สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเผยผลวิจัยระบบตลาดโคเนื้อ พบตลาดนัดโค กระบือ ค่อนข้างซบเซา อีกทั้งมีเนื้อโคลักลอบนำเข้ามาจำหน่าย จึงจำเป็นต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในคุณภาพเนื้อโคไทย พร้อมกับส่งเสริมการขายให้เพิ่มมากขึ้น
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาระบบตลาดโคเนื้อ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากผู้ค้าระดับต่าง ๆ ในตลาดโคเนื้อกว่า 200 รายทั่วประเทศ พบว่า ตลาดโคเนื้อค่อนข้างซบเซา เนื่องจากโครงสร้างตลาดโคมีชีวิตภายในประเทศ เป็นลักษณะของ ผู้ซื้อและผู้ขายมากราย เป็นสาเหตุให้ตลาดเนื้อโคขยายตัวได้น้อย
ทั้งนี้ นางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สศก. ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ส่วนเหลื่อมการตลาด (ต้นทุนการตลาดและกำไรทางการตลาดของพ่อค้า) ของโคมีชีวิตจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภคมีมูลค่า 63.50 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีต้นทุนการตลาดกิโลกรัมละ 47.80 บาท จำแนกเป็นต้นทุนของพ่อค้าขายส่งเนื้อโคชำแหละ 40.60 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของมูลค่าสูญเสียน้ำหนักระหว่างฆ่า รองลงมาคือ ต้นทุนของพ่อค้าขายปลีกเนื้อโคมีชีวิตกิโลกรัมละ 1.00 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าขนส่ง ส่วนกำไรทางการตลาดของพ่อค้าคนกลางกิโลกรัมละ 15.60 บาท
ทางด้านราคาโคเนื้อพบว่า ราคาโคมีชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากกิโลกรัมละ 47.50 บาท ในปี 2546 เป็นกิโลกรัมละ 49.80 บาท ในปี 2549 แต่ในช่วงปี 2550 (ม.ค. — ก.ย.) ราคาโคมีชีวิตลงลงเหลือกิโลกรัมละ 48.60 บาท เนื่องจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจ และมีเนื้อโคเถื่อนราคาถูกที่ลักลอบมาจากชายแดนทางภาคใต้ของประเทศไทย ส่งผลให้การซื้อขายในตลาดนัดโค — กระบือ ไม่คึกคักเท่าที่ควร และยังส่งผลกระทบต่อตลาดเนื้อโคในประเทศด้วย แม้ราคาจะไม่ตกต่ำเหมือนโคมีชีวิต แต่ก็ไม่สามารถปรับราคาให้สูงขึ้นตามภาวะต้นทุนที่สูงขึ้นได้
ดังนั้น เพื่อกระตุ้นตลาดโคเนื้อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในคุณภาพเนื้อโค ประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการบริโภคและการส่งเสริมการขยายช่องทางการจำหน่ายเนื้อโค เช่น เจาะตลาดลูกค้าโดยกระจายเนื้อโคในร้านขายเนื้อ (Butcher Shop) ขอความร่วมมือในการแจ้งเบาะแสการลักลอบนำเข้าโคเนื้อ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรายได้เกษตรกรและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาระบบตลาดโคเนื้อ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากผู้ค้าระดับต่าง ๆ ในตลาดโคเนื้อกว่า 200 รายทั่วประเทศ พบว่า ตลาดโคเนื้อค่อนข้างซบเซา เนื่องจากโครงสร้างตลาดโคมีชีวิตภายในประเทศ เป็นลักษณะของ ผู้ซื้อและผู้ขายมากราย เป็นสาเหตุให้ตลาดเนื้อโคขยายตัวได้น้อย
ทั้งนี้ นางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สศก. ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ส่วนเหลื่อมการตลาด (ต้นทุนการตลาดและกำไรทางการตลาดของพ่อค้า) ของโคมีชีวิตจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภคมีมูลค่า 63.50 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีต้นทุนการตลาดกิโลกรัมละ 47.80 บาท จำแนกเป็นต้นทุนของพ่อค้าขายส่งเนื้อโคชำแหละ 40.60 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของมูลค่าสูญเสียน้ำหนักระหว่างฆ่า รองลงมาคือ ต้นทุนของพ่อค้าขายปลีกเนื้อโคมีชีวิตกิโลกรัมละ 1.00 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าขนส่ง ส่วนกำไรทางการตลาดของพ่อค้าคนกลางกิโลกรัมละ 15.60 บาท
ทางด้านราคาโคเนื้อพบว่า ราคาโคมีชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากกิโลกรัมละ 47.50 บาท ในปี 2546 เป็นกิโลกรัมละ 49.80 บาท ในปี 2549 แต่ในช่วงปี 2550 (ม.ค. — ก.ย.) ราคาโคมีชีวิตลงลงเหลือกิโลกรัมละ 48.60 บาท เนื่องจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจ และมีเนื้อโคเถื่อนราคาถูกที่ลักลอบมาจากชายแดนทางภาคใต้ของประเทศไทย ส่งผลให้การซื้อขายในตลาดนัดโค — กระบือ ไม่คึกคักเท่าที่ควร และยังส่งผลกระทบต่อตลาดเนื้อโคในประเทศด้วย แม้ราคาจะไม่ตกต่ำเหมือนโคมีชีวิต แต่ก็ไม่สามารถปรับราคาให้สูงขึ้นตามภาวะต้นทุนที่สูงขึ้นได้
ดังนั้น เพื่อกระตุ้นตลาดโคเนื้อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในคุณภาพเนื้อโค ประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการบริโภคและการส่งเสริมการขยายช่องทางการจำหน่ายเนื้อโค เช่น เจาะตลาดลูกค้าโดยกระจายเนื้อโคในร้านขายเนื้อ (Butcher Shop) ขอความร่วมมือในการแจ้งเบาะแสการลักลอบนำเข้าโคเนื้อ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรายได้เกษตรกรและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-