ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ประมง

ข่าวทั่วไป Thursday October 20, 2011 14:38 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ

การผลิต

เลี้ยงปลาในบ่อหนีปัญหาน้ำท่วม

ช่วงน้ำท่วมเกิดปัญหาใหญ่ของผู้เลี้ยงปลาในกระชัง ก็คือ น้ำเสีย รวมถึงเหตุการณ์เรือน้ำตาลล่มที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปลาทั้งในและนอกกระชังลอยตายเป็นแพ เกษตรกรสิ้นเนื้อประดาตัว จากปัญหาดังกล่าว บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด(มหาชน) หรือซีพีเอฟ ซึ่งดูแลเกษตรกรที่เลี้ยงปลาในกระชังมีการปรับปรุงแก้ไขปัญหานำซีพีเอฟ เทอร์โบ โปรแกรมมาใช้ โดยเอากระชังปลาไปใส่บ่อ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาปรากฏว่าปลาทับทิมโต เร็วกว่าปลากระชังในแม่น้ำ จึงนำมาเผยแพร่ให้กับเกษตรกรได้รับรู้ นายวิฑูรย์ สุนทรเสณี บอกว่า เคยเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังในแม่น้ำบางปะกงแล้วเจอปัญหาน้ำเสียเมื่อปี 2549 คืนเดียวปลาตายหมด ขาดทุนย่อยยับ จึงได้ มาเข้าซีพีเอฟ เทอร์โบ โปรแกรม โดยการยกกระชังปลาทับทิมมาไว้ในบ่อ ในการเตรียมบ่อเพื่อรองรับการเลี้ยงปลา ต้องทำความสะอาดบ่อเลี้ยงปลา เพื่อให้ปลอดภัยจากเชื้อโรค จากนั้นทำการปรับค่าความเป็นกรดด่างหรือค่า pH ของดินและน้ำในบ่อให้อยู่ในสภาพที่เป็นกลาง โดยครั้งแรกกรณีดินเปรี้ยวอาจใช้ปูนขาวปรับค่า ในส่วนของน้ำก็ควรให้มีออกซิเจนพอเพียง ถ้าปล่อยปลาลงในบ่อต้องหมั่นเช็คค่าของน้ำบ่อยๆ น้ำในบ่อเลี้ยงปลาอาจเสียได้ การให้อาหารและการขับถ่ายของปลา ซึ่งจะมีผลทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนไปทั้งค่า pH BOD COD ส่วนการแก้ปัญหาโดยวิธีธรรมชาติและปลอดภัยที่สุด คือ นำจุลินทรีย์มาใช้บำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยงปลานั้น ขนาดของการใช้ต่อครั้ง ควรคำนึงถึงปริมาตรของน้ำทั้งหมด โดยคำนวณเป็นคิวหรือลูกบาศก์เมตร ใช้จุลินทรีย์บำบัดอัตราส่วนต่อปริมาตรของน้ำในบ่อเลี้ยงปลา 1 ลิตร ต่อปริมาตรน้ำ 10 คิว กรณีที่น้ำเสียมากๆหรือวิกฤติหนัก อาจเพิ่มความเข้มข้นของจุลินทรีย์ได้ตามลำดับ นอกจากนี้ ก็ทดลองเอากุ้งลงไปเลี้ยงในบ่อ แต่ว่าอยู่นอกกระชัง เพื่อเอาไว้ให้คอยเก็บกินเศษอาหาร นับว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก มีออกซิเจนี้ยวอาจใช้ปู้ปรับค่าในส่วนของน้ำร็วกว่าปลากระชังงา ปลาทั้งในและนอกกระชังลอยตายเป็นแพ เกษตรกรสิ้นเนื้อประดาตัว

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (22 — 28ส.ค. 2554) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,016.63 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 493.89 ตัน สัตว์น้ำจืด 522.74 ตัน

ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่

          1.1  ปลาดุก            ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                  2.38     ตัน
          1.2  ปลาช่อน           ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                  3.69     ตัน
          1.3  กุ้งทะเล           ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                 74.60     ตัน
          1.4  ปลาทู             ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                 17.14     ตัน
          1.5  ปลาหมึก           ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                 61.19     ตัน

การตลาด

ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ

2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.42 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคา

2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.17 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 111.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 117.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.71 บาท

2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 131.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.72 บาท

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 135.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท 2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.85 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.15 บาท

2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 101.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 104.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.66 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 172.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 178.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.71 บาท

2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.11 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท

สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 8 — 14 ต.ค. 2554) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 10 - 16 ตุลาคม 2554--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ