฎาคม 2554 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 6.444 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 4.085 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 57.75 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)
1.2 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,229 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,356 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.03
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,692 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,901 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.35
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,559 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,406 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.99
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,692 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,901 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.35
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,510 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,375 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.94
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,038 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,347 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,008 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,815 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.98 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 532 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 764 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,072 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 747 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,836 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.28 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 236 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 519 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,674 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 503 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,377 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.18 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 297 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 480 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,496 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,337 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.35 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 159 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 543 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,398 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 526 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,080 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 318 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.1995 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
อินเดีย
แหล่งข่าวจากรัฐบาลอินเดียระบุว่า รัฐบาลอาจจะพิจารณาอนุญาตให้ส่งออกข้าวสาลีและข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติ โดยคาดว่าจะมีการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (The empowered group of ministers : EGoM) ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2554 เพื่อพิจารณาอนุญาตให้ส่งออกธัญพืชได้อย่างน้อย 1 ล้านตัน หรือข้าวสาลี 2 ล้านตัน และข้าวขาว 1 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณาคือ อัตราเงินเฟ้อด้านอาหารที่ยังคงสูงประมาณร้อยละ 9 และการที่ต้องสำรองอาหารให้มากขึ้นตามข้อกำหนดของกฎหมายความมั่นคงด้านอาหารฉบับใหม่ ประกอบกับรัฐบาลอาจต้องรอผลการประเมินภาวการณ์ผลิตข้าวไปจนถึงกลางเดือนสิงหาคม 2554
ที่มา Riceonline.com
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 4 — 10 กรกฎาคม 2554--