สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ติดตามประเมินผลงานการผลิตและปล่อยพันธ์สัตว์น้ำจืด พบ ช่วยเกษตรกรสร้างรายได้เพิ่มถึง 18,457 บาท/ปี ย้ำถึงแนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรประมง และพึ่งตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดเผยว่า ทาง สศก. ได้ดำเนินการติดตาม และประเมินผลงานผลิตพันธุ์สัตว์น้ำจืด เพื่อผลิตและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจืดของกรมประมง เช่น ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน ปลายี่สกเทศ ปลานวลจันทร์ รวมทั้งกุ้งก้ามกราม และปลากะโห้ที่หายาก ซึ่งในปี 2549 มีเป้าหมายผลิตพันธุ์สัตว์น้ำจืดเพื่อปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน 1,350 ล้านตัว และผลจากการติดตามประเมินผลในพื้นที่เป้าหมาย พบว่า เกษตรกรจับสัตว์น้ำเพื่อนำมาบริโภค และจำหน่ายได้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น จากเดิมเฉลี่ย 15,544 บาทต่อปี เป็น 18,457 บาทต่อปี
ส่วนด้านการสำรวจความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจมาก เนื่องจาก มีผลผลิตสัตว์น้ำให้จับเพื่อบริโภคและจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่องทุกปี ทำให้เกษตรกรมีโอกาสบริโภคอาหารโปรตีนราคาถูก และช่วยเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยได้ประมาณวันละ 100-300 บาท โดยเฉพาะ กุ้งก้ามกราม ซึ่งสามารถขายได้ระหว่างกิโลกรัมละ 150-400 บาท
สำหรับปัญหาที่พบจากการติดตามประเมินผล ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในแหล่งน้ำขนาดเล็กทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ การอนุญาตให้ปล่อยสัตว์น้ำในแหล่งน้ำได้ แต่ไม่ให้เกษตรกรลงไปจับ หรือ บางแห่งให้จับได้แต่ไม่ให้ใช้เครื่องมือที่ทำให้น้ำขุ่น เพราะจะส่งผลต่อการเก็บน้ำไว้ใช้ทำประปาหมู่บ้าน ดังนั้น เกษตรกรจึงจับสัตว์น้ำได้ในปริมาณที่ไม่มาก และบางแห่งใช้วิธีเปิดขายบัตรให้จับสัตว์น้ำได้ปีละครั้ง หรือประมาณ 6 เดือนหลังการปล่อยสัตว์น้ำ จึงทำให้ปริมาณสัตว์น้ำที่เกษตรกรจับได้ต่อปีลดน้อยลงตามไปด้วย
นอกจากนี้ ทางกระทรวงเกษตรฯ ยังได้สนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มเพื่อให้ดำเนินงานดูแล จัดการแหล่งน้ำ รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง เช่น การห้ามจับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่ การงดใช้เครื่องมือที่ผิดกฎหมาย และทำลายทรัพยากรประมง ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารเบื่อปลา การระเบิดปลา การช๊อตปลา ซึ่งจะส่งผลต่อระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำได้ นายอภิชาต กล่าวทิ้งท้าย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดเผยว่า ทาง สศก. ได้ดำเนินการติดตาม และประเมินผลงานผลิตพันธุ์สัตว์น้ำจืด เพื่อผลิตและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจืดของกรมประมง เช่น ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน ปลายี่สกเทศ ปลานวลจันทร์ รวมทั้งกุ้งก้ามกราม และปลากะโห้ที่หายาก ซึ่งในปี 2549 มีเป้าหมายผลิตพันธุ์สัตว์น้ำจืดเพื่อปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน 1,350 ล้านตัว และผลจากการติดตามประเมินผลในพื้นที่เป้าหมาย พบว่า เกษตรกรจับสัตว์น้ำเพื่อนำมาบริโภค และจำหน่ายได้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น จากเดิมเฉลี่ย 15,544 บาทต่อปี เป็น 18,457 บาทต่อปี
ส่วนด้านการสำรวจความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจมาก เนื่องจาก มีผลผลิตสัตว์น้ำให้จับเพื่อบริโภคและจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่องทุกปี ทำให้เกษตรกรมีโอกาสบริโภคอาหารโปรตีนราคาถูก และช่วยเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยได้ประมาณวันละ 100-300 บาท โดยเฉพาะ กุ้งก้ามกราม ซึ่งสามารถขายได้ระหว่างกิโลกรัมละ 150-400 บาท
สำหรับปัญหาที่พบจากการติดตามประเมินผล ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในแหล่งน้ำขนาดเล็กทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ การอนุญาตให้ปล่อยสัตว์น้ำในแหล่งน้ำได้ แต่ไม่ให้เกษตรกรลงไปจับ หรือ บางแห่งให้จับได้แต่ไม่ให้ใช้เครื่องมือที่ทำให้น้ำขุ่น เพราะจะส่งผลต่อการเก็บน้ำไว้ใช้ทำประปาหมู่บ้าน ดังนั้น เกษตรกรจึงจับสัตว์น้ำได้ในปริมาณที่ไม่มาก และบางแห่งใช้วิธีเปิดขายบัตรให้จับสัตว์น้ำได้ปีละครั้ง หรือประมาณ 6 เดือนหลังการปล่อยสัตว์น้ำ จึงทำให้ปริมาณสัตว์น้ำที่เกษตรกรจับได้ต่อปีลดน้อยลงตามไปด้วย
นอกจากนี้ ทางกระทรวงเกษตรฯ ยังได้สนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มเพื่อให้ดำเนินงานดูแล จัดการแหล่งน้ำ รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง เช่น การห้ามจับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่ การงดใช้เครื่องมือที่ผิดกฎหมาย และทำลายทรัพยากรประมง ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารเบื่อปลา การระเบิดปลา การช๊อตปลา ซึ่งจะส่งผลต่อระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำได้ นายอภิชาต กล่าวทิ้งท้าย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-