ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Wednesday January 11, 2012 14:18 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

1) มติ กขช. เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 54 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ดังนี้

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

                    (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม)           ตันละ 20,000 บาท
                    (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม)         ตันละ 18,000 บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

                    (3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม)           ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-

                        ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว         ตันละ 16,000 บาท
                        ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น          ตันละ 15,000 บาท

(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-

                        ข้าวเปลือกเจ้า 100%                  ตันละ 15,000 บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 5%                    ตันละ 14,800 บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 10%                   ตันละ 14,600 บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 15%                   ตันละ 14,200 บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 25%                   ตันละ 13,800 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่ จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการ เกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย

4) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555

(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)

  • ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555

5) ผลการรับจำนำ

ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

(ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 3 มกราคม 2555)

 รายการ           จุดรับจำนำ   จำนวนใบประทวน   จำนวนยุ้งฉาง               ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/
                                                            ข้าวเจ้า    ข้าวปทุมธานี    ข้าวหอมมะลิ    ข้าวหอมจังหวัด    ข้าวเหนียว  รวมทุกชนิดข้าว
 ภาคเหนือ             208         242,789         178     1,048,039        2,790      257,160        246,943     138,387    1,693,318
 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ   338         470,397       1,765        68,100          312    1,686,916              -      55,666    1,810,994
 ภาคกลาง             276         131,488           -     1,064,345       11,775            -         59,433           -    1,135,553
 ภาคใต้               ------------------------------------------------ ยังไม่ดำเนินการ -------------------------------------------------
 รวมทั้งประเทศ         822         844,674       1,943     2,180,483       14,877    1,944,076        306,376     194,053    4,639,865

                        จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส.
               (ข้อมลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 4 มกราคม 2555) 2/
  รายการ           ราย         สัญญา            จำนวนตัน         จำนวนเงิน (ล้านบาท)
 จำนำยุ้งฉาง        2,396        2,397            10,242.33           221.121
 จำนำประทวน     650,500      662,409         4,125,738.65        67,662.109
  รวม           652,896      664,806         4,135,980.98        67,883.230
          ที่มา:  1/ ศูนย์บริหารจัดการโครงการรับจำนำสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน
                2/ ธ.ก.ส.

          ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจาก โรงสีเพิ่งเริ่มทำการซื้อขายหลังจาก
หยุดในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ รวมทั้งไม่มีคำสั่งซื้อเพิ่มเติมจากต่างประเทศเข้ามา การซื้อขายจึงมีไม่มากนัก
          การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 29 ธันวาคม 2554 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 10.519 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้น
จาก 8.984 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 17.09 (ที่มา : กรมการค้าภายใน)
          1.2 ราคา
          1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
          ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,134 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,989 บาท ของสัปดาห์
ที่ผ่านมาร้อยละ 5.35
          ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,106 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,892 บาท ของสัปดาห์ที่
ผ่านมาร้อยละ 13.85
          ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,020 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,829 บาท ของ
สัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 13.08
          2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,150 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,130 บาท ของ
สัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.12
          3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
          ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,086 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,018 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่า
กับสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่มูลค่าในรูปเงินบาทสูงขึ้นตันละ 134 บาท
          ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 920 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,818 บาท/ตัน)  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
แต่มูลค่าในรูปเงินบาทสูงขึ้นตันละ 113 บาท
          ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 567 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,761 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์
ที่ผ่านมา แต่มูลค่าในรูปเงินบาทสูงขึ้นตันละ 70 บาท
          ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 558 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,479 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับ
สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่มูลค่าในรูปเงินบาทสูงขึ้นตันละ 69 บาท
          ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 570 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,855 บาท/ตัน)
          ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่มูลค่าในรูปเงินบาทสูงขึ้นตันละ 70 บาท
          หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.3238

          2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
          สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

          อินโดนีเซีย
          ปี 2555 อินโดนีเซียสามารถผลิตข้าวได้ 72 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ร้อยละ 10 โดย บูล็อก ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวของ
อินโดนีเซีย รายงานว่า ในปี 2555 จะไม่มีการนำเข้าข้าว เนื่องจากอินโดนีเซียจะซื้อข้าวในประเทศทดแทนการนำเข้าประมาณ 4 ล้านตัน ซึ่งใน
จำนวนนี้จะเก็บไว้เป็นสต็อกเพื่อความมั่นคงภายในประเทศประมาณ 2 ล้านตัน
          อนึ่ง ปี 2554 บูล็อกมีการนำเข้าข้าวประมาณ 1.9 ล้านตันข้าวสาร จากเวียดนาม ไทย และอินเดีย
          ที่มา : Oryza.com

          --ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร  ประจำวันที่ 2 - 8 มกราคม 2555--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ