สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 8 ติดตามผลโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช พบ มีผู้ขึ้นทะเบียน 54 ราย เผย สมาชิกยังขาดความเข้าใจตัวโครงการฯ แนะ ควรมีการสร้างเครือข่ายระยะยาว และชี้แจงโครงการอย่างต่อเนื่อง
นายมนตรี เมืองพรหม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 8 (สศข.8) จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวฯ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นจังหวัดพื้นที่เป้าหมายนำร่องโครงการฯ ในเขตพื้นที่ภาคใต้ และนับเป็นจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบของ สศข. 8 โดยทาง สศข. 8 ได้ให้การสนับสนุน และติดตามการดำเนินงานโครงการฯ ดังกล่าวมาโดยตลอด และจากการติดตาม พบว่า มีสมาชิกมาขอขึ้นทะเบียนตามโครงการฯ จำนวนทั้งหมด 54 ราย ประกอบด้วยอำเภอเมือง 23 ราย และอำเภอพระพรหม 31 ราย โดยส่วนใหญ่มีรายได้จากการทำงานนอกภาคการเกษตร ซึ่งพบว่า มี 2 ราย ที่ไม่มีรายได้เลย แต่ได้รับการช่วยเหลือจากบิดา มารดา ส่วนที่เหลือ 52 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 96.30 ของสมาชิกในโครงการฯ สามารถมีรายได้เลี้ยงตนเอง
สำหรับครอบครัวที่สมาชิกมีอาชีพทำการเกษตรในครัวเรือนพบว่าได้บริโภคพืชผักที่ปลอดภัย มีสารอาหารครบถ้วน และสามารถนำไปขายเป็นรายได้เสริมจำนวน 43 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 79.63 ส่วนอีกจำนวน 11 ราย พบว่าไม่มีพื้นที่ปลูกพืชผัก และไม่ได้รับพันธุ์พืชคิดเป็นร้อยละ 20.37 ของผู้เข้าร่วมโครงการ
ด้านปัญหาและอุปสรรค พบว่า มีการคัดเลือกสมาชิกจากโรงพยาบาล ทำให้สมาชิกอยู่กระจัดกระจายยากแก่การรวมกลุ่มทำกิจกรรม สมาชิกส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินทำกินด้านการเกษตร อีกทั้งปัจจัยการผลิตที่ได้รับแจกช่วงแรกเพื่อนำไปปฎิบัติ ซึ่งต่อมาเมื่อไม่ได้รับแจกก็จะไม่มีการปฏิบัติต่อ รวมทั้งสมาชิกส่วนใหญ่ที่มีฐานะยากจน แต่มีลูกมาก อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ต่ำกว่าเกณฑ์ นอกจากนี้ยังพบว่า สมาชิกต้องการให้ได้รับสิทธิพิเศษด้านการรักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร และส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เท่าที่ควร โดยยังเข้าใจอยู่ว่ารัฐจะเป็นผู้จัดหาทุกอย่างให้
นายมนตรี ได้กล่าวถึงข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ภายหลังจากการติดตามประเมินผลดังกล่าวว่า ควรต้องมีการสร้างเครือข่ายในระยะยาวโดยส่งตัวแทนสมาชิกไปดูงานในจังหวัดต่างๆ เช่น เชียงใหม่ และนครราชสีมา พร้อมกับให้สมาชิกมีการพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้า อีกทั้ง ควรพยายามสร้างอาชีพเสริมที่มั่นคงแก่สมาชิกเพื่อนำไปปรับใช้ได้จริง รวมทั้งสร้างความแตกต่างให้ชัดเจนระหว่างสมาชิกของโครงการฯ กับเกษตรกรทั่วไป นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ จำเป็นต้องให้คำแนะนำ ติดตามการปลูกพืชในพื้นที่จำกัด ชี้แจงโครงการฯ ทำความเข้าใจให้กับสมาชิกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมนตรี เมืองพรหม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 8 (สศข.8) จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวฯ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นจังหวัดพื้นที่เป้าหมายนำร่องโครงการฯ ในเขตพื้นที่ภาคใต้ และนับเป็นจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบของ สศข. 8 โดยทาง สศข. 8 ได้ให้การสนับสนุน และติดตามการดำเนินงานโครงการฯ ดังกล่าวมาโดยตลอด และจากการติดตาม พบว่า มีสมาชิกมาขอขึ้นทะเบียนตามโครงการฯ จำนวนทั้งหมด 54 ราย ประกอบด้วยอำเภอเมือง 23 ราย และอำเภอพระพรหม 31 ราย โดยส่วนใหญ่มีรายได้จากการทำงานนอกภาคการเกษตร ซึ่งพบว่า มี 2 ราย ที่ไม่มีรายได้เลย แต่ได้รับการช่วยเหลือจากบิดา มารดา ส่วนที่เหลือ 52 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 96.30 ของสมาชิกในโครงการฯ สามารถมีรายได้เลี้ยงตนเอง
สำหรับครอบครัวที่สมาชิกมีอาชีพทำการเกษตรในครัวเรือนพบว่าได้บริโภคพืชผักที่ปลอดภัย มีสารอาหารครบถ้วน และสามารถนำไปขายเป็นรายได้เสริมจำนวน 43 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 79.63 ส่วนอีกจำนวน 11 ราย พบว่าไม่มีพื้นที่ปลูกพืชผัก และไม่ได้รับพันธุ์พืชคิดเป็นร้อยละ 20.37 ของผู้เข้าร่วมโครงการ
ด้านปัญหาและอุปสรรค พบว่า มีการคัดเลือกสมาชิกจากโรงพยาบาล ทำให้สมาชิกอยู่กระจัดกระจายยากแก่การรวมกลุ่มทำกิจกรรม สมาชิกส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินทำกินด้านการเกษตร อีกทั้งปัจจัยการผลิตที่ได้รับแจกช่วงแรกเพื่อนำไปปฎิบัติ ซึ่งต่อมาเมื่อไม่ได้รับแจกก็จะไม่มีการปฏิบัติต่อ รวมทั้งสมาชิกส่วนใหญ่ที่มีฐานะยากจน แต่มีลูกมาก อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ต่ำกว่าเกณฑ์ นอกจากนี้ยังพบว่า สมาชิกต้องการให้ได้รับสิทธิพิเศษด้านการรักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร และส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เท่าที่ควร โดยยังเข้าใจอยู่ว่ารัฐจะเป็นผู้จัดหาทุกอย่างให้
นายมนตรี ได้กล่าวถึงข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ภายหลังจากการติดตามประเมินผลดังกล่าวว่า ควรต้องมีการสร้างเครือข่ายในระยะยาวโดยส่งตัวแทนสมาชิกไปดูงานในจังหวัดต่างๆ เช่น เชียงใหม่ และนครราชสีมา พร้อมกับให้สมาชิกมีการพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้า อีกทั้ง ควรพยายามสร้างอาชีพเสริมที่มั่นคงแก่สมาชิกเพื่อนำไปปรับใช้ได้จริง รวมทั้งสร้างความแตกต่างให้ชัดเจนระหว่างสมาชิกของโครงการฯ กับเกษตรกรทั่วไป นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ จำเป็นต้องให้คำแนะนำ ติดตามการปลูกพืชในพื้นที่จำกัด ชี้แจงโครงการฯ ทำความเข้าใจให้กับสมาชิกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-