สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นปลื้ม หลังชงหลักการแผนพัมนาการเกษตรในช่วงแผนฯ 10 เสนอกระทรวงเกษตรฯ เผยมติที่ประชุมเห็นชอบ โดยมีแนวทางเน้นการดูแลเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียงและผาสุก
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการของแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 — 2554) ตามที่ สศก. เสนอ
โดยมีแนวทางการดำเนินงานที่เน้นการดูแลเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียงและผาสุก กำหนดเป้าหมายลดจำนวนครัวเรือนเกษตรกรยากจนลงเหลือร้อยละ 4 ในปี 2554 จากจำนวนครัวเรือนเกษตรกรยากจน 2 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ครัวเรือนเกษตรไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 ทำการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งสนับสนุนให้ครัวเรือนเกษตรลดการใช้สารเคมีในฟาร์ม และกำหนดให้เพิ่มอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภาคเกษตรร้อยละ 3 ต่อปี รวมทั้งให้ฟาร์ม โรงงาน ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีคุณภาพมาตรฐาน
ทั้งนี้ ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตร 4 ด้าน ประกอบด้วย การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร โดยแบ่งเกษตรกรออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เกษตรกรรายย่อย และเกษตรกรก้าวหน้า / เกษตรเชิงพาณิชย์ เน้นการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้แก่เกษตรกรผ่านปราชญ์ชาวบ้าน
ต่อมาคือ การพัฒนาสินค้าเกษตรเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิต ในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และสับปะรด เป็นต้น การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ เช่น กุ้ง ข้าวหอมมะลิ ข้าวอินทรีย์ ไก่เนื้อ สุกร ลำไย ทุเรียน เงาะ มังคุด พืชผัก (ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดหวาน หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว และพริก) รวมทั้งการลงทุนวิจัยและพัฒนาการเกษตรไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภาคเกษตรและพัฒนาระบบโลจิสติกส์
ในส่วนของการบริหารจัดการทรัพยากรทางการเกษตร ไม่ให้กระทบสิ่งแวดล้อมเช่น ฟื้นฟูดินที่มีปัญหา ลดพื้นที่ที่มีการชะล้างพังทลายของดินอย่างน้อย 5 ล้านไร่ เพิ่มพื้นที่ชลประทานอย่างน้อย 8 แสนไร่ เป็นต้น และสุดท้ายเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการบริหารจัดการ รวมทั้งเกษตรกรได้รับข่าวสารทางการเกษตรที่ถูกต้อง ทันเวลา
นายอภิชาต กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนงานสำคัญตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วย การพัฒนาการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สร้างเกษตรกรคลื่นลูกใหม่และพัฒนายุวเกษตรกร ส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพิ่มแหล่งน้ำในเขตและนอกเขตชลประทาน การวิจัยและพัฒนา เพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้ากุ้ง ไก่ ปลา ปลาสวยงาม พัฒนาระบบโลจิสติกส์ภาคเกษตร ป้องกันและบรรเทาภัยธรรมชาติในการเกษตร บรรเทาภาวะโลกร้อน ปรับปรุงคุณภาพดิน และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงาน
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการของแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 — 2554) ตามที่ สศก. เสนอ
โดยมีแนวทางการดำเนินงานที่เน้นการดูแลเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียงและผาสุก กำหนดเป้าหมายลดจำนวนครัวเรือนเกษตรกรยากจนลงเหลือร้อยละ 4 ในปี 2554 จากจำนวนครัวเรือนเกษตรกรยากจน 2 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ครัวเรือนเกษตรไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 ทำการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งสนับสนุนให้ครัวเรือนเกษตรลดการใช้สารเคมีในฟาร์ม และกำหนดให้เพิ่มอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภาคเกษตรร้อยละ 3 ต่อปี รวมทั้งให้ฟาร์ม โรงงาน ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีคุณภาพมาตรฐาน
ทั้งนี้ ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตร 4 ด้าน ประกอบด้วย การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร โดยแบ่งเกษตรกรออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เกษตรกรรายย่อย และเกษตรกรก้าวหน้า / เกษตรเชิงพาณิชย์ เน้นการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้แก่เกษตรกรผ่านปราชญ์ชาวบ้าน
ต่อมาคือ การพัฒนาสินค้าเกษตรเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิต ในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และสับปะรด เป็นต้น การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ เช่น กุ้ง ข้าวหอมมะลิ ข้าวอินทรีย์ ไก่เนื้อ สุกร ลำไย ทุเรียน เงาะ มังคุด พืชผัก (ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดหวาน หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว และพริก) รวมทั้งการลงทุนวิจัยและพัฒนาการเกษตรไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภาคเกษตรและพัฒนาระบบโลจิสติกส์
ในส่วนของการบริหารจัดการทรัพยากรทางการเกษตร ไม่ให้กระทบสิ่งแวดล้อมเช่น ฟื้นฟูดินที่มีปัญหา ลดพื้นที่ที่มีการชะล้างพังทลายของดินอย่างน้อย 5 ล้านไร่ เพิ่มพื้นที่ชลประทานอย่างน้อย 8 แสนไร่ เป็นต้น และสุดท้ายเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการบริหารจัดการ รวมทั้งเกษตรกรได้รับข่าวสารทางการเกษตรที่ถูกต้อง ทันเวลา
นายอภิชาต กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนงานสำคัญตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วย การพัฒนาการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สร้างเกษตรกรคลื่นลูกใหม่และพัฒนายุวเกษตรกร ส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพิ่มแหล่งน้ำในเขตและนอกเขตชลประทาน การวิจัยและพัฒนา เพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้ากุ้ง ไก่ ปลา ปลาสวยงาม พัฒนาระบบโลจิสติกส์ภาคเกษตร ป้องกันและบรรเทาภัยธรรมชาติในการเกษตร บรรเทาภาวะโลกร้อน ปรับปรุงคุณภาพดิน และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงาน
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-