สศก. เผย ท่าทีเจรจาพหุพาคีองค์การการค้าโลก ในกลุ่มประเทศ G-33 หวังเรียกร้องให้มีการกำหนดสินค้าพิเศษ SPs ตามประกาศรัฐมนตรีฮ่องกง ปี 48 แนะ ควรสอดคล้องกับประเทศนั้นๆ และเป็นไปตามหลักการค้าที่เสรีและเป็นธรรม
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดเผยถึงท่าทีการเจรจาพหุภาคีองค์การการค้าโลก(WTO) ในประเด็นกลุ่มประเทศ G-33 ซึ่งได้แก่ กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นประเทศนำเข้าอาหารสุทธิ นำโดยอินโดนีเซีย อินเดีย และจีน ซึ่งเรียกร้องให้มีการกำหนดให้มีสินค้าพิเศษ (Special Products : SPs) สำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยมีวัตุประสงค์เพื่อไม่ต้องเปิดตลาดหรือเปิดตลาดน้อยมาก ในสินค้าที่ต้องการจะปกป้อง เนื่องจากตามประกาศของรัฐมนตรี WTO ที่ฮ่องกง เมื่อปี2548 ได้ให้สิทธิประเทศกำลังพัฒนาสามารถกำหนดสินค้า SPs ขึ้นมาได้ โดยสินค้า SPs นี้ สามารถมีความยืดหยุ่นในการเปิดตลาดนอกเหนือจากสินค้าเกษตรปกติ
นายอภิชาต กล่าวว่า เห็นด้วยกับประเด็นที่ประเทศกำลังพัฒนาจะให้มี SPs คือ สามารถเปิดตลาดสินค้าพิเศษน้อยกว่าสินค้าปกติ ทั้งนี้ การเปิดตลาดควรต้องค่อยเป็นค่อยไป โดยให้สอดคล้องกับนโยบายด้านความมั่นคงด้านอาหาร ความมั่นคงในชีวิตของประชาชน และการพัฒนาชนบทของประเทศกำลังพัฒนาประเทศนั้นๆ ซึ่งประเทศไทยเองก็มีสินค้าหลายรายการที่อาจจำเป็นต้องกำหนดเป็นสินค้าพิเศษ อาทิ สินค้าประเภทนมและถั่วเหลือง ที่จำเป็นต้องมีการใช้มาตรการจำกัดการนำเข้า เพื่อป้องกันไม่ให้มีการทะลักเข้ามาของสินค้านำเข้าจากประเทศพัฒนาแล้ว ราคาถูก อันเนื่องมาจากการให้การอุดหนุนที่บิดเบือน จนส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ อย่างไรก็ตามแม้จะเห็นด้วยในหลักการของ SPs แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของกลุ่ม G-33 ในประเด็นที่ว่า “สินค้าเกษตรใดๆ ก็สามารถเป็นสินค้าพิเศษได้และสามารถปิดตลาดสินค้าพิเศษได้” เนื่องจากหากยอมให้นำสินค้าเกษตรรายการใดก็ได้นำมาเป็นสินค้า SPs ซึ่งหมายถึงการยอมให้เกิดการปิดตลาดสินค้าเกษตรระหว่างประเทศแบบสุดโต่ง ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านการเกษตรในประเทศ ทั้งในด้านประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลผลิต อีกทั้งการให้สิทธิในการปิดตลาดสินค้าพิเศษ จะส่งผลกระทบในด้านลบต่อการค้าในระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนาด้วยกันเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรเช่นประเทศไทย ซึ่งส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ คือ ข้าวและน้ำตาล เนื่องจากสินค้าเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะถูกนำมาใช้เป็นสินค้า SPs ดังนั้น หากการเจรจารอบโดฮานี้ ให้สิทธิประเทศกำลังพัฒนาในการปิดตลาดสินค้าพิเศษแล้ว ก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวและน้ำตาลของไทย และจะส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังเกษตรกรของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยและมีฐานะยากจน
สำหรับกลุ่มตัวแทนองค์กรอิสระ(NGOs)ระหว่างประเทศ ที่เรียกว่ากลุ่ม G-33 Civil Society Organizations (G33CSO) ที่ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกแก่รัฐบาลไทย (และมาเลเซีย) ขอให้สนับสนุนข้อเสนอเรื่องสินค้าพิเศษของกลุ่ม G-33 โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นการปกป้องเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน และเพื่อความเป็นเอกภาพในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในการเจรจากับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วต่อไป รวมทั้งอ้างว่า องค์กรเอกชนของไทยก็มีท่าทีสนับสนุนกลุ่ม G33CSO ด้วยนั้น องค์กรเอกชนของไทยควรจะตระหนักถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อการส่งออกข้าวและน้ำตาลรวมถึงพืชอื่นๆ ที่อาจถูกนำมาใช้เป็นสินค้าSPsได้ ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรไทยสามารถขายข้าวที่ผลิตได้เพื่อการส่งออก ประเทศไทยจึงต้องการที่จะให้มีการลดภาษีสินค้าทุกรายการเพื่อเป็นการเปิดตลาดเพิ่มขึ้น โดยในการดำเนินนโยบายต่อสินค้าพิเศษเหล่านี้ ควรเป็นไปตามหลักการแข่งขันทางการค้าที่เสรีและเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การพัฒนาการเกษตรของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมด ประสบผลสำเร็จในระยะยาวและยั่งยืนต่อไป นายอภิชาต กล่าวทิ้งท้าย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดเผยถึงท่าทีการเจรจาพหุภาคีองค์การการค้าโลก(WTO) ในประเด็นกลุ่มประเทศ G-33 ซึ่งได้แก่ กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นประเทศนำเข้าอาหารสุทธิ นำโดยอินโดนีเซีย อินเดีย และจีน ซึ่งเรียกร้องให้มีการกำหนดให้มีสินค้าพิเศษ (Special Products : SPs) สำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยมีวัตุประสงค์เพื่อไม่ต้องเปิดตลาดหรือเปิดตลาดน้อยมาก ในสินค้าที่ต้องการจะปกป้อง เนื่องจากตามประกาศของรัฐมนตรี WTO ที่ฮ่องกง เมื่อปี2548 ได้ให้สิทธิประเทศกำลังพัฒนาสามารถกำหนดสินค้า SPs ขึ้นมาได้ โดยสินค้า SPs นี้ สามารถมีความยืดหยุ่นในการเปิดตลาดนอกเหนือจากสินค้าเกษตรปกติ
นายอภิชาต กล่าวว่า เห็นด้วยกับประเด็นที่ประเทศกำลังพัฒนาจะให้มี SPs คือ สามารถเปิดตลาดสินค้าพิเศษน้อยกว่าสินค้าปกติ ทั้งนี้ การเปิดตลาดควรต้องค่อยเป็นค่อยไป โดยให้สอดคล้องกับนโยบายด้านความมั่นคงด้านอาหาร ความมั่นคงในชีวิตของประชาชน และการพัฒนาชนบทของประเทศกำลังพัฒนาประเทศนั้นๆ ซึ่งประเทศไทยเองก็มีสินค้าหลายรายการที่อาจจำเป็นต้องกำหนดเป็นสินค้าพิเศษ อาทิ สินค้าประเภทนมและถั่วเหลือง ที่จำเป็นต้องมีการใช้มาตรการจำกัดการนำเข้า เพื่อป้องกันไม่ให้มีการทะลักเข้ามาของสินค้านำเข้าจากประเทศพัฒนาแล้ว ราคาถูก อันเนื่องมาจากการให้การอุดหนุนที่บิดเบือน จนส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ อย่างไรก็ตามแม้จะเห็นด้วยในหลักการของ SPs แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของกลุ่ม G-33 ในประเด็นที่ว่า “สินค้าเกษตรใดๆ ก็สามารถเป็นสินค้าพิเศษได้และสามารถปิดตลาดสินค้าพิเศษได้” เนื่องจากหากยอมให้นำสินค้าเกษตรรายการใดก็ได้นำมาเป็นสินค้า SPs ซึ่งหมายถึงการยอมให้เกิดการปิดตลาดสินค้าเกษตรระหว่างประเทศแบบสุดโต่ง ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านการเกษตรในประเทศ ทั้งในด้านประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลผลิต อีกทั้งการให้สิทธิในการปิดตลาดสินค้าพิเศษ จะส่งผลกระทบในด้านลบต่อการค้าในระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนาด้วยกันเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรเช่นประเทศไทย ซึ่งส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ คือ ข้าวและน้ำตาล เนื่องจากสินค้าเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะถูกนำมาใช้เป็นสินค้า SPs ดังนั้น หากการเจรจารอบโดฮานี้ ให้สิทธิประเทศกำลังพัฒนาในการปิดตลาดสินค้าพิเศษแล้ว ก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวและน้ำตาลของไทย และจะส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังเกษตรกรของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยและมีฐานะยากจน
สำหรับกลุ่มตัวแทนองค์กรอิสระ(NGOs)ระหว่างประเทศ ที่เรียกว่ากลุ่ม G-33 Civil Society Organizations (G33CSO) ที่ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกแก่รัฐบาลไทย (และมาเลเซีย) ขอให้สนับสนุนข้อเสนอเรื่องสินค้าพิเศษของกลุ่ม G-33 โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นการปกป้องเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน และเพื่อความเป็นเอกภาพในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในการเจรจากับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วต่อไป รวมทั้งอ้างว่า องค์กรเอกชนของไทยก็มีท่าทีสนับสนุนกลุ่ม G33CSO ด้วยนั้น องค์กรเอกชนของไทยควรจะตระหนักถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อการส่งออกข้าวและน้ำตาลรวมถึงพืชอื่นๆ ที่อาจถูกนำมาใช้เป็นสินค้าSPsได้ ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรไทยสามารถขายข้าวที่ผลิตได้เพื่อการส่งออก ประเทศไทยจึงต้องการที่จะให้มีการลดภาษีสินค้าทุกรายการเพื่อเป็นการเปิดตลาดเพิ่มขึ้น โดยในการดำเนินนโยบายต่อสินค้าพิเศษเหล่านี้ ควรเป็นไปตามหลักการแข่งขันทางการค้าที่เสรีและเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การพัฒนาการเกษตรของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมด ประสบผลสำเร็จในระยะยาวและยั่งยืนต่อไป นายอภิชาต กล่าวทิ้งท้าย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-