สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยผลงานวิจัยการผลิตการตลาดหอยแครง พบตลาดยังมีความต้องการสูง แต่ปริมาณการผลิตไม่เพียงพอ ทำให้ต้องนำเข้าจากมาเลเซียเพิ่มขึ้น แนะเกษตรกรเร่งขยายการเพาะเลี้ยงให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลงานวิจัยเรื่อง การผลิตและการตลาดหอยแครง จากการสำรวจเกษตรกรผู้เลี้ยงทั่วประเทศ พบว่า ประเทศไทยยังเลี้ยงหอยแครงไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ทิศทางการนำเข้าขยายตัว ปัญหาสำคัญคือ ขาดแคลนพันธุ์ ส่วนตลาดมีลักษณะกึ่งผูกขาด ทำให้เกษตรกรขาดอำนาจในการต่อรอง
ด้านนางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สศก. ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าวิธีการเลี้ยงหอยแครงไม่ยุ่งยากมากนัก เพราะไม่ต้องให้อาหาร โดยหอยแครงจะจับแพลงตอนในธรรมชาติเป็นอาหาร เพียงแต่เกษตรกรต้องเฝ้าดูแลรักษาเท่านั้น ส่วนระยะเวลาการเลี้ยงอาจแตกต่างกันบ้างตามขนาดพันธุ์หอยที่ใช้
โดยทั่วไปเลี้ยงประมาณ 1 — 11/2 ปี ก็สามารถจับขายได้ ต้นทุนการเลี้ยงในแต่ละภาคพบว่า ภาคกลางมีต้นทุนสูงสุด 15.30 บาทต่อกิโลกรัม กำไร 9.70 บาทต่อกิโลกรัม รองลงมาคือภาคใต้ 13.70 บาทต่อกิโลกรัม กำไร 6.50 บาทต่อกิโลกรัม และต้นทุนต่ำสุดคือภาคตะวันออก 12.80 บาทต่อกิโลกรัม กำไร 13.20 ซึ่งต้นทุนที่แตกต่างกันมาจากอัตราพันธุ์ที่ใช้ต่อไร่ และต้นทุนส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 60 เป็นค่าพันธุ์หอย
สำหรับราคาพบว่า ในช่วงที่ผ่านมา หอยแครงไม่ค่อยมีปัญหาด้านราคา โดยในปี 2549 ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 25 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนในปี 2550 ราคาที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้นเป็น 30 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ ทิศทางความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ปริมาณการผลิตขยายตัวไม่มากนัก เพราะมักประสบปัญหาขาดแคลนพันธุ์หอยแครง ทำให้ต้องลักลอบนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เชื่อว่าการเลี้ยงหอยแครงนั้น สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ที่มีการส่งเสริมและจัดการระบบทุกอย่างได้เป็นอย่างดี
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลงานวิจัยเรื่อง การผลิตและการตลาดหอยแครง จากการสำรวจเกษตรกรผู้เลี้ยงทั่วประเทศ พบว่า ประเทศไทยยังเลี้ยงหอยแครงไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ทิศทางการนำเข้าขยายตัว ปัญหาสำคัญคือ ขาดแคลนพันธุ์ ส่วนตลาดมีลักษณะกึ่งผูกขาด ทำให้เกษตรกรขาดอำนาจในการต่อรอง
ด้านนางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สศก. ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าวิธีการเลี้ยงหอยแครงไม่ยุ่งยากมากนัก เพราะไม่ต้องให้อาหาร โดยหอยแครงจะจับแพลงตอนในธรรมชาติเป็นอาหาร เพียงแต่เกษตรกรต้องเฝ้าดูแลรักษาเท่านั้น ส่วนระยะเวลาการเลี้ยงอาจแตกต่างกันบ้างตามขนาดพันธุ์หอยที่ใช้
โดยทั่วไปเลี้ยงประมาณ 1 — 11/2 ปี ก็สามารถจับขายได้ ต้นทุนการเลี้ยงในแต่ละภาคพบว่า ภาคกลางมีต้นทุนสูงสุด 15.30 บาทต่อกิโลกรัม กำไร 9.70 บาทต่อกิโลกรัม รองลงมาคือภาคใต้ 13.70 บาทต่อกิโลกรัม กำไร 6.50 บาทต่อกิโลกรัม และต้นทุนต่ำสุดคือภาคตะวันออก 12.80 บาทต่อกิโลกรัม กำไร 13.20 ซึ่งต้นทุนที่แตกต่างกันมาจากอัตราพันธุ์ที่ใช้ต่อไร่ และต้นทุนส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 60 เป็นค่าพันธุ์หอย
สำหรับราคาพบว่า ในช่วงที่ผ่านมา หอยแครงไม่ค่อยมีปัญหาด้านราคา โดยในปี 2549 ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 25 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนในปี 2550 ราคาที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้นเป็น 30 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ ทิศทางความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ปริมาณการผลิตขยายตัวไม่มากนัก เพราะมักประสบปัญหาขาดแคลนพันธุ์หอยแครง ทำให้ต้องลักลอบนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เชื่อว่าการเลี้ยงหอยแครงนั้น สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ที่มีการส่งเสริมและจัดการระบบทุกอย่างได้เป็นอย่างดี
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-