ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ประมง

ข่าวทั่วไป Wednesday August 31, 2011 11:54 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ

การผลิต

พัฒนาฟาร์มสัตว์น้ำสู่มาตรฐานสากล

เมื่อเร็วๆนี้ ศูนย์พัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ศรฟ.) กรมประมง ได้จัดฝึกอบรมให้กับผู้ตรวจประเมินในหลักสูตร ยา สารเคมีและวัตถุอันตรายที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ณ โรงแรมหลุยส์ แทเวิร์น กรุงเทพฯ ปัจจุบันผู้คนทั่วโลกต่างหันมาใส่ใจในการเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัยและคำนึงถึงผลกระทบจากการผลิตสินค้าที่มีต่อสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ประเทศไทยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้นำในการผลิตและส่งออกสินค้าประมง โดยเฉพาะกุ้งทะเลที่สามารถนำรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาลมากกว่า 20 ปี

เนื่องจากหลายประเทศที่เป็นตลาดหลักในการนำเข้าสินค้า เพิ่มความเข้มงวดในการกำหนดมาตรฐาน การตรวจสอบรับรองคุณภาพสินค้ามากขึ้น กรมประมงในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่พัฒนาด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงได้มีการพัฒนาระบบการเลี้ยงกุ้งให้ได้มาตรฐาน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างมีความรับผิดชอบ โดยมุ่งเน้น การเพาะเลี้ยงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีผลกระทบต่อสังคม ผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เพื่อมุ่งสู่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ที่สำคัญคือไม่มีสารหรือยาปฏิชีวนะตกค้าง ที่สำคัญได้มีการควบคุมคุณภาพผลผลิตกุ้งในระดับฟาร์มอย่างต่อเนื่องโดยตลอดตั้งแต่ปี 2541 และเพื่อให้มาตรการดังกล่าวมีความทันสมัยทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีนโยบายให้กรมประมงจัดตั้งหน่วยรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจัดอบรม ผู้ตรวจประเมินให้ตรงกับคุณสมบัติตามข้อกำหนด

นางธนิฎฐา จงพีร์เพียร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ศรฟ.) กรมประมง กล่าวถึงการจัดสัมมนาดังกล่าวว่า การจัดอบรมให้กับผู้ตรวจประเมินฟาร์มในครั้งนี้มีผู้เข้ารับอบรมทั้งสิ้น 150 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของกรมประมงซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจประเมินฟาร์มและเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง เป้าหมายสำหรับการจัดอบรมในครั้งนี้ก็เพื่อที่จะเสริมสร้างศักยภาพในการตรวจประเมินฟาร์มให้สามารถรับมือกับการตรวจประเมินได้ทุกสถานการณ์ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบหรือข้อกำหนดต่างๆ อยู่เสมอ การอบรมผู้ตรวจประเมินฟาร์ม ในหลักสูตรนี้จะเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของยาเคมีภัณฑ์ อาหารสัตว์น้ำ และ วัตถุอันตรายทางการประมง รวมทั้งปัญหาสารตกค้างในสินค้าประมงและกฎระเบียบของประเทศคู่ค้า ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่าความรู้ที่ได้จากการเข้ารับการอบรมในครั้งนี้จะเป็นแนวทางหนึ่งเพื่อพัฒนาผู้ตรวจประเมินฟาร์มเหล่านี้ให้ช่วยผลักดันให้มาตรฐานฟาร์มของประเทศไทยจนเป็นที่ยอมรับในระดับสากลยิ่งขึ้น

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (4 — 10ก.ค. 2554) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,090.71 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 521.09 ตัน สัตว์น้ำจืด 569.62 ตัน

ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่

                    1.1  ปลาดุก               ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                 2.60     ตัน
                    1.2  ปลาช่อน              ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                 3.83     ตัน
                    1.3  กุ้งทะเล              ส่งเข้าประมูลจำหน่าย               108.11     ตัน
                    1.4  ปลาทู                ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                19.72     ตัน
                    1.5  ปลาหมึก              ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                68.55     ตัน

การตลาด

ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ

2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.50 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคา

2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.50 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 134.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.85 บาท

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 133.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท

2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.47 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.53 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท

2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 168.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 170.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท

2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.12 ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.10 บาท

สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 20 — 26 ส.ค. 2554) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.35 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.32 บาท

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 22 — 28 สิงหาคม 2554--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ