สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 7 จ.ชัยนาท สำรวจพบ ชาวนาในเขตชลประทานภาคกลางหันปรับเปลี่ยนวิธีการทำนา ด้วยรถดำนาอัตโนมัติเพิ่มขึ้น เหตุเพราะประหยัดแรงงาน สะดวกรวดเร็ว ลดปัญหาข้าวดีดข้าวปน และจำนวนปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ได้จริง
นายสมชาย ครามานนท์ รักษาราชการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 7 (สศข.7) จ.ชัยนาท สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึง การที่เกษตรกรในเขตชลประทานในภาคกลาง มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการทำนาอย่างต่อเนื่อง จากการดำนาโดยแรงงานคนที่มีประสิทธิภาพต่ำเพียง 0.25 ไร่/วัน/คน มาเป็นการทำนาหว่านน้ำตมที่ช่วยประหยัดแรงงานมากขึ้น แต่ก็ยังพบปัญหามาก เช่น ใช้เมล็ดพันธุ์สูง ข้าวมีการปลอมปนสูง มีข้าวดีดข้าวเด้ง จนในปัจจุบันได้พัฒนาการดำนาโดยรถดำนาอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสูง 15-20 ไร่/วัน ซึ่งช่วยลดปัญหาการใช้แรงงาน ปัญหาข้าวดีดข้าวปนได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ชาวนาภาคกลางหลาย ๆ จังหวัด หันมาใช้รถดำนาอัตโนมัติกันมากขึ้น โดยพบเห็นมากในจังหวัด สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท ปทุมธานี อยุธยา และอ่างทอง เป็นต้น
หากเมื่อเปรียบเทียบการทำนาด้วยรถดำนาอัตโนมัติกับการทำนาโดยวิธีนาหว่านน้ำตมพบว่า มีข้อดีหลายประการคือ สามารถลดปัญหาข้าวดีดข้าวปนได้อย่างชัดเจน มีการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่เพียง 10.41 กก./ไร่ ในขณะที่นาหว่านน้ำตมใช้เมล็ดพันธุ์ 25-30 กก./ไร่ อีกทั้งยังลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ร้อยละ 50 เนื่องจากมีปริมาณต้นข้าวน้อยกว่านาหว่านน้ำตมเกือบ 3 เท่า และไม่มีวัชพืชคอยแย่งปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ ยังลดการใช้ยากำจัดวัชพืช/ฆ่าแมลงลงได้ร้อยละ 20 เนื่องจากนาดำมีระยะห่างระหว่างต้นโรคแมลงไม่ค่อยรบกวนการดูแลถอนหญ้าทำได้ง่าย ขณะที่ต้นข้าวนาดำมีความแข็งแรง และให้ผลผลิตต่อไร่สูง ต้นข้าวไม่ล้ม ทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการใช้รถดำนาอัตโนมัติจะมีค่าใช้จ่ายในการจ้างดำต่อไร่ 1,000 บาท/ไร่ ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง แต่ถ้าได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ จะก่อให้เกิดการรวมกลุ่มในรูปกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ หรือนิคมเกษตรกร ซึ่งจะสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าว มาใช้พร้อมกันก็จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายลงได้ในที่สุด นายสมชาย กล่าวทิ้งท้าย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายสมชาย ครามานนท์ รักษาราชการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 7 (สศข.7) จ.ชัยนาท สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึง การที่เกษตรกรในเขตชลประทานในภาคกลาง มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการทำนาอย่างต่อเนื่อง จากการดำนาโดยแรงงานคนที่มีประสิทธิภาพต่ำเพียง 0.25 ไร่/วัน/คน มาเป็นการทำนาหว่านน้ำตมที่ช่วยประหยัดแรงงานมากขึ้น แต่ก็ยังพบปัญหามาก เช่น ใช้เมล็ดพันธุ์สูง ข้าวมีการปลอมปนสูง มีข้าวดีดข้าวเด้ง จนในปัจจุบันได้พัฒนาการดำนาโดยรถดำนาอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสูง 15-20 ไร่/วัน ซึ่งช่วยลดปัญหาการใช้แรงงาน ปัญหาข้าวดีดข้าวปนได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ชาวนาภาคกลางหลาย ๆ จังหวัด หันมาใช้รถดำนาอัตโนมัติกันมากขึ้น โดยพบเห็นมากในจังหวัด สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท ปทุมธานี อยุธยา และอ่างทอง เป็นต้น
หากเมื่อเปรียบเทียบการทำนาด้วยรถดำนาอัตโนมัติกับการทำนาโดยวิธีนาหว่านน้ำตมพบว่า มีข้อดีหลายประการคือ สามารถลดปัญหาข้าวดีดข้าวปนได้อย่างชัดเจน มีการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่เพียง 10.41 กก./ไร่ ในขณะที่นาหว่านน้ำตมใช้เมล็ดพันธุ์ 25-30 กก./ไร่ อีกทั้งยังลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ร้อยละ 50 เนื่องจากมีปริมาณต้นข้าวน้อยกว่านาหว่านน้ำตมเกือบ 3 เท่า และไม่มีวัชพืชคอยแย่งปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ ยังลดการใช้ยากำจัดวัชพืช/ฆ่าแมลงลงได้ร้อยละ 20 เนื่องจากนาดำมีระยะห่างระหว่างต้นโรคแมลงไม่ค่อยรบกวนการดูแลถอนหญ้าทำได้ง่าย ขณะที่ต้นข้าวนาดำมีความแข็งแรง และให้ผลผลิตต่อไร่สูง ต้นข้าวไม่ล้ม ทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการใช้รถดำนาอัตโนมัติจะมีค่าใช้จ่ายในการจ้างดำต่อไร่ 1,000 บาท/ไร่ ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง แต่ถ้าได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ จะก่อให้เกิดการรวมกลุ่มในรูปกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ หรือนิคมเกษตรกร ซึ่งจะสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าว มาใช้พร้อมกันก็จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายลงได้ในที่สุด นายสมชาย กล่าวทิ้งท้าย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-